7 พ.ค. 2022 เวลา 04:12 • ประวัติศาสตร์
“พระเจ้า” ในมุมมองของ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)”
ในปีค.ศ.1905 (พ.ศ.2448) และค.ศ.1916 (พ.ศ.2459) “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)” ได้ตีพิมพ์งานเรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพ และทำให้ไอน์สไตน์กลายเป็นนักฟิสิกส์ที่โด่งดังและมีอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในแวดวงวิทยาศาสตร์
5
ในปีค.ศ.1921 (พ.ศ.2464) ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเดินสายบรรยายตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำให้ชื่อเสียงของไอน์สไตน์ยิ่งโด่งดัง เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
แต่สำหรับบทความนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ของไอน์สไตน์ แต่จะเป็นมุมมองคร่าวๆ ของไอน์สไตน์เกี่ยวกับพระเจ้าและศาสนา และอาจจะตอบคำถามของบางคนได้ว่า ไอน์สไตน์นั้นเชื่อในพระเจ้าหรือเป็นผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้ากันแน่
ในบทความนี้ เราจะลองมาสำรวจมุมมองของไอน์สไตน์ที่มีต่อพระเจ้า
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)
ในปีค.ศ.1950 (พ.ศ.2493) ไอน์สไตน์ได้เขียนหนังสือเรื่อง “Out of My Later Years” และมีประโยคหนึ่งว่า
“วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนา ก็คือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ไม่ได้ ศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์ ก็คือศาสนาที่มืดบอด”
4
หากอ่านจากประโยคนี้ ก็อาจจะตีความได้ว่าไอน์สไตน์นั้นเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติ พระเจ้าที่หลายคนนึกถึง ก็คือผู้ที่สร้างและทำลายโลก ผู้ที่สอดส่องพฤติกรรมมนุษย์ ให้สิ่งดีๆ หากมนุษย์ทำดี และลงโทษหากมนุษย์ประพฤติชั่ว
แต่พระเจ้าในมุมมองของไอน์สไตน์จะไม่ใช่พระเจ้าแบบที่หลายคนคิด หากแต่ไอน์สไตน์ไม่ได้เชื่อถือพระเจ้าในฐานะของ “บุคคล”
ศาสนาสำหรับไอน์สไตน์ก็คือความยินดีและชื่นชมในธรรมชาติ โครงสร้างของจักรวาลและโลก ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยกฎทางวิทยาศาสตร์
3
ในปีค.ศ.1940 (พ.ศ.2483) ไอน์สไตน์ก็เคยเขียนบทความ กล่าวว่าตนไม่ได้เชื่อถือพระเจ้าในฐานะของบุคคล
2
ในงานเขียนของไอน์สไตน์ที่ได้ตีพิมพ์ลงนิตยสาร New York Times เมื่อปีค.ศ.1930 (พ.ศ.2473) ไอน์สไตน์ได้กล่าวถึงมุมมองทางด้านศีลธรรมของตน
1
เขากล่าวว่าศีลธรรมในตัวบุคคล ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการศึกษา สังคม และความจำเป็น ไม่ใช่อยู่บนพื้นฐานของศาสนา
3
“พฤติกรรมทางด้านศีลธรรมของบุคคล ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเมตตา การศึกษา สังคม และความจำเป็น ไม่มีความจำเป็นต้องใช้หลักทางศาสนา และจะเป็นเรื่องน่าเศร้าหากมนุษย์ต้องอดทนอดกลั้นเนื่องจากความกลัวจะถูกลงโทษ และความคาดหวังว่าจะได้พบสิ่งดีงามในโลกหลังความตาย”
9
ตามความเห็นของไอน์สไตน์ ความรู้สึกทางศาสนาของนักวิทยาศาสตร์นั้น ความศักดิ์สิทธิ์ต้องไม่อยู่เหนือคุณค่าทางคุณธรรม
2
ในปีค.ศ.1939 (พ.ศ.2482) ไอน์สไตน์ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับพระเจ้า ความว่า
“ในช่วงที่มนุษย์ยังอยู่ในช่วงหนุ่มสาว วิวัฒนาการทางจิตวิญญาณได้สร้างรูปลักษณ์ของพระเจ้าในจินตนาการของมนุษย์ ซึ่งจุดมุ่งหมายของพระเจ้า ก็ควรจะกำหนดหรือมีอิทธิพลต่อโลก”
1
ในปีค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) ไอน์สไตน์ได้เขียนจดหมาย กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์
ไอน์สไตน์เชื่อว่าประเพณี ความเชื่อต่างๆ ทางศาสนา มักจะขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์และทฤษฎีต่างๆ เสมอ
1
เหล่านี้ก็อาจจะทำให้เห็นภาพคร่าวๆ ได้ว่า อัจฉริยะอย่างไอน์สไตน์มองพระเจ้าและศาสนาอย่างไร มีมุมมองต่อเรื่องเหล่านี้อย่างไร
1
โฆษณา