3 พ.ค. 2022 เวลา 09:46 • ประวัติศาสตร์
แองโกล - แซกซอน กับต้นธารการครองอังกฤษ
อังกฤษในปัจจุบันนี้ถือเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่มาอย่างยาวนาน แต่กว่าที่พวกเขาจะมาเป็นอาณาจักรใหญ่ได้นั้นต้องผ่านการต่อสู้และเจ็บปวดมามากต่อมาแล้ว
ว่ากันว่ากลุ่มชนที่ถือเป็นชนชั้นปกครองในอังกฤษมาอย่างยาวนานนอกจากพวกเคลต์ที่เราได้กล่าวถึงไปแล้วก่อนหน้านี้แล้ว ก็ยังมีชาวแองโกลแซกซอน ที่แท้จริงก็ถูกนับว่าเป็นอนารยชนกลุ่มหนึ่งด้วยเหมือนกัน
แองโกลแซกซอน (Anglo Saxons) เป็นคำที่ใช้เรียกชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักรระหว่างต้นศตวรรษที่ 5 จนกระทั่งถึงการรุกรานของนอร์มันในปี 1066
นักบุญบัดนักบวชเบเนดิคทีนกล่าวว่า แองโกล - แซกซอน สืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าเยอรมานิก แองเกิล และจูทส์ เมื่อมารวมกับชาวแม็กซอนเดิมที่มาจากคาบสมุทรจัตแลนด์และนี่เดอร์ซาเคนหรือ บริเวณโลเวอร์แซ็กโซนีในประเทศเยอรมนีปัจจุบัน จึงกลายเป็น แองโกล - แช็กซอน
ชนแองโกลอาจจะมาจากแองเกลนหรือแองเกลี่ยทางเหนือสุดของประเทศเยอรมนีติดกับประเทศเดนมาร์กชนแองโกล - แซกซอน ละทิ้งดินแดนเดิมไว้ให้ว่างเปล่าแล้วมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อังกฤษ ภาษาที่พูดเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับตระกูลภาษาเยอรมันท้องถิ่นชนแองโกลแซ็กซอนเรียกตนเองว่า “Englisc” (อิงลิสค) ซึ่งเพี้ยนมาเป็นคำว่า “English” (อิงลิช)
ชื่อสถานที่บางแห่งในอังกฤษแสดงถึงถิ่นฐานเดิมที่ชนแองโกลแซกซอนละทิ้งมาเช่นชนฟรีเชียนที่เฟรสแข็มและเฟรสตันชนเฟลมมิชที่เฟลมตัน และ ฟลิมปิ ชนชเวเบียที่ชวาฟแฮม และอาจจะเป็นชนแฟรงค์ที่แฟรงค์ตัน และแฟรงคลีย์แซกซอน หรือชนแซกซอน (Saxons) ก็คือกลุ่มชนเผ่าเยอรมันเช่นกัน ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชนแท็กซอน คือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณโฮลสไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน
ชนแซกซอนมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ โดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสืบเชื้อสายมาจากชนแท็กซอนโบราณระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชนแซ็กซอนก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย, แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชนแซ็กซอนยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “ชาวเยอรมัน” และ “ชาวดัตช์
ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชนแท็กซอนที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวียบริเวณบอลติค และต่อชนโพเลเบียและชนโพเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตกเป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก
ปโตเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรีกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐาน ของชนแท็กซอนยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ และบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซ็กโซนี่เก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ระหว่างศตวรรษที่ 5 ชนแซกซอนเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานจังหวัดบริทาเนีย หรือ “บริทานยา (Britannia) ของโรมันบริเตนชนเผ่าหนึ่งของชนเยอรมันที่รุกราน คือ แองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ “แซกซอน” จึงกลายเป็นคำว่า “แองโกลแซกซอน” ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้
การรวมตัวของชนแองโกล - แม็กซอนอาจจะเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้าออฟฟาแห่งเมอร์เซียผู้ครองราชย์ระหว่างปี 755-759 หรือในสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชผู้ครองราชย์ระหว่างปี 871 -899 และผู้สื่อเชื้อสายต่อจากพระองค์การรวมตัวของราชอาณาจักรแองโกลแซกซอนที่กลายมาเป็นอังกฤษเกิดขึ้นในสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอเธลสตันแห่งอังกฤษผู้ครองราชย์ระหว่างปี 924 - 939
อย่างที่รู้กันอยู่ว่าบริเวณนี้เป็นเกาะใหญ่และห่างไกลจากความเจริญของโรมัน ที่สำคัญมีพวกเยอรมัน หรือพวกอนารยชนอพยพเข้ามาเรื่อย ทั้งเข้ามาโดยดีและบ้างก็มารุกรานชาวโรมันทนการรุกรานของเผ่าเยอรมันต่าง ๆ ไม่ไหว ถอนกำลังออกไปในปี 410 ต่อจากนั้นชาวแองโกลชาวแม็กซอน และชาวจูทส์ มาปักหลักตั้งถิ่นฐานในอังกฤษต่อสู้กับชาวบริตันเดิมผลักให้ถอยร่นไปทาง ตะวันตกและเหนือ
โฉมหน้าของอังกฤษในระยะแรกจึงดูจะวุ่นวายไปด้วยพวกป่าเถื่อนอยู่ไม่น้อย ตั้งแต่ปี 410 - 1066 คือก่อนจะเข้าสู่ยุคกลางนั้นอังกฤษก็ยังวุ่นวายอยู่ กล่าวคือ ในตอนแรกเผ่าต่างๆในอังกฤษกระจัดกระจายจนมีการตั้งอาณาจักรของตนขึ้นมาเรียกว่าใครมีพวกและอำนาจกับที่ดินก็ประกาศตัวเป็นอิสระมีการรวบรวมเป็นเจ็ดอาณาจักร (Heptarchy) ที่ประกอบด้วยนอร์ทธัมเบรีย เมอร์เซีย อีสต์แองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ ซัสเซ็กซ์ และเวสเซ็กซ์ ในเวลาต่อมาคริสต์ศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในอังกฤษในประมาณปี 600 โดยนักบุญออกัสตินแห่งแคนเตอร์บรี
อาณาจักรเมอร์เซียเรืองอำนาจตลอดศตวรรษที่ 8 ในสมัยพระเจ้าเพนดา พระเจ้าแอเธลเบิร์ต และพระเจ้าออฟฟาแห่งเมอร์เซียจนเวสเซ็กซ์ขึ้นมามีอำนาจแทน คือในเจ็ดอาณาจักรนี้แข่งกันเองอยู่เสมอใครมีความสามารถก็เรื่องอำนาจกันไปพออ่อนแออาณาจักรที่เข้มแข็งก็ดูจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นมาแทนนั่นเอง
แต่ในเวลาต่อมาประวัติศาสตร์ก็เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อชาวไวกิ้ง หรือที่ชาวอังกฤษเรียกว่าเดนส์ (Danes) ได้ยกพวกเข้ามาว่ากันว่า ชาวไวกิ้งเข้ามาแบบเงียบๆ ก่อนคือเข้ามาตั้งอาณานิคมของตัวเองขึ้นมาที่ออร์คนย์บริเวณตอนเหนือของสกอตแลนด์ ในปี 865 และใน เวลาต่อมาชาวไวกิ้งจากเดนมาร์กก็ยกทัพป่าเถื่อนอันยิ่งใหญ่ (Great Heathen Army) มาบุกอังกฤษโดยเริ่มรุกรานและเข้ายึดอาณาจักรนอร์ทรัมเบรียได้ในปี 866 ต่อมาก็ได้อาณาจักรอีสต์แองเกลียในปี 870 และอาณาจักรเมอร์เซียในปี 871
แต่พระเจ้าอัลเฟรดมหาราชทรงสามารถเอาชนะไวกิ้งได้ในปี 878 ส่งผลให้เกิดการแบ่งดินแดนกันระหว่างพวกแองโกลแซกซอน และไวกิ้งดินแดนของไวกิ้งในอังกฤษเรียกว่า เดนลอว์ ต่อจากนั้น ชาวไวกิ้งก็หลั่งไหลเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ
ต่อมาโอรสของอัลเฟรดมหาราช คือ พระเจ้าเอ็ดวาร์ดผู้อาวุโสได้ลุกขึ้นมาอีกครั้งเพราะทนต่อการเข้ามาขยายอำนาจของไวกิ้งไม่ไหว พระองค์ทรงต่อสู้เพื่อขับไล่พวกไวกิ้งให้พ้นจากอังกฤษ แต่ก็ไม่ได้รับชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเสียที พระโอรสของพระองค์ คือ พระเจ้าเอเธลสตัน (Athelstan) ได้ทำการรวมอาณาจักรเมอร์เซีย (ที่หลงเหลือ) กับอาณาจักรเวสเซ็กซ์ ต่อมาพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบยึดนอร์ทรัมเบรียจากเดนส์ และสามารถขับไล่ไวกิ้งออกไปได้ เป็นการรวมอังกฤษเป็นครั้งแรก
อังกฤษสงบสุขไปอีกร้อยปี แต่ในปี 980 ชาวไวกิ้งก็บุกมาระลอกใหม่ ชาวอังกฤษต้องจ่ายเงินติดสินบนเพื่อไล่ทัพไวกิ้งให้กลับไป แต่ปรากฏว่าพวกไวกิ้งรับเงินแล้วกลับไปจริงแต่พอเงินหมดก็กลับกันมาใหม่อีกที่สำคัญกลับมาครั้งนี้ก็รู้ว่าพวกอังกฤษไม่อยากรบและต้องเสนอสินบนย่างแน่นอน ก็เลยเรียกเงินมากกว่าเดิม
เรียกว่าอังกฤษในช่วงเวลานี้พวกแองโกลแซกซอนต้องยอมรับยานาจของพวกไวกิ้งเกิดการแก่งแย่งอำนาจกันเองในหมู่ไวกิ้ง กล่าวคือพระเจ้าสเวนของไวกิ้งยึดอังกฤษได้ในปี 1030 เนรเทศพระเจ้าแบเบอเรตไวกิ้งเช่นกันไปฝรั่งเศส ในปี 1940 พระเจ้าคนุตมหาราชพระโอรสพระเจ้าสเวนฟอร์ดเบียร์ต ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ เป็นกษัตริย์ไวกิ้งพระองค์แรกในอังกฤษ แต่พระองค์ก็ทรงถูกพระเจ้าแอเธลเรดกลับมายึดบัลลังก์ปีเดียวกัน พระเจ้าคนทรงหนีไปหาพระเชษฐา คือ พระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 แห่งเดนมาร์กสะดมกำลังมาบุกอังกฤษอีกในปี 1950) พระเจ้าเช็ดมันด์ที่ 2 (Edmund Ironside) พระโอรสพระเจ้าแอเธลเรดทรงพยายามจะต้านพระเจ้าคณิตแต่ไม่สำเร็จจนในปี 1060 พระเจ้าเอ็ดมันด์สิ้นพระชนม์พระเจ้าคนุตจึงได้เป็นกษัตริย์อังกฤษอีกครั้ง
พระเจ้าอนุตยังทรงได้เป็นกษัตริย์แห่งนอร์เวย์และเดนมาร์กอีกด้วย ทำให้อาณาจักรของพระเจ้าคนุตตีแผ่ขยายทั่วยุโรปเหนือราชวงศ์ ไวกิ้งยังคงถูกทวงบัลลังก์จากพวกแองโกล - แซ็กซอนอยู่ ในปี 1036 อัลเฟรดแอเรลลิง (Alfred Atheling) พยายามจะยึดบัลลังก์จากพระเจ้าฮาโรลด์แฮร์ฟุตแต่ถูกจับได้และถูกสังหารพระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงปกครองอังกฤษไม่ดีชาวอังกฤษจึงเชิญน้องชายของอัลเฟรดคือ เอ็ดวาร์ดมาครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดวาร์ดผู้สารภาพในปี 1042
แต่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดไม่มีทายาทเมื่อสิ้นพระชนม์ในปี 1066 เกิดการช่วงชิงบัลลังก์ระหว่างเอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ (Earl of Wessex) พระเจ้าฮาราลดแห่งนอร์เวย์ และดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดีจากฝรั่งเศส (สองคนหลังเป็นทายาทของพระเจ้าอนุต) เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ครองราชย์เป็นพระเจ้าฮาโรลด์กอดวินสัน (Harold Godwinson) รับชนะพระเจ้าฮาราลดแห่งนอร์เวย์ที่สะพานสแตมฟอร์ด (Stamford Bridge) แต่แพ้ดยุควิลเลียมที่เฮสติงส์ (Hastings) ดยุควิลเลียมขึ้น ครองราชย์เป็นพระเจ้าวิลเลียมที่หนึ่งแห่งอังกฤษเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มัน
เป็นอันว่า ถึงเวลานี้พวกนอร์มันก็เข้ามามีอำนาจในอังกฤษแล้ว ชาวนอร์มันพยายามกีดกันพวกแองโกล - แม็กซอน และใช้ระบบศักดินาสวามิภักดิ์เข้ามาใช้ และช่วงนี้เองที่ทำให้อังกฤษเข้าสู่ยุคกลาง
ย้อนกลับมาว่ากันเรื่องของพวกแองโกลแซกซอนกันอีกสักนิด แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วพวกชนเหล่านี้ไม่ได้สาบสูญเสียทีเดียว หากแต่ยังแพร่กระจายไปทั่วโลกดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่กระนั้นในแง่ของการยอมรับนั้น เราก็อาจจะกล่าวได้ว่าแท้จริงแล้วชาวแองโกลแซกซอนก็คือต้นธารของคนอังกฤษนั่นเอง
อย่างที่ว่าเอาไว้พวกแองโกลแซกซอนนี้ถึงอย่างไรก็เป็นพวกอนารยชน เอาเข้าจริงๆ ในระยะแรกที่ยังไม่เข้มแข็งทางวัฒนธรรมนั้น พวกเขาก็ถือว่าเป็นพวกนักรบที่กล้าหาญเข้มแข็งและเหี้ยมโหดไม่น้อยกว่าอนารยชนกลุ่มใด ๆ ในยุโรป แต่เมื่อสามารถตั้งหลักปักฐานได้แล้วก็พยายามพัฒนาคุณภาพของตนเองให้ดูดีขึ้น แม้แต่เมื่อพวกเขาต้องกลายเป็นศัตรูกับพวกเดนส์หรือไวกิ้งจากตอนเหนือภาพของพวกเขา 3 ก็เปลี่ยนไปกลายเป็นชาติที่มีอารยธรรมแต่กลับกันพวกไวกิ้งกลับเป็นคนป่าเถื่อนไปในที่สุด และนี่คือเรื่องราวของชาวแองโกล - แซ็กซอนที่เราควรรู้จักเอาไว้
ที่มาข้อมูล หนังสือ “ประวัติศาสตร์ยุโรป “ โดย อนันตชัย จินดาวัฒน์
ISBN:978-616-301-008-7
โฆษณา