3 พ.ค. 2022 เวลา 11:00 • ไลฟ์สไตล์
"รวยจนต่างกันแค่ 2 บาท" ห๊ะ! มันใช่เหรอ😵
บางคนอาจจะหัวเราะ แล้วบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้จะต่างกัน แค่ 2 บาทได้ยังไง
บางคนอาจจะบอกว่าอาจจะเป็นไปได้ แต่อยากรู้ว่ามันเป็นไปได้ยังไง
บางคนอาจจะบอกว่ารีบบอกมาไวๆอยากรู้ความหมายแล้ว อย่ามัวตั๊กลีลาอยู่เลย(มุกเก๊าเก่า😅)
2
อ่ะ!ได้เลยค่ะ ไม่ต้องรอนานถึง17 นาที(น้องมิลลิก็มา😅)
"รวยจนต่างกันแค่ 2 บาท" เป็นเรื่องที่สะท้อนพฤติกรรมที่แตกต่างกันของคนเราที่ทำให้เกิดความรวยและความจนนั่นเองค่ะ
ยังงงๆกันอยู่ใช่มั้ยล่ะ จะอธิบายให้ฟังแบบง่ายๆสไตล์แม่มณีก็แล้วกันนะคะ
สมมุติว่ามีเงินอยู่ 100 บาท ไก่โต้งเป็นคนอยู่กินต่ำกว่าฐานะก็อาจจะใช้เงินไปแค่ 99 บาท
1
ส่วนไก่ต๊อกเป็นคนที่ชอบใช้จ่ายเกินตัวก็จะต้องไปกู้ยืมคนอื่นมาใช้เพิ่มเติมเพราะใช้จ่ายเงินไป 101 บาท
ระหว่างไก่โต้งกับไก่ต๊อกจึงมีเงินแตกต่างกันที่ 2 บาท
ภาพจาก Pixabay.com
ซึ่ง 2 บาทนี้เป็นส่วนที่แตกต่างของการมีเงินออมกับการมีหนี้
นั่นก็คือ รวยกับจนต่างกันแค่ 2 บาท นั่นเองค่ะ
2
การมีเงินออม ก็คือการขึ้นบันไดไปสู่ความรวย ส่วนการมีหนี้ ก็คือการลงบันไดไปสู่ความยากจน
1
2 บาทดังกล่าว ก็คือความแตกต่างระหว่างความรวยและความจนเป็นการแสดงถึงการออมทรัพย์ได้กับการออมทรัพย์ไม่ได้นั่นเองค่ะ
✅การออมทรัพย์ได้ คือการมีเงินส่วนหนึ่งเหลือหลังจากใช้จ่ายซึ่งคนที่จะออมทรัพย์ได้นั้นก็ต้องเป็นคนที่อยู่กินต่ำกว่าฐานะเช่นเดียวกับไก่โต้ง
การอยู่กินต่ำกว่าฐานะคือ มีรายได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช้จ่ายไปทั้งหมดทั้งที่สามารถทำได้ กลับเก็บเงินส่วนที่เหลือไว้เป็นเงินออมเพื่อเอาไปลงทุนให้มันงอกเงยขึ้นมา
ภาพจาก pixabay.com
❎การออมทรัพย์ไม่ได้คือ การมีเงินอยู่เท่าไรก็ใช้จ่ายไปหมดเรียกว่า "กินอยู่ตามฐานะ" ทำให้ไม่มีเงินออม
แต่บางทีก็อาจเป็นเช่นไก่ต๊อกที่"กินอยู่เกินฐานะ"คือมีเงินอยู่ 100 แต่ใช้ไป 101(แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่แค่101 อาจจะเป็น200หรือมากกว่านั้นก็ได้)
ส่วนที่ใช้เกินไปนั้นก็ต้องมาจากการกู้ยืม ทั้งในระบบและนอกระบบทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นไปอีกเพราะต้องมาเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่กู้ยืมมา
และเกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการนำเงินรายได้ในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นมาใช้หนี้ที่กู้ยืมมา
ภาพจาก pixabay.com
การจะรวยหรือจนก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของแต่ละคน
ถ้าใครสามารถบังคับใจตนเองในการใช้จ่ายเงินได้ก็มีโอกาสที่จะรวย
แต่ถ้าใครไม่สามารถบังคับใจตนเองในการใช้จ่ายเงินได้ก็มีโอกาสที่จะจนเพราะมีหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายนั่นเอง
1
"รวยจนต่างกันแค่ 2 บาท" จึงเป็นเครื่องเตือนใจให้เรานึกถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของเราว่าจะเป็นไปในแนวทางบวกหรือลบ
การจะรวยหรือจนขึ้นอยู่กับตัวของเราเองค่ะ อย่าไปหวังพึ่งใคร หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆเลยนะคะ😊
ขอบคุณที่แวะมาทักทาย...ติดตาม...และให้กำลังใจนะคะ😍💕
ขอบคุณข้อมูลจาก รู้ก่อนรวยกว่า "วราภรณ์ สามโกเศศ"🙏😊
1
#แม่มณีมีเรื่องเล่า😊มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง#เอาแบบที่สบายใจ😊
โฆษณา