4 พ.ค. 2022 เวลา 03:02 • ความคิดเห็น
เจาะลึกเอกสาร "Invoice" สำหรับการนำเข้า
"Invoice" เป็นเอกสารเกี่ยวกับการนำเข้าที่เราต้องตรวจสอบให้ถ้วนถี่
จากบทความก่อนหน้านี้ ที่พูดถึงเรื่องของเอกสารที่เกี่ยวข้องในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ตามอ่านได้ที่นี่ค่ะ
เรามาไล่เรียงทำความรู้จักให้ลึกซึ้งเข้าไปถึงรายละเอียดในแต่ละจุดของเอกสารแต่ละฉบับกันค่ะ
ขอบคุณภาพจาก canva
เริ่มจากตรงนี้เลย Invoice หรือ Commercial invoice 🌟
ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องปรากฏอยู่บนเอกสาร จะขาดตกบกพร่องไปไม่ได้เลย
👉 ชื่อ และ ที่อยู่ของบริษัทผู้ขายสินค้า ( Consignor )
👉 ชื่อ และ ที่อยู่ของบริษัทผู้ซื้อสินค้า (Consignee)
* ถ้ามีบุคคลที่ 3 มาเกี่ยวข้องในการซื้อขายก็จะต้องระบุชื่อ และ ที่อยู่ของบุคคลที่ 3 ไว้บน invoice ด้วย
👉 Invoice no. : เลขที่ invoice
👉 Incoterms : เงื่อนไขการขนส่งสินค้า
👉 Shipment Method : ขนส่งทางไหน เรือ /รถ / Air /รถไฟ
👉 Payment Terms : เงื่อนไขการจ่ายเงิน
👉 Date. วันที่ที่ออก invoice
👉 PO No. : เลขที่ใบสั่งซื้อสินค้า
👉 Shipping Marking : นำข้อมูลที่เราสั่งให้ผู้ขายระบุ เป็นชื่อบริษัท ,PO no. , Maker part no. ให้มีอยู่บน Label ของหีบห่อที่ส่งมา นำข้อมูลนั้นมาใส่ใน invoice ต้องใส่ให้ตรงกัน
❗ ห้ามใส่ N/M ตรง Marking บน Invoice เพราะจะเสียค่าปรับจากกรมศุลฯ สูงสุด 50,000 บาท
❗ หากในหน้า Invoice กับ Label หน้ากล่องหรือหีบห่อระบุข้อความไม่ตรงกันก็มีค่าปรับ ขึ้นอยู่ที่ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
การนำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศ โดยที่บนกล่องไม่มี Label ระบุอะไรเลย แม้แต่ชื่อบริษัทผู้ซื้อ/ผู้รับ นั้น
❗ไม่ควรทำ ❗เพราะจะทำให้เสียเวลาในการหาของในโกดังของกรมศุลฯ ที่มีอยู่มากมาย
👉 Description of Goods : ชื่อสินค้าอะไร ยี่ห้ออะไร ผลิตจากประเทศไหน ถ้าเป็นการนำเข้าเครื่องจักร รายละเอียดก็จะมากกว่าปกติ ต้องใส่ให้ครบและชัดเจน
👉 Quantity : จำนวนที่นำเข้ามาในครั้งนั้น
👉Unit Price : ราคา ต่อชิ้น หรือ ต่อชุด
👉Amount : ราคารวมของทั้งหมด
👉 Bank Detail : รายละเอียดของธนาคารที่ต้องการให้ชำระค่าสินค้าเมื่อครบกำหนดเวลา ต้องระบุไว้เพื่อลดความผิดพลาดในการโอนจ่ายเงิน
👉 ตราประทับของบริษัทและลายเซ็นต์ผู้มีอำนาจลงนาม
ผู้ขายมีหน้าที่ออก invoice
ผู้ซื้ออย่างเรามีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้อง
หากเราตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้บนหน้า invoice ให้ถูกต้องก่อนยืนยันให้ทำการส่งสินค้าออกมา เมื่อมาถึงขั้นตอนการนำเข้าปัญหาเราจะน้อยลง
แม้เราจะตรวจสอบเอกสารก่อนยืนยันให้ส่งออกก็อย่าเพิ่งวางใจว่าอะไร ๆ มันจะไม่เปลี่ยนแปลง บางทีเอกสารที่เราตรวจ กับเอกสารที่แนบเครื่องมามันเป็นคนละฉบับกัน ❗เป็นหนังคนละม้วน❗
เราต้องแจ้ง shipping ขอใช้เอกสารชุดที่ถูกต้องในการเดินพิธีการขาเข้า
...เตือนแล้วน๊า..
การนำเข้ายังมีเรื่องให้เราต้องเรียนรู้อีกเยอะเลยค่ะ บทความนี้พอแค่นี้ก่อนเนอะ เดี๋ยวเครียดกันก่อน 🤣
หวังว่าความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้จากประสบการณ์ในการทำงานนี้ จะพอเป็นประโยชน์ให้กับใครที่สนใจในเรื่องการนำเข้าสินค้าได้ไม่มากก็น้อยนะคะ …
ขอบคุณที่ติดตามแล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปน๊า
เจ้ากระต่ายขี้เซา :
ฝันจะนั่งรถไฟไปทรานส์ – ไซบีเรีย
รักการเขียนและการเล่าเรื่อง
กำลังฝึกเขียนนิยาย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา