28 เม.ย. 2022 เวลา 07:20 • การศึกษา
#MoneyRules : กติกาเรื่องเงิน ที่ชีวิตจริงสอนผม
#กติกา2 "กฎแห่งกรรม ทางการเงิน"
#MoneyRules เป็น เรื่องราวและมุมมอง
ของมนุษย์เงินเดือนคนนึง
ที่มองว่าเรื่องเงิน แท้จริงแล้ว
ก็ไม่ต่างกับ "กติกาชีวิต"
เราแค่ต้องรู้ ก่อนลงเล่นแต่ละเกม
แล้วเราจะสนุก และไม่สะดุดขาตัวเอง
.
#เกรินนำ
พูดถึงคำว่า “กฏแห่งกรรม” แล้วดูน่ากลัว
ซึ่งถ้าแต่ตรงๆ ตามความหมาย มันคงประมาณว่า
“ผลที่เกิดจากการกระทำ” หละครับ
คือเรา “ทำ” หรือ เรา “สร้าง” อะไรไว้
ผลลัพธ์ก็จะออกมาเป็นแบบนั้นครับ
เช่นถ้าเราปลูกส้ม เราก็จะได้ “ผลส้ม” มาทาน
เราทำบุญ เราก็จะได้ “ความรู้สึกดีๆ” จากการที่เราทำบุญ
.
ฉันใดก็ฉันนั้น .. เรื่องเงินๆ ทองๆ ก็ไม่ต่างกันครับ
หากเราลงทุนในหุ้น > เราก็ได้ “ปันผล” เป็นรายรับ
หากเราซื้อรถ > เราก็ได้ “ค่าผ่อนรถ” เป็นรายจ่าย
.
หากยังจำกันได้เรื่องกระดาษ 2 แผ่น
แผ่นที่ 1 งบดุล ซึ่งประกอบด้วย ทรัพย์สิน และ หนี้สิน
แผ่นที่ 2 งบรับ-จ่าย ซึ่งประกอบด้วย รายรับ และ รายจ่าย
จะเห็นได้ว่า กระดาษทั้ง 2 แผ่นนี้
มีความเชื่อมโยงกันอยู่ นั้นคือ
>> งบดุล เป็น “เหตุ”
>> งบรับ-จ่าย เป็น “ผล”
สร้างหรือทำอะไรไว้ในเหตุ
ผล ก็จะตามมาแบบนั้น
.
(ส่วนใครจำไม่ได้ ว่ากระดาษ 2 แผ่นคืออะไร
สามารถกลับไปทวนได้ครับ ในลิงค์นี้
ผมเขียนไว้ละเอียดยิบๆ เลย)
#เข้าสู่เนื้อหา
วันนี้เลยอยากจะมาเล่าเรื่องนี้ เป็น 3 ข้อคิด
ที่เอาไปลองปรับใช้ในชีวิตจริงกันดูนะครับ
.
ข้อคิดที่ 1 ”ทำดี ได้ดี , สร้างทรัพย์สิน ได้กระแสเงินสด”
เหตุแห่งความดีของการเงินมีดังนี้ครับ
-เงินฝาก (อาจจะต้องมีเงินมากหน่อย) เอาไปฝากไว้
ก็จะได้ผลเป็น “ดอกเบี้ย” กลับมาหาเรา
-หุ้น/กองทุนหุ้น (มีน้อยใส่น้อย มีเยอะใส่เยอะครับ
จริงๆ ผมอยากเน้นเรื่องความสม่ำเสมอ
กับ เรียนรู้มัน ดีกว่าครับ เพราะการลงทุนที่ดี
ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะได้ปันผลมากแค่ไหน
แต่อยู่ที่เราอยู่กับมันได้นานแค่ไหนมากกว่าครับ)
ซึ่งผลที่ได้กลับจากการลงทุนในหุ้น/กองทุนหุ้น
นั้นคือ “เงินปันผล” ครับ
-บ้านเช่า (มีเงินก้อนใหญ่หน่อย
หรือ มีเครดิตทางการเงินที่ดี)
ก็อาจจะลองดูการปล่อยเช่าครับ
ซึ่งผลที่จะได้กลับมาในงบรับ-จ่ายของเราก็คือ
“ค่าเช่า” นั้นเองครับ
-ธุรกิจ (มีความรู้ความสามารถหน่อย
เน้นสร้างระบบให้ทำงานแทนเราได้)
ก็เป็นอีกทางเลือกนึงในการสร้างรายรับ
ในรูปแบบของ “กำไร” ครับ
-และสุดท้าย ทรัพย์สินทางปัญญา
ไม่ว่าจะเห็นสร้างเหตุ เช่น เขียนหนังสือ
ทำรายการยูทูป อัด Podcast หรือแม้แต่
ขายเสียงเพลง ขายบทละคร
เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุที่ดี ที่จะนำมาซึ่งผลลัพธ์
ในรูปแบบของ “ค่าลิขสิทธิ์”
.
ข้อคิดที่ 2 ”สร้างภาระ อย่าเกินตัว”
เหตุที่จะก่อให้เกิด “ภาระ” มีอะไรบ้าง
ก่อนจะเล่าให้ฟัง อยากออกตัวยังงี้ก่อนว่า
การมีภาระ ไม่ใช่ ไม่ดี เสมอไป
บางครั้งภาระทำให้เรา Active และ ถีบตัวเองขึ้น
บางครั้งภาระทำให้เราต้องสู้ เพื่อชีวิตตัวเองที่ดีขึ้น
ภาระมีได้ แต่ต้องไม่เกินตัว
อยู่ในขีดความสามารถที่ตัวเองรับได้
ถามว่าแล้ว ”ขีดนั้นอยู่ตรงไหน?”
เอาง่ายๆ เงินผ่อนทั้งหมดไม่ควรเกิน 30% ของรายรับ
(กรณีไม่มีบ้าน-รถนะครับ
ถ้ามีบ้าน หรือมีรถ อนุโลมให้ไม่ควรเกิน 50% ครับ)
เหตุแห่งภาระ จะมาในรูปแบบของ
-ผ่อนของใช้ต่างๆ ผ่านบัตรเครดิต
เช่น ผ่อน มือถือ ทีวี โซฟา บลาๆ
ไม่จะเป็น “ผ่อน 10 เดือน 20 เดือน ต่างๆ”
ผลลัพธ์ที่ตามมาในงบรายจ่าย
ก็คือ “เงินผ่อนชำระขั้นต่ำ”
-กู้เงินสด กดเงินสดมาใช้
(ทั้งในระบบ และ นอกระบบ)
ผลลัพธ์ที่ตามมา
ก็คือ “ค่างวด พร้อม ดอกเบี้ย”
-ซื้อรถ ซื้อบ้าน ที่ต้องรับผิดชอบกันยาวๆ
ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ
“ค่าผ่อนรถ หรือ ค่าผ่อนบ้าน”
นั้นเองครับ
หรือบางท่านอาจจะมีภาระติดตัวมา
เช่น หนี้กู้ยืมการศึกษา
ก็อาจจะเอามานับรวมอยู่ในส่วนนี้ด้วยได้ครับ
.
ข้อคิดที่ 3 ”เคล็ดลับของเศรษฐี”
จะเห็นว่าทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2
ไม่มีอะไร ดี หรือ ไม่ดี 100%
คนรวยไม่ใช่ไม่มีหนี้ครับ
แต่พวกเขามี หนี้น้อยกว่าทรัพย์สิน
นั้นแปลว่าในงบดุลของ “เศรษฐี”
ฝั่ง “ทรัพย์สิน” ของเค้าจะโตขึ้นทุกๆ ปีครับ
โตจาก เงินฝากมากขึ้น , กองทุนโตขึ้น ,
มี บ้านเช่า , มีธุรกิจ และ มีทรัพย์สินทางปัญญา
มากขึ้นในทุกๆ ปี ทยอยสะสมกันไป
ในขณะเดียวกันฝั่ง “หนี้สิน”
ของเค้าก็มี แต่ค่อยๆ ลดลงทุกปี
ตัด โป๊ะ จ่ายตรงเวลา
หรือ อาจจะสร้างหนี้ใหม่
แต่หนี้นั้น อาจจะเป็นหนี้ที่สร้างขึ้น
เพื่อการลงทุนทำธุรกิจใหม่ๆ
แล้วสะท้อนกลับมาเป็นรายรับ
ในงบรับ-จ่าย ของเค้าครับ
#ทิ้งท้าย
กฎแห่งกรรม สะท้อนกลับมา
ที่การออกแบบ การใช้ชีวิตครับ
อยากชวนเพื่อนๆ คิดและวางแผน
ก่อนที่ใช้ชีวิตให้ดี แล้วจะสุขสบาย
แต่หากใครใช้ชีวิตก่อน
แล้วค่อยมาวางแผน
แบบนี้ขอเรียกว่า “แก้ปัญหา” ครับ
#gapper3M
ที่ปรึกษาการเงิน และวางแผนความมั่งคั่ง
นักธุรกิจ และ นักการตลาด
ผมจะเล่าทุกเรื่องที่ "ช่วย" ให้ชีวิตดีขึ้น
3M = Mind x Money x Marketing
ติดตาม/สนับสนุน gapper3M ได้ที่
#gapper3M
โฆษณา