20 เม.ย. 2022 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ความเชื่อผิด ๆ ของการลงทุน "กองทุนรวม"
กองทุนรวม มีสาเหตุผลิดพลาดในการลงทุน คือ เลือกซื้อตามที่คนส่วนใหญ่บอก แต่ยังมีอีกถึง 10 ความเข้าใจผิด ที่อาจทำให้การลงทุนในกองทุนรวมขาดทุนได้ มาเช็คลิสต์ แล้วรีบแก้ไขความผิดพลาดนั้นกันเถอะ !
กองทุนรวม มีสาเหตุผลิดพลาดในการลงทุน คือ เลือกซื้อตามที่คนส่วนใหญ่บอก แต่ยังมีอีกถึง 10 ความเข้าใจผิด ที่อาจทำให้การลงทุนในกองทุนรวมขาดทุนได้ มาเช็คลิสต์ แล้วรีบแก้ไขความผิดพลาดนั้นกันเถอะ !
 
*** กองทุนรวมง่ายอย่างที่คิดจริงหรอ ?
 
"กองทุนรวม" เป็นเครื่องมือการลงทุนที่หลายคนมองว่า สะดวกสบายที่สุดทางเลือกหนึ่งก็ว่าได้ เนื่องจากการลงทุนประเภทนี้ จะมีผู้จัดการกองทุน คอยดูแลพอร์ตลงทุนให้กับเราอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
"กองทุนรวม" ที่หลายคนคิดไว้ อาจเป็นเรื่องง่ายไปเสียทั้งหมด เพียงแค่เลือก"กองทุนรวม" ที่คนส่วนใหญ่แนะนำว่าดี แล้วที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนรวมจัดการต่อไป
"กองทุนรวม" หากการเข้าลงทุน มีจุดเริ่มต้นเหมือนกับที่กล่าวไปข้างต้น รับประกันได้เลยว่า โอกาสในการลงทุนที่ผิดพลาดของเรานั้น มีโอกาสเกิดขึ้นสูงมากเลยทีเดียว
10 ความเชื่อผิดๆ ลงทุนกองทุนรวม
*** เปิด 10 ความเชื่อผิดๆ ลงทุนกองทุนรวม
 
"กองทุนรวม" ยังมีอีกถึง 10 ความเชื่อผิด ๆ ที่อาจทำให้การเข้าลงทุนอาจผิดพลาด และนำมาซึ่งการขาดทุนได้เหมือนกัน ลองมาเช็คลิสต์กันหน่อยไหม ? เพื่อวัดว่าตัวเองกำลังทำอะไรผิดพลาดอยู่หรือเปล่า ?
1."กองทุนรวม" เลือกไม่ตรงกับเป้าหมายการเงิน : ก่อนตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตาม เราควรตั้งเป้าหมายในการลงทุนเสียก่อน ว่า เป้าหมายที่แท้จริงในการลงทุนของเรา คืออะไร ? เช่น บางคนต้องการลงทุนเพื่อเกษียณ ก็จัดว่าเป็นการลงทุนในระยะยาว ก็สามารถลงทุนในหุ้นได้มากหน่อย เป็นต้น
"กองทุนรวม" ที่นักลงทุนเข้าลงทุน ส่วนมากมักไม่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว เพียงแค่รู้ว่า ต้องซื้อกองทุนเพื่อนำไปลดหย่อนภาษี สุดท้ายก็หนีไม่พ้นการเลือกกองทุนผิด เพราะนโยบายการลงทุนของกองทุนที่เลือก จากความต้องการลดหย่อนภาษี ไม่ตรงกับเป้าหมายทางการเงิน ซึ่งก็ทำให้ผิดเสียตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว
2."กองทุนรวม" ซื้อแล้วแต่ไม่วางแผนจัดพอร์ต : เราควรวางแผนจัดสรรพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมตามเป้าหมาย กระจายความเสี่ยงไปยังทรัพย์สินหลายๆ ประเภท ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน เช่น หุ้นไทย และหุ้นต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนทิศทางของทรัพย์สิน ที่เป็นไปในทางเดียวกัน
"กองทุนรวม" ซื้อแล้ว ต้องจัดพอร์ตให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินที่มีอยู่ แต่นักลงทุนส่วนมาก มักไม่จัดพอร์ตการลงทุนเลย อาจจะทำให้พลาดเป้าหมายของการเงินได้เหมือนกัน
3."กองทุนรวม" ซื้อแบบพยายามจับจังหวะตลาด : นักลงทุนหลายคนพยายามจับจังหวะตลาด เพื่อหาโอกาสในการเข้าลงทุนเพื่อหวังกำไรจากเหตุผลดังกล่าว แต่ในความเป็นจริงแล้ว การคาดเดาภาวะตลาดเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก เพราะขนาดนักวิเคราะห์ที่เก่งๆหลายคน ยังไม่สามารถคาดเดาภาวะตลาดได้ถูกต้องไปตลอดเลย
"กองทุนรวม" เมื่อคิดจะซื้อ ก็ควรมุ่งความสำคัญไปที่การกำหนดเป้าหมาย และการวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกัน
และควรแบ่งเงินส่วนใหญ่ ลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) ซึ่งเป็นการลงทุนด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันในทุกๆ งวด เช่น ทุกเดือน วิธีนี้จะช่วยให้นักลงทุนลดผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้
4."กองทุนรวม"ซื้อแล้ว แต่กระจายความเสี่ยงไม่เป็น : นักลงทุนหลายคนอาจยังไม่ตกผนึกเกี่ยวกับการลงทุน บางคนเข้าใจผิดว่า การกระจายความเสี่ยง คือ การมีหุ้นหลายๆตัว หรือ มีกองทุนหลายกองๆ แต่ดันเป็นหุ้น และ กองทุนรวมที่อยู่ในอุตสาหกรรม หรือ ประเภทเดียวกัน ไปซะอย่างนั้น
"กองทุนรวม"หากซื้อกองทุนรวมประเภทคล้ายๆกัน จะทำให้การกระจายความเสี่ยงไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีวิกฤติเกิดขึ้น แล้วไปกระทบกับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง บริษัทที่ลงทุนในอุตสาหกรรมนั้น ก็จะได้รับผลกระทบเหมือนกัน ดังนั้น การกระจายความเสี่ยงที่ถูกต้อง คือ การกระจายหุ้น หรือ กองทุน ไปในหมวดที่แตกต่าง และ ไม่ได้มีความเชื่อมโยงกัน
5."กองทุนรวม"เลือกซื้อตามขนาด : นักลงทุนบางราย ยังตกเป็นเหยือของคำว่า"ขนาดใหญ่"อยู่เหมือนกัน เช่น ถ้าใครเห็นธนาคารขนาดใหญ่บอกว่า ให้มาซื้อกองทุนกับเขาสิ เพราะกองทุนของเขามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ถ้าเราตัดสินใจเลือกกองทุนด้วยวิธีนี้ ก็ถือเป็นอีกก้าวที่ผิดพลาดแล้ว เพราะขนาดของกองทุน ไม่ได้สะท้อนถึง ผลตอบแทนของกองทุนรวม
6."กองทุนรวม"เลือกซื้อจากราคา NAV : หลายคนยังมีความเข้าใจที่ผิดพลาด เพราะคิดว่า ราคา NAV ของกองทุนใดที่สูง แสดงว่า กองทุนนั้นๆ มีราคาแพงเกินไปแล้ว จึงไม่ควรเข้าไปลงทุน และ หันไปซื้อกองทุนที่มีราคา NAV ต่ำๆแทน นี่ก็เป็นอีกความเข้าใจผิดที่เราต้องทำความเข้าใจใหม่ เพราะ ผลตอบแทนกองทุนรวม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคา NAV
7."กองทุนรวม"เลือกที่ Performance ดีไม่เป็น : หลายคนยังไม่เข้าใจว่าการเลือกกองทุนที่มี Performance ดี มีหลักในการเลือกอย่างไรบ้าง จึงทำให้การลงทุนเกิดความล้มเหลว ซึ่งหลักการมองหากองทุนที่มี Performance ดี มีหลักการเบื้องต้น ประกอบด้วย ผลตอบแทนชนะตลาดสม่ำเสมอ, ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูง, ราคาของกองทุนต่อผลกำไรของบริษัทที่อยู่ในกองทุนไม่สูงเกินไป รวมทั้ง ค่าธรรมเนียมไม่สูงเกินไป
8."กองทุนรวม" ซื้อแล้วไม่วัดผลการลงทุน : นักลงทุนหลายคนเลือกกองทุนโดยใช้ผลตอบแทนในอดีตเป็นเกณฑ์ แต่อย่าลืมว่า ผลตอบแทนในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องชี้วัด ว่า ผลตอบแทนในอนาคต จะต้องดีเหมือนในอดีตเสมอไป จึงอาจชะล่าใจ ซื้อแล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ติดตามผลการดำเนินงานเท่าที่ควร มารู้ตัวอีกที ก็อาจสายไปเสียแล้ว
9."กองทุนรวม" ซื้อแล้วแต่ไม่ปรับพอร์ตให้สมดุลอยู่ตลอดเวลา : ถ้าเราจัดพอร์ตการลงทุน แบบซื้อกองทุนหุ้น 60% และกองทุนตราสารหนี้ 40% แต่เมื่อเวลาผ่านไป หุ้นเติบโตได้ดี สัดส่วนของมูลค่าของหุ้นอาจจะโตถึง 80% ทำให้พอร์ตการลงทุนที่กำหนดตอนแรกผิดไป ความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนจะสูงขึ้น
"กองทุนรวม" เมื่อซื้อไปแล้ว จึงจำเป็นอย่างมาก ที่ต้องปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมือนเดิม คือ กองทุนหุ้น 60% โดยการขายกองทุนหุ้นที่มีกำไรออกไป 20% ทั้งนี้ มีการศึกษาว่า ถ้าเราปรับพอร์ตให้สมดุลปีละครั้ง จะทำให้ความเสี่ยงในการขาดทุนของเรา ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
10."กองทุนรวม"ยังไม่ได้ซื้อเสียที่ : มีหลายคนที่คิดว่าตัวเองยังไม่พร้อมที่จะลงทุน เพราะยังมีเงินทุนไม่เพียงพอจึงไม่เริ่มลงทุนเสียที การเลื่อนวันที่จะลงทุนออกไปทำให้พวกเขาพลาดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากระยะเวลาในการลงทุนไปมาก
ตัวอย่างเช่น หากนำเงิน 2,000 บาท ไปลงทุนได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี เป็นเวลา 15 ปี มูลค่าของเงินเป็น 8,400 บาท ซึ่งจะมากกว่า การนำเงิน 4,000 ไปลงทุนได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี เป็นเวลา 7 ปี มูลค่าของเงินเป็น 7,794 บาท เพราะผลของดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest) นั่นเอง
โฆษณา