22 เม.ย. 2022 เวลา 07:58 • การศึกษา
การพัฒนาสินค้า (product development)
เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมทั้งหมดในการนำเสนอสินค้าสู่ตลาด
การพัฒนาสินค้าถูกนิยามว่า เป็นการใช้โอกาสทางการตลาดที่มีอยู่สร้างสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งสินค้าแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สินค้าที่เป็นรูปธรรม เป็นสินค้าที่สามารถจับต้องได้ทางกายภาพ และสินค้านามธรรมเป็น การบริการ ประสบการณ์ และความเชื่อต่าง ๆ ความเข้าใจถึงความจำเป็นและความต้องการของลูกค้า ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของการแข่งขัน และธรรมชาติของตลาดเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จในการพัฒนาสินค้า ต้นทุน เวลา และคุณภาพ เป็นตัวแปรหลักที่ขับเคลื่อนความต้องการของลูกค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ผู้ประกอบการควรพัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้น และเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด (Kahn, 2012)
กระบวนการพัฒนาสินค้าประกอบไปด้วย 4 ระยะ
1) ช่วงวางแผน หรือเริ่มต้นอันสับสน (Fuzzy Front End) เป็นช่วงที่ต้องวางแผน และดำเนินการก่อนที่กระบวนการและรายละเอียดต่าง ๆ ของการผลิตจะเข้าที่และสมบูรณ์ เนื่องจากมีลักษณะการทำงานที่ไม่มีโครงสร้างตายตัว มีสิ่งที่คาดเดาไม่ได้อยู่หลายด้าน มีความไม่แน่นอนสูง และดูสับสนวุ่นวาย เมื่อเทียบกับการทำงานหลังจากที่โครงการได้รับการอนุมัติแล้วซึ่งมีแบบแผนชัดเจน ดังนั้นช่วง fuzzy front end ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ของผู้บริหารในระดับสูงเพื่อสามารถออกแบบสินค้าได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า (Smith and Eppinger, 1997)
การพัฒนาสินค้า (product development) เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมทั้งหมดในการนำเสนอสินค้าสู่ตลาด การพัฒนาสินค้าถูกนิยามว่า เป็นการใช้โอกาสทางการตลาดที่มีอยู่สร้างสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งสินค้าแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สินค้าที่เป็นรูปธรรม เป็นสินค้าที่สามารถจับต้องได้ทางกายภาพ และสินค้านามธรรมเป็น การบริการ ประสบการณ์ และความเชื่อต่าง ๆ ความเข้าใจถึงความจำเป็นและความต้องการของลูกค้า ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของการแข่งขัน และธรรมชาติของตลาดเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จในการพัฒนาสินค้า ต้นทุน เวลา และคุณภาพ เป็นตัวแปรหลักที่ขับเคลื่อนความต้องการของลูกค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ผู้ประกอบการควรพัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้น และเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด (Kahn, 2012)
การพัฒนาสินค้าประกอบไปด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย โดยผู้ประกอบการจะใช้กระบวนการต่าง ๆ มาปรับใช้เพื่อนำเสนอสินค้าสู่ตลาด ผู้ประกอบการควรปรับโครงสร้างขององค์กรให้สามารถพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง สินค้าใหม่ทุกชิ้นจะผ่านขั้นตอนการออกแบบการผลิต และการวิเคราะห์ตลาดเป็นอย่างดี ส่วนสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น เครื่องบิน ยานยนต์ และเครื่องจักร จะมีกระบวนการพัฒนาสินค้าที่ซับซ้อนกว่าสินค้าทั่วไป อีกทั้งการส่งมอบต้องใช้ระบบขององค์กรที่ซับซ้อนเพื่อจัดการกับกระบวนต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ (Kahn, 2012)
กระบวนการพัฒนาสินค้าประกอบไปด้วย 4 ระยะ
1) ช่วงวางแผน หรือเริ่มต้นอันสับสน (Fuzzy Front End) เป็นช่วงที่ต้องวางแผน และดำเนินการก่อนที่กระบวนการและรายละเอียดต่าง ๆ ของการผลิตจะเข้าที่และสมบูรณ์ เนื่องจากมีลักษณะการทำงานที่ไม่มีโครงสร้างตายตัว มีสิ่งที่คาดเดาไม่ได้อยู่หลายด้าน มีความไม่แน่นอนสูง และดูสับสนวุ่นวาย เมื่อเทียบกับการทำงานหลังจากที่โครงการได้รับการอนุมัติแล้วซึ่งมีแบบแผนชัดเจน ดังนั้นช่วง fuzzy front end ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ของผู้บริหารในระดับสูงเพื่อสามารถออกแบบสินค้าได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า (Smith and Eppinger, 1997)
2) ช่วงการออกแบบสินค้าคือ ช่วงการออกแบบรายละเอียดของสินค้าเพื่อให้ได้สินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง (Yassine and Braha, 2003)
3) ช่วงปฏิบัติการตามแผน เป็นช่วงของการผลิตสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยี ระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือซอฟท์แวร์ทางวิศวกรรม รวมถึงกระบวนการทดสอบที่สามารถนำมาใช้ตรวจสอบความสมเหตุสมผลว่าสินค้ามีมาตรฐานการออกแบบตามเป้าหมายที่ได้รับการตกลงก่อนหน้านี้หรือไม่
4) ช่วงสิ้นสุดความคลุมเครือคือ ช่วงที่สินค้าและกระบวนการทางการตลาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว Yassine et al., (2003)
Koen (2004) ได้อธิบายช่วงวางแผน หรือเริ่มต้นอันสับสนว่า ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ
(1) ขั้นตอนการสำรวจโอกาสในการสร้างนวัตกรรม
(2) ขั้นตอนการสังเคราะห์ความคิดนวัตกรรม
(3) ขั้นตอนการคัดสรรความคิดนวัตกรรม
(4) ขั้นตอนการพัฒนาและทดสอบแนวคิด
(5) ขั้นตอนการวิเคราะห์ทางธุรกิจ (Business Analysis) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) ขั้นตอนการสำรวจโอกาสในการสร้างนวัตกรรม ในส่วนนี้ผู้ประกอบบการต้องระบุหนทางต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดสรรทรัพยากรไปยังโครงการใหม่ กำหนดกลยุทธ์ของผลิตภัณฑ์ใหม่และกำหนดรายละเอียดของกระบวนการต่าง ๆ ในการพัฒนาสินค้า
2) ขั้นตอนการสังเคราะห์ความคิดนวัตกรรม ขั้นตอนนี้คือการวิเคราะห์โอกาสการนำไปใช้และเพื่อกำหนดบริบทและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการ ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องใช้ความพยายามอย่างมากทั้งทำการศึกษาตลาด และการค้นคว้าวิจัย
3) ขั้นตอนการคัดสรรความคิดนวัตกรรม มีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณตัวเลือกลงในขณะที่ทำให้ความคิดมีคุณภาพสูงขึ้น จึงต้องอาศัยการคิดสร้างสรรค์แบบเอกนัยไปพร้อม ๆ กับการประเมินทางเลือกโดยทีมงานภายในองค์กรเพื่อพิจารณาผสมผสานส่วนที่ดีของทางเลือกต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้ได้ผลลัพธ์ใหม่ที่มีศักยภาพ และมีความเป็นไปได้สูงที่สุดว่าจะประสบความสำเร็จ ซึ่งการคัดสรรความคิดนวัตกรรมนี้อาจได้มาจากภายในบริษัทหรือภายนอกบริษัทก็ได้ทั้งจากการระดมความคิด หรือมาจากความต้องการของลูกค้า
4) ขั้นตอนการพัฒนาและทดสอบแนวคิด การทดสอบแนวความคิดมีความคล้ายคลึงกับการคัดสรรความคิดในแง่ที่เป็นขั้นตอนลดจำนวนทางเลือกลง การทดสอบแนวคิดเป็นการประเมินผลตามความเห็นของผู้ใช้ โดยมีเป้าหมายเพื่อ 1. ระบุตำแหน่งแนวคิด (concept positioning) เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งหรือทางเลือกอื่น ๆ ในตลาด ศึกษาตลาดเป้าหมายอย่างชัดเจน และคาดคะเนการตอบรับผลิตภัณฑ์ และ 2 ประเมินแนวคิด (concept evaluation) เพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของแนวคิดที่ควรได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย
5) การวิเคราะห์ทางธุรกิจ เป็นช่วงที่พัฒนาแนวคิดต่าง ๆ บนพื้นฐานของการประเมินสภาพตลาด ความต้องการของลูกค้า ความต้องการในการลงทุน การวิเคราะห์การแข่งขันทางธุรกิจ และความไม่แน่นอน การวิเคราะห์ทางธุรกิจเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ และประเมินศักยภาพของโครงการโดยการคาดการณ์ยอดขาย ความคุ้มทุน และผลกำไร เทียบกับค่าใช้จ่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
การวิเคราะห์ทางธุรกิจมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ทางการตลาดมาก จึงทำให้องค์กรส่วนใหญ่ทำทั้ง 2 ขั้นตอนไปพร้อม ๆ กัน ผลของการวิเคราะห์ทางธุรกิจทำให้สามารถตั้งราคาผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งการตั้งราคาถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาด โดยทั่วไปการวิเคราะห์ทางธุรกิจประกอบไปด้วยการประมาณการณ์ด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ได้แก่ วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา การผลิตและการกระจายผลิตภัณฑ์สู่ตลาด การลงทุนด้านครุภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ และการพัฒนาตลาด ราคาขาย ยอดขาย ผลกำไร และผลตอบแทนจากการลงทุน
โฆษณา