22 เม.ย. 2022 เวลา 06:31 • ครอบครัว & เด็ก
🟡ความกลัวในเด็กไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรมองข้าม🟡
ทุกคนคงยังจำกันได้ว่าเมื่อตอนยังเด็ก เราก็ล้วนมีสิ่งที่เคยกลัวกันทั้งสิ้น บ้างก็หายไปแล้ว บ้างก็ยังคงเหลือเศษเสี้ยวให้เห็นอยู่ แต่อะไรเป็นสิ่งที่ควรจะเป็น แล้วในวันที่เราจำเป็นต้องดูแลลูก เราควรจัดการจัดความกลัวของลูกอย่างไร ?
ความกลัวในเด็กเป็นเรื่องปกติ ในช่วงวัยเด็กทุกคนล้วนมีความกลัวอยู่ทั้งสิ้น อาจกลัวความมืด กลัวสัตว์ประหลาด กลัวคนแปลกหน้า กลัวโดนทิ้งให้อยู่คนเดียว กลัวสัตว์ใหญ่ โดยเด็กบางคนอาจกลัวไฟ กลัวที่สูง และกลัวพายุ โดยความกลัวอาจเกิดจากที่ผู้ปกครองได้สอนให้ระวังในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่นการใช้ไฟ หรือการข้ามถนน ซึ่งในกรณีนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กหลีกเลี่ยงและระวังสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย โดยเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เนื่องจากช่วยปกป้องเด็กให้ปลอดภัย เมื่อโตขึ้นสิ่งที่กลัวมักจะค่อยๆเปลี่ยนไป เช่น จากที่กลัวความมืดก็จะเปลี่ยนเป็นกลัวโดนปล้น หรือโดนทำร้ายแทน
ความกลัวทั่วไปในเด็ก
สิ่งปกติที่เป็นไปตามธรรมชาติ
เด็กในแต่ละช่วงวัยนั้นมีความกลัวแตกต่างกันไปตามวัย ยกตัวอย่างเช่น
● เด็กในวัยทารก (ประมาณ 6-7 เดือน) จะมีพฤติกรรมติดพ่อแม่ หรือพี่เลี้ยง การที่ต้องแยกจากแม้เพียงเวลาสั้นๆ อาจก่อให้เกิดความวิตกและเรียกร้องทันที ซึ่งความกลัวจะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป
● เด็กวัยหัดเดิน (ประมาณ 2-3 ปี) จากความที่ยังมีความเข้าใจด้านขนาดที่จำกัด อาจทำให้ดูเหมือนกลัวโดยไม่มีเหตุผล เช่นกลัวตกชักโครกในห้องน้ำ โดยผู้ปกครองควรช่วยผลักดันให้เด็กได้พูดเล่าถึงความกลัวและความกังลที่เกิดขึ้น โดยไม่ควรที่จะบังคับให้เด็กเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว แต่ควรค่อยๆช่วยเด็กอย่างช้า
● เด็กวัยประถม จากที่ตัวเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกมากขึ้น ความกลัวของเด็กก็มักจะมากขึ้นตามไปด้วย บางอย่างอาจจริงบ้าง บางอย่างก็อาจคิดไปเอง เช่น กลัวความมืด, กลัวโจรขึ้นบ้าน, กลัวสงคราม, กลัวความตาย, กลัวพ่อแม่หย่ากัน และ กลัวสิ่งเหนือธรรมชาติ (เช่น ผี และ ปีศาจ) ซึ่งผู้ปกครองควรช่วยเด็กโดยอธิบายและให้ข้อมูลในสิ่งที่เด็กกลัว การให้เด็กค่อยๆเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว เช่น เด็กที่กลัวสุนัข อาจลองน้ำรูปสุนัขให้เด็กได้คุ้นเคย จากนั้นอาจให้เด็กพบกับสุนัขที่ขนาดเล็ก สุนัขที่เรียบร้อยที่ถูกผูกไว้เป็นต้น
สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำ
เพื่อช่วยเด็กอย่างถูกต้อง
● ควรพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งที่กลัวอย่างเห็นใจ ส่งเสริมให้เด็กได้เล่าสิ่งที่กลัว และผู้ปกความไม่ควรดูถูก หรือหัวเราะ โดยเฉพาะต่อหน้าเพื่อนของเด็ก
● ควรส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าที่จะสู้กับความกลัว แต่ไม่ใช้บีบบังคับเด็ก ซึ่งอาจใช้เวลา เพื่อค่อยๆเผชิญหน้าและเอาชนะความกลัว แต่การบีบบังคับเด็กจะทำให้ทุกอย่างแย่ลง
การพบแพทย์เป็นทางออกที่ดี
เมื่อทุกอย่างนั้นไม่ปกติ
ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตเด็ก บางครั้งความกลัวอาจกระทบกับชีวิตประจำวันของเด็ก หรืออาจมีสัญญาณเกี่ยวกับความวิตกกังวลอย่างรุนแรง เช่น มีอาการแพนิค (เช่น ใจเต้นแรง เหงื่อออก หายใจถี่) ,พฤติกรรมรบกวน/ขัดขวางอย่างผิดปกติ และเด็กเกิดการโดดเรียนหรือหนีหรือปฏิเสธกิจกรรม อาจมีอาการกลัวอยู่ตลอดเวลา มีการคิดเกี่ยวกับสิ่งนั้นบ่อย ถึงแม้จะไม่มีสิ่งเร้าเช่น มีอาการวิตกกังวลก่อนไปพบหมอฟันเป็นเดือนๆ ซึ่งลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เรียกได้ว่าเป็นข้อพิจารณาว่าถึงเวลาที่ควรพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยให้เด็กสามารถจัดการกับความวิตกกังวลได้
จบกันไปแล้วกับบทความ "ความกลัวในเด็กไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรมองข้าม" ขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านจนจบ หากมีข้อแนะนำสามารถแสดงความคิดเห็นกันได้ ไว้พบกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีครับ...
เอกสารอ้างอิง
- Rae Jacobs. How to Help Children Manage Fears
โฆษณา