1 พ.ค. 2022 เวลา 06:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เงินเฟ้อรอบนี้เกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก พร้อมกัน คือช่วงหลังวิกฤตโควิดใหม่ๆ คนมีความต้องการซื้อสินค้ามากขึ้น (Demand Pull) เพราะอั้นมาจาก Lockdown หลังจากนั้นตามมาด้วยราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน (Cost Push) และยังมีสภาพคล่องในระบบส่วนเกินจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางในช่วงที่ผ่านมา (QE)
ในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่เกินระดับ 4% (ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 50 ปี เท่ากับ 3.9%) ตลาดหุ้นยังเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี (Protect Wealth) แต่มีความผันผวนระหว่างทางเพิ่มขึ้น
อัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินระดับ 4% ขึ้นไปจะเป็นผลลบต่อเศรษฐกิจ ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง ธนาคารกลางต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และหากขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไปอาจทำให้เกิดเศรษฐกิจถดถอย
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อไม่มีทางอยู่ในระดับสูงตลอดไป  ในที่สุดก็ต้องถูกปรับสมดุลจาก Demand  และ Supply ในระบบเศรษฐกิจ / หรือการแทรกแซงของธนาคารกลาง
ย้อนไปในช่วงที่เกิด Hyperinflation ตั้งแต่ปี 1970-1983 เงินเฟ้อสูงระดับ 12-15% ตลาดหุ้นสหรัฐฯยังให้ผลตอบแทนต่อปี เป็นบวกได้ถึง 10 ปี และให้ผลตอบแทนเป็นลบ 4 ปี   โดยถ้าเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงมาก (Peak) แล้วเริ่มแผ่วลง ตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นดี
1
กรณี Base Case เงินเฟ้อมีโอกาสจะลดลงในครึ่งปีหลัง โดยจะ Peak ในช่วง Q2/2022 แต่ถ้า Worst Case เงินเฟ้อไม่ลดลง ธนาคารกลางจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอัตราเร่ง
ไม่มีใครรู้อนาคต ว่าเงินเฟ้อจะลดลงในครึ่งปีหลังหรือไม่ วิธีทีแนะนำคือ การจัดพอร์ตการลงทุน เอาชนะเงินเฟ้อ  (ผลตอบแทนการลงทุนที่แท้จริง = ผลตอบแทน – อัตราเงินเฟ้อ) กระจายการลงทุนในหุ้นที่มีความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน สามารถส่งผ่านต้นทุนให้กับผู้บริโภคได้  รวมถึงสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ และ REIT
โฆษณา