#รู้จัก...“กล้วยเถื่อน" ไม้ป่ากินได้
กล้วยเถื่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ :​ 𝘔𝘶𝘴𝘢 𝘢𝘤𝘶𝘮𝘪𝘯𝘢𝘵𝘢 Colla subsp. 𝘮𝘢𝘭𝘢𝘤𝘤𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴 (Ridl.) N.W.Simmonds วงศ์ : Musaceae
ชื่อเรียกอื่น ๆ : กล้วยชี้ (พังงา นครศรีธรรมราช), กล้วยป่า (ทั่วไป), กล้วยเถื่อนน้ำมัน (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเทียมสูง 2.5–3.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนาน กว้าง 40–60 เซนติเมตร ยาว 2–3 เมตร ก้านใบยาว 40–55 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ออกที่ปลายยอด ช่อดอกตั้ง �ปลายโน้มลง มีหลายช่อดอกย่อย (หวี) มีกาบปลีระหว่างช่อดอกย่อย ผลรูปทรงกระบอก ปลายสอบ โคนมน เมล็ดสีดำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5–6 มิลลิเมตร
ประโยชน์ : หยวกและหัวปลี ลวกจิ้มน้ำพริก ต้มกะทิ ใส่แกงไก่ ใส่แกงส้ม หัวปลี ชุบแป้งทอด ใส่ทอดมัน ผลสุก รับประทานได้ เป็นอาหารของสัตว์ป่า ใบ ใช้ห่อของ ในทางสมุนไพร ยางสมานแผล ห้ามเลือด ผลดิบแก้ท้องเสีย ผลสุกเป็นยาระบาย หัวปลีขับน้ำนม ปลูกเป็นไม้เบิกนำฟื้นฟูป่า
ที่มา : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
โฆษณา