16 เม.ย. 2022 เวลา 05:06 • ประวัติศาสตร์
บวงสรวงปู่ปะกำ เนื่องจากลูกสาวได้คู่ครอง
ต้องมาเซ็นไหว้ปู่ประกำ
ผีปะกำอาจีง หรือ ผีปะกำ เป็นเทพเจ้าสูงสุด บ้างว่าเป็นผีดีในคติความเชื่อของชาวกูยหรือส่วย กลุ่มชาติพันธุ์ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอาชีพเลี้ยงช้างเท่านั้น โดยชื่อเป็นภาษากูย ประกอบด้วยคำว่า "ปะกำ" แปลว่าบ่วงบาศ กับ "อาจีง" แปลว่าช้าง รวมกันจึงแปลว่า "บ่วงบาศคล้องช้างชาวกูยเชื่อว่าผีปะกำจะสิงสถิตอยู่ในหนังปะกำ ซึ่งทำจากหนังวัวหรือหนังควาย และเครือไม้ (ภาษากูยเรียกอะวาลแปรง) นำมาฟั่นเป็นเกลียวเชือกยาว 40 เมตรขึ้นไป ปลายเชือกข้างหนึ่งทำปลอกคู่เป็นบ่วงบาศ มีไว้สำหรับคล้องช้าง
ชาวกูยเชื่อว่ามีวิญญาณสองประเภทสถิตอยู่ในปะกำ อย่างแรกคือ "พระครู" เป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์เทียบเท่าเทพยดา และอย่างหลังคือ "ผีบรรพชน" ในสายตระกูลที่เคยเป็นหมอช้าง พวกเขาเชื่อว่าผีปะกำให้คุณหรือโทษแก่มนุษย์ได้ จึงต้องทำการเซ่นสรวงบูชาอยู่เสมอ ชาวกูยจะไหว้ผีปะกำก่อนออกไปคล้องช้าง และเมื่อคล้องช้างได้แล้วก็จะทำการเซ่นไหว้อีกครั้ง ในกรณีเมื่อจะนำช้างออกไปนอกหมู่บ้าน หรือมีลูกหลานเจ็บป่วย ก็จะมีการเซ่นหรือแก้บนกับผีปะกำกันอยู่บ่อยครั้ง โดยชาวกูยจะทำการสร้างศาลผีปะกำให้ผีปะกำประทับอยู่ โดยมากสร้างอยู่ทางทิศตะวันออกของเรือน เป็นศาลมุงหลังคา มีสี่เสา สูงราวสองเมตร เพื่อกันไม่ให้เด็กและผู้หญิงเอื้อมมือถึง ภายในมีปะกำ หมอนใบเล็ก กรวยขันธ์ 5 แก้วบรรจุน้ำ และเครื่องเซ่นไหว้
แต่ใคร มีสามี ภรรยา ไม่มาบวงสรงต้องมีอันเป็นไป
อาถรรพ์มากไม่เชื่ออย่าลบหลู่
โฆษณา