16 เม.ย. 2022 เวลา 08:56 • ธุรกิจ
ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง
เรือธงของตระกูล "อัศวศิริสุข"
ตระกูลอัศวศิริสุข เป็นอีกตระกูลธุรกิจที่เติบโตมาจากการรับเหมาก่อสร้าง จนสามารถนำบริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
"ซีวิลเอน จีเนียริง" เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2509 ด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 2 ล้านบาท ปัจจุบันทุนจดทะเบียนเป็น 500 ล้านบาท ก่อตั้งโดย "อารี อัศวศิริสุข" (รุ่น 1 ) และลูกชาย "ชัยวัล อัศวศิริสุข" (รุ่น 2) ร่วมกันสร้างธุรกิจขึ้นมา
สัมภาษณ์ "ปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข" ที่บริษัทซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ถนนกำแพงเพชร 6
การเข้าสู่ธุรกิจรับเหมาะก่อสร้างเริ่มต้นจากเมื่อครั้ง "อารี อัศวศิริสุข" เดินทางมาจากประเทศจีน และมองช่องทางจนเห็นโอกาสทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างถนนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ถึงแม้ "ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง" จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว แต่ถ้าดูรายชื่อผู้ถือหุ้นยังมีตระกูล "อัศวศิริสุข" ถือหุ้นใหญ่ ผ่าน บริษัทอัศวศิริสุข โฮลดิ้ง จำกัด ถึง 64.29% ขณะที่ "ปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข" CEO ของซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง ถือหุ้น 0.91% และ "ปิยะณัฐ อัศวศิริสุข" ถือหุ้น 0.61% (ข้อมูล www.civilengineering.co.th ณ 16 เม.ย.2565)
"เราเป็นผู้รับเหมารายกลางที่ไม่อาจขึ้นไปเทียบกับผู้รับเหมารายใหญ่" นี่คือสิ่งที่ "ปิยะดิษฐ์" มักนิยามธุรกิจตัวเองที่ไม่บอกว่ารายใหญ่คือใคร แต่ก็รู้ว่าหมายถึง ITD , ซิโนไทย , ช.การช่าง
"ปิยะดิษฐ์" ถือเป็นรุ่นที่ 3 ของตระกูล "อัศวศิริสุข" เป็นนักบริหารรุ่นใหม่ที่มารับไม้ต่อเพื่อนำพา "ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง" เข้าสู่ทศวรรตที่ 6 โดยเริ่มเข้ามาทำงานในช่วงที่บริษัทเจอปัญหาหนี้อย่างหนัก ผลผวงจากวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 ที่การประกาศลอยค่าเงินบาทของรัฐบาลทำให้มีหนี้เกือบ 10,000 ล้านบาท
"ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งผมยังเรียนอยู่สหรัฐ ช่วงนั้นติดต่อทางบ้านอยู่ตลาด รับรู้ถึงความเครียดของคุณพ่อ พอเรียนจบทำงานที่แอลเออยู่หลายปี ลังเลที่จะเมืองไทยเพราะรู้ว่าที่บริษัทมีปัญหาอะไรรออยู่ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจกลับ"
นอกจาก "ปิยะดิษฐ์" จะรับหน้าที่เป็น CEO ใน "ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง" แล้วยังบริหาร "อัศวศิริสุข โฮลดิ้ง" ด้วย
หากดูรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่ตระกูล "อัศวศิริสุข" จะเห็นผู้ถือหุ้น 2 ราย ที่สะดุดตา คือ GULF INTERNATIONAL INVESTMENT (HONG KONG) LIMITED ถือหุ้น 2.86% และ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 2.14%
การที่ Gulf และ BTS เข้ามาถือหุ้นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ "ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง" อธิบายถึงราคาหุ้นที่พุ่งสูงขึ้นไปเกือบ 9% ในช่วงเดือน ก.พ.2565 เพราะจะทำให้อนาคตมีการ Synergy กัน และจะทำให้ "ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง" เพิ่มรายได้จากงานภาคเอกชน หลังจากที่ผ่านมามีรายได้จากการรับเหมางานก่อสร้างภาครัฐเกือบทั้งหมด
หากเป็นรุ่น 1-2 การทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจะพุ่งไปที่การรับงานภาครัฐ ซึ่งถือเป็นผู้ลงทุนงานก่อสร้างใหญ่ที่สุดของประเทศ แต่พอมาถึงรุ่นที่ 3 มองในมุมที่ต่างไปถึงงานก่อสร้างที่ภาคเอกชนจึงเป็นการมองมุมบวกของการเข้ามาร่วมถือหุ้นของ Gulf และ BTS
งานรับเหมาก่อสร้างภาคเอกชนมีสัดส่วนต่อรายได้รวมขึ้นมาอยู่ที่ 5% จากในอดีตที่มีเป็น 0%
อีกมุมที่ "ปิยะดิษฐ์" มองโอกาสทางธุรกิจจาก Sharing economy จากการที่ "ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง" มีธูรกิจต้นน้ำของงานรับเหมาะก่อสร้าง คือ เหมืองหินก่อสร้าง จึงมีเครื่องจักรหนักที่ใช้ในงานก่อสร้างจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาทำธุรกิจบริการเช่าให้กับซับคอนแทรคได้และขยายไปสู่ลูกค้าภายนอก
เรื่องเหล่านี้ "ปิยะดิษฐ์" รู้ดีจากการที่เข้าไปบริหาร บริษัท ธนภูศิลา จำกัด และบริษัท ศิลาสากล สระบุรี จำกัด ซึ่ง จ.สระบุรี เป็นฐานการผลิตหินก่อสร้างสำคัญของ "ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง"
"ผมสนใจที่จะตั้ง Business Unit ของธุรกิจ Sharing economy และยังสนใจลงทุนในนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Data ผ่าน Startup"
นี่คืออนาคตที่ "ปิยะศักดิ์" มองในการขับเคลื่อน "ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง" หลังจากนี้
โฆษณา