23 เม.ย. 2022 เวลา 12:46 • ธุรกิจ
Robin Chan : ระบิล โสภณพนิช
ผู้กุมบังเหียนธุรกิจ "เจ้าสัวชิน โสภณพนิช" ในฮ่องกง
1
"ระบิล โสภณพนิช" หรือ Robin Chan บุตรชายคนโตของ "เจ้าสัวชิน โสภณพนิช" ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานธนาคารกรุงเทพ ธนาคารที่มีสินทรัพย์อันดับ 1 ของประเทศไทย ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 18 เม.ย.2565 ด้วยวัย 90 ปี
3
"ระบิล" เป็นบุตรชายจากภรรยา "เจ้าสัวชิน" คนแรกที่เกิดกับนางเล่ากุ่ยเอ็ง ที่มีบุตรกับ "เจ้าสัวชิน" 2 คน คือ "ระบิล" และ "ชาตรี โสภณพนิช" ผู้ที่รับไม้ต่อจาก "เจ้าสัวชิน" ในการบริหารธนาคารกรุงเทพ จนถึงปี 2535 ก่อนที่จะส่งไม้ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ให้กับ "ชาติศิริ โสภณพนิช"
4
ครอบครัวโสภณพนิช และธนาคารกรุงเทพ ซื้อโฆษณาในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในวันที่ 19-20 เม.ย.2565 เพื่อแสดงความอาลัย "ระบิล โสภณพนิช"
ขณะที่ "ระบิล" เกิดเมื่อปี ที่ซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง ในปี 2475 โดยเติบโตที่ฮ่องกงและเรียนที่สหรัฐ ก่อนที่จะมาเริ่มทำงานครั้งแรกที่ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกรุงเทพก่อตั้งเมื่อปี 2487 การทำธุรกิจธนาคารขณะนั้นต้องใช้การสนับสนุนจากฝ่ายการเมือง ในขณะที่การเกิดการรัฐประหาร 2490 ที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ถือเป็นจุดสิ้นสุดของคณะราษฎร เรียกได้ว่าการเมืองเปลี่ยนขั้ว
6
South China Morning Post รายงานเมื่อวันที่ 20 เม.ย.2565 ว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทยในขณะน้ั้นทำให้ "เจ้าสัวชิน" ตัดสินใจส่งบุตรชายคนโต "ระบิล"ไปอยู่ที่ฮ่องกงในปี 2493 เพื่อกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจของครอบครัว
ในขณะนี้ "โสภณพนิช" ยังคงมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันด้านการเมืองและธุรกิจในประเทศไทยและฮ่องกง โดยมีความสนใจที่หลากหลายตั้งแต่การธนาคาร การประกันภัย โรงพยาบาล ข้าว และโรงแรม
1
และทำให้หลังจากนั้น "เจ้าสัวชิน" ใกล้ชิดกับกลุ่มราชครู โดยเฉพาะ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ โดยฝ่ายการเมืองในช่วงนั้นมีส่วนช่วยให้ธุรกิจของธนาคารกรุงเทพขยายตัว เช่น การที่รัฐกำหนดผู้ส่งออกข้าวต้องเปิด L/C กับธนาคารกรุงเทพ แต่หลังจากนั้นไม่นานการเมืองที่มีปัญหาขัดแย้งเริ่มส่งผลต่อธนาคารกรุงเทพ
โดยเมื่อเกิดรัฐประหารในปี 2500 นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำให้ "เจ้าสัวชิน" ต้องลี้ภัยไปฮ่องกง
2
การที่ "ระบิล" ถูกส่งไปที่ฮ่องกง มีเป้าหมายส่วนหนึ่งเพื่อดูแลธุรกิจในฮ่องกง จึงได้ถือสัญชาติฮ่องกง ทำให้บุตรทั้ง 2 คน คือ สตีเฟ่น และ เบอร์นาร์ด ถือสัญชาติฮ่องกงไปด้วย โดย เบอร์นาร์ด มีเส้นทางชีวิตในแวดวงการเมืองฮ่องกงด้วย
4
ในช่วงต้นทศวรรต 1980 "ระบิล" ได้เป็นผู้บุกเบิกการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศจีน และยังเป็นรองผู้แทนสภาประชาชนแห่งชาติในปี 2531 ซึ่งดำรงตำแหน่งมา 20 ปี รวมทั้งเป็นหนึ่งใน 150 สมาชิกของคณะกรรมการเตรียมการสำหรับการบริหารพิเศษฮ่องกง ที่รัฐบาลปักกิ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2533 เพื่อจัดการกับการส่งมอบฮ่องกงกลับคืนสู่แผ่นดินใหญ่
1
ภาพถ่าย "ระบิล โสภณพนิช" ในรายงานการเสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 เม.ย.2565 ของเซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 2532
ในขณะที่ Bernard Charnwut Chan ปัจจุบันอายุ 57 ปี (ชื่อไทย ชาญวุฒิ โสภณพนิช) บุตรชายของ "ระบิล" มีบทบาททั้งทางธุรกิจและการเมืองฮ่องกง โดยเป็นที่ปรึกษาผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (แคร์รี แลม)
4
และเป็นประธานสภาธุรกิจ ฮ่องกง-ไทย ที่มีบทบาทสำคัญในธุรกิจการค้าและการเมืองฮ่องกง (เทียบเท่ารองนายกรัฐมนตรีไทย)
1
"เบอร์นาร์ด ชาญวุฒิ โสภณพนิช" ให้สัมภาษณ์ CNBC ถึงอนาคตศูนย์กลางทางการเงินของฮ่องกง
ก่อนเสียชีวิต "ระบิล" นั่งเก้าอี้ประธาน Asia Financial Holdings ซึ่งเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนในเบอร์มิวดา ทำธุรกิจอุตสาหกรรมประกันภัยและสุขภาพ รวมทั้งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง
Asia Financial Holdings มีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ Claremont Capital Holdings Ltd รองลงมาเป็นธนาคารกรุงเทพ, Aioi Nissay Dowa Insurance Co. Ltd และ Sompo Japan Nipponkoa Insurance Inc. โดยธุรกิจของ Asia Financial Holdings ประกอบด้วย
1
1. Asia Insurance บริษัทประกันภัยทั่วไปชั้นนำของฮ่องกง ที่ "เจ้าสัวชิน" ร่วมก่อตั้งกับ "ระบิล" เมื่อปี 2502 และได้กลายมาเป็นหนึ่งในบริษัทประกันทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง โดยจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของเมืองในปี 2533 เป็นบริษัทประกันที่มีจุดเด่นที่ความเชี่ยวชาญในตลาดฮ่องกง โดยรับประกันภัยในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอุบัติเหตุในฮ่องกง
2
2. The People's Insurance Company (Group) of China บริษัทนี้มีธนาคารกรุงเทพเข้าไปร่วมถือหุ้นด้วย
2
โดยทำธุรกิจประกันชีวิตที่มีใบอนุญาตทั่วประเทศในจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนผู้ถือหุ้นอีก 4 ราย เช่น Sumitomo Life Insurance Co. of Japan
3. Bank Consortium Holding Ltd. ก่อตั้งเมื่อปี 2542 เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับโครงการ ORSO และแผน MPF ซึ่งเป็นทั้งโครงการคุ้มครองการเกษียณอายุที่จัดตั้งขึ้นสำหรับพนักงานในฮ่องกง
2
โดยมีผู้ถือหุ้นเป็นสถาบันการเงินในฮ่องกง 8 แห่ง ได้แก่ Asia Financial, Chong Hing Bank, Dah Sing Bank, Fubon Bank, ICBC (Asia), OCBC Wing Hang , Shanghai Commercial Bank และ Wing Lung Bank
4.ธุรกิจบริการสุขภาพ โดย Asia Financial เป็นพันธมิตรธุรกิจกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่รักษาผู้ป่วย 1.1 ล้านคนจากกว่า 190 ประเทศทุกปี
2
5.ธุรกิจ Capital ซึ่งลงทุนในพอร์ตการซื้อขายกรรมสิทธิ์สินทรัพย์ประเภทต่างๆ รวมถึงหลักทรัพย์ เช่น หุ้นบลูชิพ พันธบัตร และการลงทุนทางเลือก
ในขณะที่ Asia Financial Holdings ก็มาถือหุ้นในธุรกิจของธนาคารกรุงเทพ เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นการเชื่อมโยงระหว่างธนาคารกรุงเทพ และ Asia Financial Holdings โดยเฉพาะการเป็นช่องทางการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศจีน
1
"ระบิล" มักทำตัวโลว์ โฟร์ไฟล์ และหลีกเลี่ยงการปรากฏตัวทางสื่อ แต่ถือเป็นผู้นำทางธุรกิจที่สำคัญของฮ่องกง
3
โฆษณา