24 เม.ย. 2022 เวลา 20:01 • ข่าวรอบโลก
หากจีนเปิดฉากบุกไต้หวัน ตะวันตกกล้าหรือไม่?
ที่จะคว่ำบาตรจีน รุนแรงเหมือนที่ทำกับรัสเซีย
หากจีนเขวี้ยงบาตรกลับจะเกิดอะไรขึ้น?
--- ใช้เวลาอ่าน 7 นาที ---
ภาพจาก Getty Images
อาวุธทางเศรษฐกิจนั้นเปรียบเสมือนดาบสองคม
“สหรัฐฯ กล้าที่จะแช่แข็งหรือยึดเงินสำรองระหว่างประเทศของจีนอย่างจริงจังหรือไม่?”—“เป็นคำถามที่ดีหนิ” หวัง ย่งลี่ ผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศจีน ตอบ
หลังจากที่เครมลินเปิดฉากรุกรานเคียฟ, สหรัฐฯ และบรรดาชาติพันธมิตรได้บังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงต่อธนาคารกลางรัสเซีย—กำจัดความสามารถในการเข้าถึงทุนสำรองระหว่างประเทศประมาณครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด, ตัดธนาคารที่ใหญ่ที่สุดแห่งแดนหมีขาวหลายธนาคารออกจากระบบการเงินตะวันตก รวมถึงการระงับการส่งออกสินค้าไฮเทคไปยังดินแดนดังกล่าว
ถ้าหากว่าจีนทำอะไรสิ้นคิดเพื่อผดุงความเกรียงไกรทางภูมิรัฐศาสตร์ อย่างการบุกไต้หวัน, พวกตะวันตกจะใช้มาตรฐานเดียวกันกับที่ปฏิบัติต่อรัสเซียหรือไม่?
นักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดียนอเมริกันจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล—เอสวาร์ ประสาท กล่าวว่า “ศูนย์กลางอำนาจทางการเงินยังคงตั้งมั่นยั่งยืนอยู่ที่ตะวันตก” ตอกย้ำความสำคัญของอเมริกาและชาติพันธมิตรในแง่การเงินโลก, คาดว่าจีนน่าจะเก็บรักษาทุนสำรองระหว่างประเทศประมาณสองในสามจากทั้งหมด 3.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ไว้ในรูปของพันธบัตรรัฐบาลตะวันตกและรูปแบบอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง
ดังนั้นด้วยขนาดทรัพย์สินที่จีนฝากไว้กับตะวันตกนี้แสดงให้เห็นว่าจีนมีทางเลือกในการเก็บรักษาความมั่งคั่งในรูปแบบอื่น ๆ ไม่มากนัก, ถ้าสหรัฐฯ และยุโรป ตัดสินใจแบบเดียวกับที่ทำกับรัสเซีย—จีนน่าจะสูญเสียความสามารถในการเข้าถึงเงินดอลลาร์ ยูโร และปอนด์ได้ทีเดียว
1
แล้วตะวันตกกล้า ‘แช่แข็ง’ สินทรัพย์จีนจริงหรือไม่? การทำเช่นนั้นจะไม่สั่นคลอนทุนสำรองฯ ของจีนเท่าใดนัก แต่ถ้าหากจีนต้องการถอนทุนฯทั้งหมดออกจากตะวันตก มาตรการคว่ำบาตรจะขัดขวางการกระทำเช่นนั้น ทำให้จีนไม่สามารถที่จะที่ซื้อความมั่นคงทางการเงินอย่างพันธบัตรรัฐบาลได้อีก แต่เนื่องจากเร็ว ๆ นี้จีนไม่ได้ซื้อของพวกนั้นเท่าไรนัก ดังนั้นแม้จีนจะเข้าถึงตลาดพันธบัตรไม่ได้ ตลาดพันธบัตรก็คงจะไม่คิดถึงจีนมากนัก
และหากจีนนึกบุกไต้หวันขึ้นมา กลุ่มนักลงทุนเอกชนคงตกใจมิใช่น้อย พวกเขาจะถาโถมเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าอย่างแน่นอน
หากตะวันตกคว่ำบาตรใส่ จีนก็มีโอกาสที่จะเขวี้ยงบาตรกลับได้เช่นกัน—โดยหลักการแล้วจีนสามารถอายัด ‘สินทรัพย์ของตะวันตก’ ที่มีอยู่ในจีนเพื่อเป็นการตอบโต้, จากสถิติเมื่อปลายปีที่แล้ว—ชาวต่างชาติลงทุนโดยตรงในจีน อย่างพวกโรงงานที่ย้ายที่ตั้งไม่ได้ กว่า 3.6 ล้านล้านเหรียญฯ และลงทุนในหุ้น พันธบัตร และหลักทรัพย์อื่น ๆ รวม 2.2 ล้านล้านเหรียญฯ, เปิดเผยโดย เจอราร์ด ดีเปปโป ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ศึกษากลยุทธ์ระหว่างประเทศ (CSIS) ในวอชิงตัน, สหรัฐฯ
2
เมื่อรวมปริมาณเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดจากต่างชาติในจีน เทียบกับในรัสเซียแล้ว พบว่ามากกว่าถึงหกเท่าตัวทีเดียว
2
แล้วถ้าตะวันตกคว่ำบาตรสถาบันการเงินอื่น ๆ ของจีนที่มิใช่ธนาคารกลางหล่ะ? การกระทำเช่นนี้ตะวันตกก็จะได้รับ ‘แรงปฏิกิริยา’ เหมือนเดิม, ข้อมูลชี้ว่า 4 ใน 30 จากธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโลกเป็น ‘ธนาคารจีน’, อ้างอิงจากคณะกรรมการเสถียรภาพการเงิน (FSB)
การโจมตีธนาคารจีนทั้งสี่ จะส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินตะวันตกที่ได้ปล่อยเงินกู้ให้หรือเปิดบัญชีไว้กับธนาคารเหล่านี้ ชาติตะวันตกมั่นใจหรือไม่ว่าแรงกระเพื่อมจากการตัดธนาคารจีนออกจากระบบจะไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของตน? “คำตอบคือไม่” ตอบโดย เคลย์ ลาว์เวอรี่ คนของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) “ผมไม่มั่นใจในเรื่องนี้”
การคว่ำบาตรแดนมังกรจะสร้างหายนะแก่การค้าขาย, น้อยกว่าหนึ่งในห้าของการค้าจีนได้ดำเนินการผ่านสกุลหยวน และที่เหลือส่วนใหญ่ผ่านดอลลาร์ “ถ้าคุณไม่มีประกันภัยและสินเชื่อการค้า กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะต้องหยุดลงขนานใหญ่” กล่าวโดย มาร์ติน ชอร์เซมปา จากสถาบันปีเตอร์สันเพื่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศ, ตั้งแต่จีนได้เข้ามาเป็นคู่ค้ารายใหญ่กับ 120 ประเทศทั่วโลก—การหยุดชะงักทางการค้าจากมาตรการของตะวันตกย่อมทำให้ประเทศที่เหลือต่อต้านการกระทำของสหรัฐฯ และพันธมิตร
การคว่ำบาตรจีนจะส่งชาติตะวันตกให้ตกที่นั่งลำบากทันที, สัดส่วนการนำเข้าจากประเทศจีนคิดเป็นร้อยละ 18 สำหรับสหรัฐฯ และมากกว่าร้อยละ 22 สำหรับสหภาพยุโรป—สิ่งที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นส่วนประกอบและชิ้นส่วนสำหรับภาคการผลิตภายในประเทศ (ดูที่กราฟด้านล่าง) ด้วยเหตุผลนี้ การขัดขวางการค้าขายกับจีนย่อมสร้างความเสียหายต่อภาคการผลิตในประเทศ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการส่งออกด้วย
1
สัดส่วนการนำเข้าชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์จากจีนในปี 2020 คิดเป็น % (ภาพและข้อมูลจาก The Economist)
แบบจำลองของเกเบรียล เฟลเบอร์มาเยอร์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งเวียนนา เปิดเผยให้เห็นว่าหากสหรัฐฯ และพันธมิตรตัดการนำเข้าจากจีนมากกว่าร้อยละ 90 จะส่งผลให้การส่งออกของตนลดลงเกือบร้อยละ 10 ด้วยเช่นกัน
แสนยานุภาพทางเศรษฐกิจของจีนเกิดจากขนาดตลาดอันมหึมาของตน, บางทีสหรัฐฯ อาจต้องการกีดกันการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่าง ‘สารกึ่งตัวนำ’ จากจีน—การระงับการนำเข้าอย่างสมบูรณ์จะทำให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนดังกล่าวสูญเสียรายได้ร้อยละ 37 และสั่นคลอนตำแหน่งงานกว่า 120,000 ตำแหน่ง, อ้างอิงจากบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป
นอกจากนี้จีนอาจจำกัดการส่งออก ‘แร่แรร์เอิร์ธ’ ซึ่งเป็นอาวุธเด็ดที่จีนใช้คานอำนาจกับสหรัฐฯ เพื่อเป็นการตอบโต้—แร่ชนิดนี้เป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การจำกัดการส่งออกย่อมส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
เมื่อพิจารณาขนาดการคว่ำบาตรของยุโรปที่มีต่อรัสเซีย ยกตัวอย่างการถอนตัวของแบรนด์สินค้าฟุ่มเฟือยหลายเจ้าในแดนหมีขาวเพื่อตอบโต้การรุกรานยูเครน ได้สร้างแรงกระแทกต่อตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยของรัสเซียที่มีมูลค่า 2,400 ล้านเหรียญฯ แต่ถ้าหากยุโรปหรือพันธมิตรต้องการปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้ในแผ่นดินจีน นั่นคือตลาดขนาด 50,000 ล้านเหรียญฯ ซึ่งจะทำให้พวกเขาต้องคิดหนักทีเดียว, อ้างอิงจากสตาทิสตา (Statista)
1
เอ็ดดี ฟิชแมน ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ความมั่นคงนิวอเมริกัน (CNAS) ย้ำว่าตะวันตกสามารถโจมตีเศรษฐกิจรัสเซียให้รุนแรงขึ้นตราบเท่าที่รัสเซียไม่สามารถตอบโต้ได้ แต่หากจะทำเช่นนี้กับจีนหล่ะก็จะต้องคิดหนักทีเดียว การคว่ำบาตรจีนเป็นการบังคับให้จีนต้องเขวี้ยงบาตรกลับ ซึ่งจะสร้างแรงปฏิกิริยาทางเศรษฐกิจต่อสหรัฐฯ และพันธมิตร ได้อย่างเหลือเชื่อทีเดียว, ด้วยเหตุผลนี้ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งโลกตะวันตกและตะวันออกจึงฟันธงว่าพวกตะวันตกคงไม่กล้าทำอะไรเกินเลยแน่ แต่ยังไงพวกเขาก็หวังว่าจีนคงจะไม่ทำอะไรที่จะพาบาตรตัวเองไปเสี่ยงคว่ำ ทุกคนหวังเช่นนั้น
1
ติดตามแผนกข่าวอื่น ๆ ของ 31130 Corporation ได้ที่
1
<< ข่าวสารระหว่างประเทศ 31130 News - DEEDN >>
Instagram : 31130newsth
<< วารสารวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ 31130 Wittaya Times >>
Instagram : 31130wittayath
31130 Corporation
Established 2022
Foto:
- Getty Images
- The Economist
โฆษณา