25 เม.ย. 2022 เวลา 06:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
10 พื้นฐานเรื่องเงิน ที่คุณต้องรู้ ถ้าอยากรวย
วันนี้ #เด็กการเงิน ขอสรุปของสรุปในการสร้างความมั่งคั่งหรือเป็นคนรวยนั้น ต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง เรารวบรวม 10 ข้อด้วยกันดังนี้ ใครรู้แล้ว 10 ข้อ ยกมือขึ้น 😄🖐
1. Habit หรือนิสัย
การที่จะเป็นคนที่มีความมั่งคั่งสูงได้นั้น เกิดจากนิสัยเล็กๆน้อยที่ทำอยู่แล้วทุกวัน อย่างการหาเงิน ใช้จ่าย และเก็บเงิน ซึ่งนิสัยเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เงินที่เราหามาได้ อยู่กับเราได้นานๆ ซึ่งนิสัยที่ถูกต้องคือ เราต้องออมก่อนใช้ เช่น 10-20% ของรายได้ ค่อยนำไปใช้จ่าย ทิ้งนิสัยใช้เงินเก่ง และใช้เงินเท่าที่จำเป็น
 
2. รู้จัก Latte Factor
เงินก้อนเล็กๆ ที่เราใช้จ่ายในวันนี้ เช่น กาแฟแก้วแพงๆ หรือ เงินที่เติมในเกม ซึ่งเรามองว่าเป็นเงินเล็กๆน้อยๆ ใช้ซื้อความสุขได้ แท้จริงแล้ว เงินก้อนเล็กก้อนน้อยที่เราใช้จ่ายไปนี่แหละ มันคือเงินล้านในวันข้างหน้าได้
วันละ 100 บาท นั่นก็คือ 3,000 บาทต่อเดือน และ 36,000 บาทต่อปี
อีก 17 ปีข้างหน้า มันคือมูลค่า 1 ล้านบาท (ที่เราทิ้งไป) ดังนั้น การใช้เงินของเราสำคัญมาก
3. Inflation (เงินเฟ้อ) เป้าหมายขั้นต่ำที่เราต้องเอาชนะ
เมื่อเราหาเงินมาได้แล้ว เราควรให้มันทำงานได้อย่างเต็มที่ อย่างน้อยคือชนะเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อในประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5-2.0% ต่อปี เงินเฟ้อคือพลังของเงินในการซื้อสินค้าที่มีมูลค่าลดน้อยลงไปตามกาลเวลา ดังนั้นเงินที่เราได้มา อย่างน้อยควรนำไปอยู่ที่ปลอดภัย ให้ดอกสูง เช่น บัญชีออนไลน์ดอกสูง 1-1.5% ขึ้นไป หรือถ้าต้องการเพิ่มพูนความมั่งคั่งระยะยาว สามารถนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงมากขึ้น แต่ต้องใช้เวลาลงทุนให้นานขึ้น ควบคู่กับการจัด Asset Allocation เพื่อให้พอร์ตการลงทุนทนทานต่อตลาด และวัฏจักรเศรษฐกิจได้
4. Asset Allocation
หลักการจัดสินทรัพย์ หรือจัดทรัพย์ลงทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน เช่น ลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และการลงทุนทางเลือกอย่าง ทองคำ เป็นต้น ให้สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างเนื่องๆที่สภาวะต่างๆกัน เนื่องจากไม่มีสินทรัพย์ใดเป็นผู้ชนะตลอดเวลา แต่เราต้องการให้พอร์ตเติบโตไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่ารอบเศรษฐกิจจะดี หรือหดตัว พอร์ตการลงทุนยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้ ตัวอย่างของการจัด Asset Allocation เช่น นาย ก อายุ 30 ปี สามารถรับความเสี่ยงได้มาก อาจจะมีสัดส่วนของหุ้นสูงได้ถึง 70% (100-30) แล้วตามด้วยสินทรัพย์เสี่ยงน้อยลดหลั่นลงไป
เราสามารถจัด Asset Allocation ตาม วัตถุประสงค์ ช่วงอายุ และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อย่างน้อยทุกคนจะมี 1 เป้าหมาย นั่นก็คือการเกษียณ หรืออิสรภาพทางการเงิน และเพิ่มเป้าหมายเช่น บ้านหลังแรก หรือ เงินค่าการศึกษาของลูก
5. Risk and Investment Horizon ความเสี่ยงและระยะเวลาการลงทุน
การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนและต้นทุน ไม่ไปถึงเป้าหมายได้ แต่อย่างไรก็ตาม จากสถิติในการลงทุนระยะยาว สินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ แม้มีช่วงเวลาที่ขาดทุนด้วย แต่กรอบระยะเวลาการลงทุนที่นานพอ ทำให้ผลตอบแทนที่ขาดทุนนั้นกลับมาเป็นบวกได้ ซึงรอบเศรษฐกิจจะมีทั้งช่วงเวลาที่ดีและแย่ สลับกันไป แต่สุดท้ายแล้วตราสารทุนสามารถมีราคากลับมาที่จุดเดิม และสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ หากไม่ถนัดเลือกหุ้น ก็ควรจัดพอร์ต หรือลงทุนในกองทุนที่มีการกระจายตัวของหุ้นที่ดี (หุ้น 50 ตัวขึ้นไป ซึ่งจะลดความเสี่ยงเฉพาะตัวของหุ้นออกไปได้)
แม้ว่าตลาดมีขาขึ้นและลง ความเสี่ยงจากการขาดทุนจะน้อยลง หากเรามีเวลาในการลงทุนที่นานพอ และกระจายความเสี่ยงออกจากสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น มากกว่า 10-20 ตัว เป็นกองทุน แต่บางคนเลือกหุ้นเก่งและรู้จักความเสี่ยงดี อาจจะมีหุ้นน้อย และใช้การติดตามหุ้นเอาก็ทำได้ แต่ไม่ประมาท หรือมั่นใจมากจนเกินไป
6. เงินทองหาใหม่ได้ แต่เวลามีจำกัด
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการลงทุน คือตอนนี้ หรือควรทำทันที !!!
เพื่อให้เงินได้เริ่มทำงานสร้างผลตอบแทน แม้มีเงินเริ่มต้นน้อย และจับจังหวะตลาดไม่เป็น เราสามารถใช้กลยุทธ์ DCA หรือ ลงทุนประจำสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน เพื่อเฉลี่ยต้นทุนและสะสมหน่วยลงทุน และ compouding effect จากการลงทุนจะทำให้เงินที่ลงทุนมีมูลค่าสูงสุดได้
แม้เงินก้อนเล็ก แต่ระยะเวลาการลงทุนที่นานพอ สามารถเอาชนะเงินก้อนใหญ่ ที่เพิ่งลงทุนได้ไม่นาน เมื่อล้านแรกได้แล้ว ล้านต่อๆไปจะง่ายขึ้น
..ดังนั้นเริ่มได้เลย
7. Make Investment Automatic
สิ่งที่สำคัญของการเพิ่มพูนความมั่งคั่งคือ ทำให้มันง่าย
เมื่อเรากันเงินเพื่อการลงทุนแล้ว เราต้องทำให้การลงทุนเป็นเรื่องอัตโนมัติ เราสร้างเครื่องจักรได้จากการสร้างพอร์ตลงทุนระยะยาว และใช้วินัยในการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ติดตามผลการลงทุนบ้างเดือนละครั้ง ปล่อยวางไปกับการลงทุนได้ และจะพบผลลัพธ์ที่มหัศจรรย์ (เราแนะนำให้ทำอย่างน้อย 5 ปี หรือ 48 งวดขึ้นไป)
2
8. วางแผนภาษี
สิ่งที่คนมักละเลย ไม่ให้ความสำคัญคือการวางแผนภาษี ภาษีเป็นส่วนลดความมั่งคั่งที่ควรวางแผนให้ถูกต้อง ใช้ส่วนลดหย่อนให้เต็มที่ การสร้างความมั่งคั่งสามารถทำควบคู่กับการลดหย่อนภาษีได้จากกองทุน SSF RMF และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งตรงนี้เราควรใช้สิทธิ์ให้เต็มที่ เช่นเดียวกับประกันชีวิต ที่ใช้ในการลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน เราไม่ได้บอกว่าเราควรเสียภาษีแต่น้อย แต่อยากให้เราใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีให้เต็มที่ และส่วนลดหย่อนนี้ คือความมั่งคั่งที่เราจะได้รับในอนาคตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นนั่นเอง
1
9. Dividend vs. Accoumulation
การซื้อกองทุนปันผล หรือหุ้นที่ปันผลสูง มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อให้ได้กระแสเงินสดเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนนี้จะต้องเสียภาษีปันผล 10% ด้วย เราจึงขอแนะนำสำหรับผู้ที่เก้บเงินเพื่อเป้าหมายระยะยาว และไม่ได้ใช้เงินปันผลเลย ควระเลือกหุ้นเติบโต หรือกองทุนแบบสะสมมูลค่าแทน เพื่อให้เงินได้ compounding สร้างผลตอบแทนได้อย่างเต็มที่ ไม่ปันผลออกมาเสียก่อน และเมื่อต้องการกระแสเงินสดจากการปันผล ค่อยเลือกนโยบายปันผลสูงแทน
10. เพิ่มการปกป้องความมั่งคั่งที่หามาได้ ด้วยประกันแบบพอดีๆ
หลายครั้งเราพบคำถามว่า การจ่ายเบี้ยประกันอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพ vs. นำไปลงทุน ควรทำอะไรก่อน? เราแนะนำให้ปิดความเสี่ยงก่อน
ไม่เช่นนั้นแล้ว เราต้องนำเงินทีเราสะสมมาไปใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่คาดฝันมาก จนเป้าหมายที่เราวางไว้จะถูกเลื่อนออกไป หรือทำให้คนข้างหลังลำบาก
เช่น เกิดอุบัติเหตุและไม่ได้ทำประกันไว้ ต้องถอนเงินเก็บมารักษา
หรือ คนที่ life style หวือหวา หรือ งานที่เสี่ยง ควรทำประกันอุบัติเหตุให้มากพอ ถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น คือมูลค่าของกรมธรรม์ อย่างน้อย 6 เดือน-1ปี ของค่าใช้จ่ายต่อเดือน และทำประกันชีวิตให้ครอบคลุมหนี้สินที่คนข้างหลังอาจต้องแบกรับ เช่นหนี้บ้าน 5 ล้านบาท หรือการศึกษาบุตร เป็นต้น
อนึ่งเบี้ยประกันที่เราจ่ายแต่ละปี ไม่ควรมากเกินไป
และควรมีเงินเหลือเก็บไว้เพื่อเป้าหมายเกษียณด้วย
ดังนั้น เราหาเงินมาได้แล้ว ต้องรู้จักการรักษาเงินด้วย เป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การออมเงินเก่งเลย
ไม่เช่นงั้นเงินที่หามาได้ จะต้องนำไปใช้กับสิ่งที่ไม่คาดฝันแทน !!
อยากรู้เรื่องเงินเพิ่มเติม?
ห้ามพลาด!!
รวมโพสต์ การบริหารการเงินส่วนบุคคล
LINETODAY 👉https://today.line.me/th/v2/publisher/10240
โฆษณา