23 เม.ย. 2022 เวลา 14:37 • ประวัติศาสตร์
วัดอัมพวา บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
ข้อมูลพื้นฐาน
พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่สัญจรไปมาสะดวกสบาย มีซอยต่อ
เชื่อมระหว่างถนนอิสรภาพ ซอย 37 กับ
ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 22
วัดอัมพวา สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พศ. 2211 ในสมัยอยุธยา
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างแต่เดิมบริเวณนี้เป็น
พื้นที่สวน วัดตั้งอยู่ทิศตะวันตกวังสวนอนันต์
กรมการขนส่งทหารเรือ
วัดอัมพวาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ประมาณ พศ. 2236
(กรมการศาสนา,2526 358-359)
โบราณวัตถุบ่งบอกอายุวัด
พระอุโบสถอาคารประธานของวัด
พระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนปลาย ด้านหน้าและหลังมีมุขและเสารองรับมุข หน้าต่างมีซุ้มบันแถลง ติดช่อฟ้าเศียรนาค ใบระกา และหางหงส์เป็นเศียรนาค
ซึ่งพระอุโบสถมีการบูรณะอยู่หลายครั้งจึงทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมผิดเพี้ยนไปจากเดิมโดยถ้าเราจะเปรียบเทียบกับอาคารที่ลักษณะใกล้เคียงกันลักษณะอาคารพระอุโบสถวัดอัมพวาจะมีลักษณะโครงสร้างแบบเดียวกับ พระอุโบสถวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา
ซึ่งเป็นอาคารที่สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 23
พระประธานภายในพระอุโบสถ
พระประธาน หน้าตัก กว้าง 4 ศอก มีลักษณะประติมากรรม
พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่น 2 ซึ่งมีเอกลักษณ์พระพักตร์รูป
สี่เหลี่ยม ขมวดพระเกศาเล็กมีไรพระศก เอกลักษณ์ที่พบ
เห็นได้ทุกวัดที่สำรวจจากพระประธานนั้นจะพบว่า
พระพุทธรูปอยุธยาที่มีลักษณะแบบพระพุทธรูปอู่ทองรุ่น2นั้นจะมีลักษณะองค์พระค่อนข้างลํ่าหนา
บริเวณรอบฐานพระประธานประดิษฐานพระพุทธรูป
สมัยสุโขทัยสัมฤทธิ์ 4 องค์ ปัจจุบันเหลือเพียง 3องค์
จิตกรรมภายในพระอุโบสถ
(เขียนขึ้นใหม่ราวปีพศ.2530)
ภาพเขียนภายในพระอุโบสถเป็นงานจิตกรรมแบบ
งานเขียนภาพแบบ "ภาพประดับ" หรือ illustration ซึ่งเป็น
ลักษณะภาพประกอบเรื่องซึ่งไม่ใช่งานเขียนภาพแบบจิตกรรมฝาผนังแบบที่พบเห็นตามวัดต่างๆ โดยงานภาพเขียนแบบภาพประดับจะเขียนภาพแบบมีกรอบเขียนเป็นลายแบ่งเป็นช่องภายในช่องจะเขียนเป็นภาพลักษณะภาพเสมือนจริงโดยเนื้อหาภายในภาพจะเป็นในลักษณะ นิทานชาดกหรือ พระพุทธประวัติ
งานจิตกรรมลักษณะดังกล่าวในเส้นทางที่ลงสำรวจมีพบงานจิตกรรรมลักษณะดังกล่าวที่ พระอุโบสถ วัดสิงห์ จ.นครปฐมแต่งานเขียนที่พระอุโบสถวัดสิงห์จะมีความเก่ากว่า
เสมาพระอุโบสถ
เสมารอบพระอุโบสถเป็นลักษณะเสมาคู่ บ่งบอกว่าวัดนี้เป็นวัดหลวงลักษณะเสมาเป็นแบบเสมาสมัยอยุธยาตอนปลายถึงต้นรัตนโกสินทร์น.ณ.ปากนํ้าระบุภายในเอกสาร ศิลปกรรมในบางกอก (น.70)
อธิบายลักษณะใบเสมาเป็นใบเสมาทำซุ้มเป็นกูบช้างถ้าลองเปรียบเทียบจะพบว่าเสมาลักษณะดังกล่าวมีลักษณะตรงกับเสมา วัดสิงห์ จอมทองซึ่งมีบันทึกหลักฐานการสร้างหรือการบูรณะในยุคสมัยที่ใกล้เคียงกัน
วิหาร
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะอาคารแบบหลังคา
การจัดวางแบบทรงไทยไม่มีเสาทั้งด้านหน้าและ
ด้านหลังอาคารเป็นอาคารที่มีทางเข้าออกด้านหน้า
เพียงด้านเดียว ปัจจุบันปิดไม่ให้เข้าชมจะเปิดเฉพาะ
ช่วงที่มีงานประจำปีของวัดเท่านั้น
เจดีย์รายภายในพระอุโบสถ
เจดีย์รายภายในพระอุโบสถเป็นลักษณะเจดีย์แบบ
ย่อมุมไม้สิบสองแบบเจดีย์อยุธยาตอนปลายโดยมีลักษณะบัวคลุมรองฐานองค์ระฆังอยู่ในราวยุคปลายพุทธศตวรรษที่23 โดยเปรียบเทียบกับเจดีย์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันที่เคยลงสำรวจมาคือเจดีย์รายที่วัดกำแพง บางขุนเทียน
เจดีย์หน้าพระอุโบสถเก่า วัดสิงห์ จอมทอง
เจดีย์หน้าพระอุโบสถเก่าที่วัดนาค(ร้าง) บางขุนเทียนฯลฯ
มีลักษณะเด่นคือมีงานปูนปั้นบัวคลุมก่อนขึ้นไปในส่วน
องค์ระฆังและขึ้นไปจะเป็นบัวคลุมเป็นชั้นก่อนจะถึง
ส่วนปลียอดการสร้างเจดีย์ลักษณะดังกล่าวเป็นที่นิยม
ในการสร้างตั้งแต่ปลายอยุธยาจนถึงยุคต้นของ
กรุงรัตนโกสินทร์
เจดีย์ประธานบริเวณด้านหลังพระอุโบสถ
ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังตั้งบนฐานมีบันไดทางขึ้น
บริเวณด้านหน้าเจดีย์ด้านบนเป็นลานประทักษิณสามารถ
เดินได้โดยรอบไว้สำหรับเดินทักขิณาวัฏ(เดินเวียนขวา)
เพื่อบูชาสิ่งที่อยู่ภายเจดีย์ซึ่งภายในเจดีย์ของวัดอัมพวา
จะมีแท่นรอยพระพุทธบาท ซึ่งเป็นของเก่าดังเดิมตั้งแต่
มีการสร้างวัด
เจดีย์ประธานมีการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งในสมัย
พระครูโสภณวิมลกิจ(น้อย)ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 8
ปกครองวัดช่วงปี พศ.2527-2544
บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ
จะมีแท่นบูชาพระประจำวันเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น
ตั้งบนฐานปูนปูด้วยกระเบื้องเคลือบและในบริเวณ
ใกล้กันยังมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมยืนเพื่อให้คนใน
ชุมชนได้สักการะ
วิหารหลวงปู่แป้น (สร้างขึ้นช่วงปี พศ.2509-2510)
ภายในวิหารประดิษฐานรูปเหมือน หลวงปู่แป้น
(เจ้าอาวาสองค์ที่6)เป็นองค์ประธานฝั่งซ้ายหลวงปู่แป้นจะเป็นรุปเหมือนพระครูระเบียบ(เจ้าอาวาสองค์ที่7)
และฝั่งซ้ายบริเวณผนังอาคารจะประดิษฐานรูปเหมือน
หลวงพ่อน้อย(เจ้าอาวาสองค์ที่8)
ทุกวันจะมีชาวบ้านแวะเวียนเข้ามาขอพรจากท่าน
เพราะท่านคือศูนย์รวมจิตใจและเป็นที่เคารพนับถือ
ของชุมชนวัดอัมพวา
ลำดับเจ้าอาวาสวัดอัมพวา
พระอาจารย์ ตา (เก่งทางสมถะกัมมัฏฐาน)
พระอาจารย์ พุก
พระอาจารย์ ปลื้ม
พระอาจารย์ จัน
พระอาจารย์ นุ้ย (หลวงอาพระครูแป้น)
พระครูแป้น รชโฏ (พ.ศ. 2456-250)
พระครูโสภณพัฒนกิจ (พระครูระเบียบ)
สมณศักดิ์สุดท้าย เป็น พระราชพัฒนโสภณ
เจ้าอาวาสวัดชิโนรสารามวรวิหาร พ.ศ 2553
พระครูโสภณวิมลกิจ (พ.ศ. 2527 - 2544)
พระครูวุฒิธรรมานันท์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
เครดิตข้อมูล
วิกิพีเดีย วัดอัมพวา บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
ศิลปกรรมในบางกอก
น.ณ.ปากนํ้า พศ.2513-2515
อยุธยาในย่าน กรุงเทพ
ผศ.ดร.ประภัสสร่ ชูวิเชียร พศ.2561
พระเครื่อง 10 กรุ เทพชู ทับทอง พศ.2507-พศ.2518
คำสัมภาษณ์คนในชุมชนวัดอัมพวา บางกอกน้อย
คุณ รังสรรค์ ชื่นประเสริฐ (พี่ตี๋) ผู้นำชุมชนวัดอัมพวา
ตาจุ่น เจ้าหน้าที่วัดอัมพวาตั้งแต่สมัยพระครูระเบียบ
ยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดอัมพวา
โฆษณา