6 พ.ค. 2022 เวลา 03:40
“มาชูปิกชู” สิ่งมหัศจรรย์ที่ถูกลืมกว่าร้อยปี กับ สุดยอดสถาปัตยกรรม ชาวอินคา
สิ่งมหัศจรรย์ มาชูปิกชู ถูกยกให้เป็นแหล่งมรดกโลก สถาปัตยกรรมและอารยธรรมโบราณเก่าแก่ของชาวอินคา สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นในปี 1450 ของประเทศเปรู กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันงดงามและเป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์สำคัญของนักโบราณคดี
แต่ยังคงเป็นที่สงสัยเกี่ยวกับการก่อสร้างประติมากรรมบนเทือกเขาสูงชันของชาวอินคาที่ไร้เครื่องมือทันสมัย แต่เนรมิตเมืองได้อย่างเหลือเชื่อ++
มาชูปิกชู เมืองเก่าแก่ที่สาบสูญหายไปกว่า 600 ปี ถูกค้นพบโดยนักสำรวจชาวอเมริกาและนักโบราณคดีเยลในปี 1911 บนเทือกเขาแอนดีส สูงกว่าระดับน้ำทะเล 2,430 เมตร สถาปัตยกรมสำคัญของทวีปอเมริกาใต้และใช้หินเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ถ้าหากเดินขึ้นไปที่สูงและมองลงมายัง เมืองมาชูปิกชู จะมีลักษณะคล้าย “เหยี่ยว” ซึ่งการเดินทางค่อนข้างอันตรายไม่น้อยเลย
#สถาปัตยกรรม “ชาวอินคา” ถูกถ่ายทอดจาก “ชาวติวานาคู”
เนื่องจากสิ่งก่อสร้างของชาวอินคามีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมของ “ติวานาคู” ในสมัยโบลิเวียก่อนจักรวรรดิอินคา โดยใช้หินเป็นวัสดุสำคัญในการสร้างสถาปัตยกรรมแห่งนี้ขึ้นมา ซึ่งลักษณะของหิน จะถูกตัดเป็นบล็อกหินทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และขัดเงาอย่างพิถีพิถันเรียบเนียนสวยงาม วางซ้อนกันเช่นเดียวกับเมืองสาบสูญของชาวอินคานี้
#สถาปัตยกรรมแห่งนี้ ถูกขนย้ายด้วยแรงงานคนอย่างเดียวเท่านั้น!
Picchu หรือชื่อเก่าเรียกว่า Huayna Picchu ถูกวางแผนและออกแบบโครงสร้างมาอย่างดี บนเทือกเขาสูง แผนผังของเมืองมาชูปิกชู มีลักษณะเป็นนาขั้นบันไดไต่ระดับตามหุบเขากว่า 3,000 ขั้น จนเกิดข้อสงสัยไม่ได้เลยว่า การลำเรียงหินจำนวนมหาศาลแบกขึ้นภูเขาสูงชั้นขนาดนี้ได้อย่างไร แค่เดินตัวเปล่าก็เหนื่อยและลำบากมาก
โดยการสร้างเมืองมาชูปิกชูมีจำนวนกว่า 200 หลัง โดยมีอาคาร ,วัด ,บ้าน ,น้ำพุ รวมถึงแท่นบูชา และมีประชากรอาศัยราวๆ เกือบ 800 คน ซึ่งโครงสร้างส่วนใหญ่ใช้หินแกรนิตสีเทาจำนวนกว่า 50 ตัน ด้วยใช้เครื่องมือ คือ ค้อนหิน ชะแลง และการสิ่วของโลหะผสมบรอนซ์ ตัดและแกะสลักออกมาเป็นบล็อกหินรูปร่างทรงเรขาคณิต ทำให้การจัดวางทับซ้อนกันได้อย่างมั่นคงและแน่นหนา โดยไม่จำเป็นต้องใช้ปูนหรือดินเพื่อเป็นเชื่อมติดกันเลย
โดยมีนักสถาปนิกชาวเปรู นามว่า ซานติอาโก อากูวร์โต ได้แบ่งแยกประเภทหินออกเป็น 4 ประเภทในการก่อสร้างเมืองมาชูปิกชู ได้แก่ อิฐหลายเหลี่ยมเซลลูลาร์มีขนาดเล็ก , อิฐหลายเหลี่ยม Ashlar หรือหินก้อนใหญ่ , อิฐห่อหุ้มหรือบล็อกหินแนวตั้ง และอิฐตะกอนหรือบล็อกหินแนวนอน ซึ่งได้กล่าวว่าหินที่ใช้สร้างอาคารของชาวอินคา คือ อิฐเซลลูลาร์และอิฐหลายเหลี่ยม Ashlar ส่วนการก่อผนังระเบียงต่างๆ ใช้เป็นอิฐหินแนวตั้งและหินแนวนอนนั่นเอง
จากแหล่งข้อมูลพบว่า เมืองมาชูปิกชูอยู่ตำแหน่งรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกในระดับแกน X พอดี เช่นเดียวกับเมืองสำคัญอื่นของชาวอินคา ซึ่งได้แสดงหลักฐานยืนยันจากภาพถ่ายดาวเทียม ประโยชน์ของการสร้างบริเวณนี้ สามารถระบายน้ำได้ดีตามธรรมชาตินั้นเอง
กลายเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณของชาวอินคา ยังคงเป็นปริศนากับการสร้างขึ้นเพื่ออะไร บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่หลบซ่อนหนีจากการล่าอาณานิคมของชาวสเปน บ้างก็เชื่อว่าเป็นสถานที่ของนักบวช แต่ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าแทนจริงแล้วถูกสร้างขึ้นเพื่ออะไรกันแน่นั่นเอง
ขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.ancient-origins.net/anc…/inca-white-rock-0015954
ขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.ancient-origins.net/ancient-…/machu-picchu-00190
ขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.tourinperu.com/…/machu-picchu-construction-tech…
Read Me - We Shout l The Shout
Living Online Magazine
[Life, Culture, Creative, Spirit]
#มาชูปิกชู #สถาปัตยกรรม #machupiccu #อารยธรรมอินคา #ศิลปะ #นักโบราณคดี #มรดกโลก #ยูเนสโก #นักบวช #ประเทศเปรู #สิ่งมหัศจรรย์โลก
โฆษณา