6 พ.ค. 2022 เวลา 13:37 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
Level of Consciousness
กลไกแห่งการรับรู้และความรู้สึกตัว
จากซีรี่ย์ Moon Knight
ระดับความรู้สึกตัว(Level of Consciousness) เป็นหลักการที่นำส่วนนึงมาจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ การวิเคราะห์จิตของมนุษย์
เป็นหลักการที่พบบ่อยมากในศาสตร์จิตแพทย์ จะใช้เรื่องนี้ในการวัดระดับผู้ป่วยทางจิต ที่ปัญหาทางจิตใจ รวมถึงผู้ป่วยที่หมดสติหรือขาดสติ ว่าการรู้สึกตัวเขาอยู่ระดับไหน ซึ่งจะค่อนข้างแบ่งเป็นขั้นได้อย่างชัดเจน
ในเรื่องMoon Knight ก็นำเรื่องนี้มาใส่ เพราะตัวละครมีปัญหาทางจิต ซึ่งได้นำเสนอเป็นฉากโรงพยาบาลจิตเวช ที่เริ่มตั้งแต่EP.4ไปเรื่อยๆ เล่าโดยมีชั้นเชิงทำให้คนดูเข้าใจง่ายและตามได้ทัน
แต่ถ้าตีความว่าฉากพวกนั้นแบ่งเป็นขั้นตอนกลไกของความรู้สึก จะรู้สึกเข้าใจมันมากยิ่งขึ้นไปอีก
Spoiler Alert!!
(เนื้อหาต่อไปจะสปอยส่วนต่างๆ และหวังว่าจะเข้าใจกันทุกคนนะครับ)
The Afterlife
การจำลองปรโลกของจิตผู้เสียชีวิต (The Afterlife )
มาเริ่มตรงที่ฉากทำให้คนถึงกับงง กับการดูตอนที่4 และทั้งตอนแทบจะไม่บอกอะไรเราเลยว่ามันคืออะไรกันแน่
หลังจากที่มาร์คถูกยิง ก็ได้ปรากฏว่าอยู่ในโรงบาลจิตเวช ซึ่งหมอที่รับการรักษาก็คือ แฮร์โรว์ ซึ่งเป็นตัวร้ายในเรื่องนั่นเอง
สังเกตเห็นว่าคนป่วยในโรงบาลทุกคนคือคนที่มาร์ครู้จักในตอนก่อนหน้านี้ทั้งนั้น รวมถึงฉากและสิ่งของต่างๆก็เป็นสิ่งที่เคยโผล่มาในตอนก่อนๆ
ใช่ครับ มันคือปรโลกหรือโลกหลังความตายนั่นเอง
ถ้าสังเกตดีดี ไม่ใช่แค่ฉากหรือผู้คนที่เป็นสิ่งที่คุ้นเคย แต่รวมถึงคำพูดที่อยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชด้วยซ้ำ เช่นตอนที่หมอแฮร์โรว์บอกว่า
“ผมจะไม่คิดช่วย กับคนที่ไม่คิดช่วยตัวเอง”
เป็นประโยคเดียวกันกับตอนที่จะยิงมาร์ค รวมถึงการตอบคำถามที่มาร์คถามหมอว่ามาที่นี่ได้ไง หมอได้ตอบว่ามารถบัส ซึ่งเป็นความทรงจำของมาร์คในตอนแรกๆที่เดินทางด้วยรถบัส
รวมถึงการเล่าโลกหลังความตายของทาวาเรต น่าจะเป็นเพราะมาร์คสร้างมาเพื่อจะได้เข้าใจถึงปรโลก เพราะความรู้เรื่องตำนานอียิปต์ตัวสตีเว่นมีความรู้ในเรื่องนี้มาก
มันจึงเป็นส่วนนึงในการรับรู้ที่นำเสนอออกมาผ่านทาวาเรต ซึ่งมันเป็นเรื่องเดียวกัน ที่ผ่านการตีความอีกแบบจากหมอแฮร์โรว์ ที่เล่าถึงการสร้างสิ่งต่างๆผ่านความทรงจำแต่เป็นหลักการวิทยาศาสตร์
ซึ่งจะสังเกตว่าฉากในห้องนั้น ชุดที่ใส่ไม่ว่ามาร์คหรือสตีเว่นก็จะเป็นสีขาวเหมือนกัน ต่างจากตอนออกมาจากห้องที่ใส่ชุดคนละสี แสดงว่าเป็นConsciousness ในระดับแรกที่รองลงมาจากโลกความจริง
Level of consciousness
-
ฉากและระดับขั้นแห่งการรู้สึกตัว Level of consciousness
ตามหลักจะแบ่งเป็น3ขั้น
แล้วแต่ละตอนอยู่ระดับไหนบ้าง?
1.Conscious level
1.Conscious level การคิดและการรับรู้
เป็นระดับจิตใจที่อยู่บนสุด จะเป็นความทรงจำความคิดและการรับรู้ที่คุ้นชิน มันคือบุคลิกของเรานั่นเองตัวตนของเราที่จะแสดงออกมาในโลกความจริง ซึ่งระดับนี้คือฉากห้องรวมคนป่วยและห้องของหมอแฮร์โรว์ที่บอกมาข้างต้นนั่นเอง เพราะจะสังเกตว่า ไม่ว่ามาร์คหรือสตีเว่นจะมีแค่บุคคลเดียวไม่ได้มีสองคนเหมือนฉากอื่นในโรงพยาบาล และของใช้ต่างๆก็เป็นสิ่งที่คุ้นเคยในชีวิตตลอด รูปปั้นคอนชู ตุ๊กตามูนไนท์ หนังเรื่องTomb Buster ผู้ป่วยที่ปรากฏเป็นคนที่มาร์ครู้จัก รวมถึงแฮร์โรว์นั่นเอง แต่ระดับนี้บุคลิกหลักคือมาร์ค และสตีเว่นก็เป็นส่วนนึงที่มาร์คเอาไว้ในระดับนี้ ความคิดและการตัดสินของขั้นนี้จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของจิตที่จะแสดงออกมา สังเกตุว่าไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตัดกลับมาที่ห้องนี้ตลอด รวมถึงEpisodeก่อนหน้านี้ทั้งหมดก็อยู่ในระดับนี้เหมือนกัน
(ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ เรียกขั้นนี้ว่า จิตสำนึก)
2.Subconscious level
2.Subconscious level ความทรงจำและความรู้
เป็นระดับจิตใจที่เก็บความทรงจำความรู้ต่างๆที่ไม่ได้ลึกมาก เป็นความทรงจำที่เราจำได้ดี เช่นเรื่องที่เราประทับใจและรวมถึงเรื่องที่ทำร้ายจิตใจ และความรู้ต่างๆในชีวิตก่อนที่จะไปสู่ขั้นที่1
มาร์คได้พบสตีเว่นที่อยู่ในโลงของขั้นนี้ เพราะแต่ละคนมีหน้าที่เก็บความทรงจำและความรู้ในโลกความจริงที่เจอ
เมื่อเทพีทาวาเรตบอกกับมาร์คและสตีเว่นให้เคลียร์เรื่องความทรงจำในขั้นนี้เพื่อให้ตราชั่งสมดุล เพราะมีบางอย่างในขั้นนี้ที่มาร์คปิดบังไม่ให้สตีเว่นรู้ ที่บางความทรงจำได้ถูกกดทับไปในขั้นที่3
ส่วนฉากที่อยู่ในขั้นนี้คือ ฉากนอกห้องระหว่างมาร์คกับสตีเว่น
การมาของทาวาเรตจากตำนานอียิปต์ น่าจะเป็นเพราะสตีเว่นมีความรู้เรื่องเทพอียิปต์
ห้องรวมผู้ป่วยที่กลายเป็นศพที่นั่งอยู่(ความทรงจำของมาร์ค) ในส่วนนี้สตีเว่นรู้ว่ามาร์คคือทหารรับจ้างแล้ว จึงเข้ามาในห้องนี้ได้เพราะมาร์คยอมให้สตีเว่นรู้เรื่องนี้
ส่วนอีกห้องที่ยังมีแม่ของมาร์คยืนอยู่(น่าจะเป็นความทรงจำของสตีเว่นที่เชื่อว่าแม่ยังมีชีวิตอยู่)
พอถึงช่วงตอนที่สตีเว่นเข้าไปในห้องความทรงจำมาร์ค แล้วไปเจอเด็กคนนึงที่ยืนอยู่และได้วิ่งหนี สตีเว่นจึงรีบวิ่งตามไป
ส่วนมาร์คได้พยายามห้ามไว้ เพราะนั่นคือสิ่งที่มาร์คได้กดทับมันไว้ในขั้นที่3และพยายามไม่ให้สตีเว่นมีตัวตนในขั้นนั้น
(ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ เรียกขั้นนี้ว่า จิตกึ่งสำนึก)
3.Unconscious level
3.Unconscious level ความโหดร้าย การทำร้ายจิตใจและสิ่งที่น่ารังเกียจในชีวิต
เป็นความทรงจำที่ลึกและน่ากลัวที่สุดของมนุษย์ในก้นบึ้งจิตใจ ที่เราเก็บมันไว้
หลังจากที่สตีเว่นวิ่งตามเด็กไป ปรากฏว่าเป็นน้องของตัวเอง
เป็นฉากเหตุการณ์ที่เลวร้ายและจุดเริ่มต้นที่สร้างบุคลิกของมาร์ครวมถึงการพบกับคอนชู
ทำให้สตีเว่นรู้ว่าตัวเองมีน้องชายและได้เสียชีวิตด้วยการจมน้ำ และได้เจอกับปัญหาต่างๆที่เข้ามาในชีวิตหลังจากที่น้องเสียไป
เพราะความทรงจำส่วนนี้มาร์คมีหน้าที่เก็บมันไว้
ส่วนสตีเว่นมีหน้าที่ให้สร้างความทรงจำดีดีขึ้นมา สร้างชีวิตที่ปกติ มีความสุข ไม่รับรู้ถึงเรื่องเลวร้ายในอดีต รวมถึงเชื่อว่าแม่ยังมีชีวิตอยู่
เมื่อสตีเว่นได้รู้ความจริง จึงกลับมาที่ฉากในโรงพยาบาล เพื่อสื่อให้ถึงว่าสิ่งที่มาร์คกดทับไว้ได้มาอยู่ในระดับที่2แล้ว
แต่สตีเว่นนั้นรับกับสิ่งที่เจอไม่ได้ ที่แม่และน้องเสีย รวมถึงตัวเองที่เกิดจากสิ่งที่มาร์คสร้าง
และก็ตัดไปตอนที่สตีเว่นไปอยู่กับหมอแฮร์โรว์ สื่อให้เห็นว่าสตีเว่นมาอยู่ขั้นนี้เพื่อจะตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อว่าแม่ได้เสียไป
แฮร์โรว์ได้ยื่นโทรศัพท์ให้สตีเว่น ที่บอกว่าเป็นสายของแม่
แต่สุดท้ายสตีเว่นได้ตัดสินใจเชื่อว่าแม่เสียชีวิตแล้ว และยอมรับกับความจริง
จึงตัดไปฉากบนถนนที่มาร์คกำลังดูความทรงจำของตัวเอง สตีเว่นได้เข้ามาในขั้นนี้และปรอบใจมาร์ค สื่อให้เห็นว่าความทรงจำที่มาร์คกดทับไว้ไม่ให้สตีเว่นมาเจอ
สตีเว่นนั้นเข้ามาในนี่ได้ และได้รับรู้รวมถึงให้อภัยมาร์ค
(ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ เรียกขั้นนี้ว่า จิตใต้สำนึก)
เพิ่มเติม
ใช่ว่าจะเป็นขั้นที่ลึกที่สุดจึงไม่สามารถรับรู้ได้เลย
แต่มันจะมีบางส่วนในขั้น1กับ2 ที่สื่อถึงการมีอยู่ของขั้นที่3
-ปลาทองคีบเดียว นั่นเกิดจากความทรงจำขั้นที่สามเป็นภาพวาดที่น้องชายได้วาดไว้
-Laters Gators (บุ้ยบุยบ้ายบาย) จริงๆคำนี้มาจากฉากครอบครัวที่พูดก่อน มาร์คและน้องจะไปถ้ำ จนมาถึงคำพูดสตีเว่นที่พูดก่อนวางสายจากแม่
-อาวุธของ มิสเตอร์ไนท์ กระบองเป็นของเล่นที่โผล่ในฉากของความทรงจำวัยเด็ก ซึ่งเป็นอาวุธของมิสเตอร์ไนท์
Jake Lockley
บุคลิกที่ถูกกดทับในขั้นที่3 Jake Lockley
บุคลิกนึงที่คนดูต้องการเห็นนั่นคือ เจค ถ้าให้เดาน่าจะอยู่ขั้นที่3
เป็นขั้นที่มาร์ครับรู้ แต่มีบางส่วนที่มาร์คเองก็ไม่แน่ใจว่าเขาเคยเจอมั้ย น่าจะเป็นเพราะขั้นนี้มีความทรงจำของอีกคนทับซ้อนอยู่นอกจากสตีเว่น คือของ เจค
นั่นคือฉากที่แม่ได้เปิดประตูมา และมาร์คในวัยเด็กได้ตัดสลับเป็นอีกบุคลิกนึง
แต่สตีเว่นที่มาร์คสร้างมา จุดประสงค์คือสร้างชีวิตที่ปกติที่มีความสุข ไม่มีความทรงจำที่เลวร้าย
แสดงว่าบุคลิกนี้ไม่ใช่สตีเว่นแน่นอน เพราะสร้างมารองรับอารมณ์ที่โดนแม่ใช้เข็มขัดตี จึงมั่นใจได้ว่ามันคือเจค แต่มาร์คไม่รู้ว่าตัวเองได้สร้างอีกคนนึงมาเพื่อมารองรับความเจ็บปวด เนื่องด้วยเป็นขั้นตอนที่ลึกและกดทับ ทำให้จำได้ไม่ชัดเจน เพราะสตีเว่นจำห้องนี้ได้ แต่จำไม่ได้ว่าเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น หรืออาจจะเป็นช่วงที่มีทั้ง3บุคลิกออกมาก็ได้
และมีฉากนึงที่โลงศพอยู่ในห้อง แล้วมีใครพยายามจะเปิดมันออก ยืนยันได้เลยว่าเป็นเจค
ส่วนที่ไม่สามารถออกมาได้ เพราะโลงมันอยู่ในขั้นที่2 ที่มีแค่มาร์คกับสตีเว่นนั่นเอง
และมีฉากนึงที่เจอกับหมอแฮร์โรว์ ได้มีแผลที่จมูกและสำเนียงการพูดรวมถึงพฤติกรรมก้าวร้าว ทำให้สรุปได้ว่าน่าจะเป็นเจค
ตลอดทั้งเรื่องจะมีช่วงนึงระหว่างสู้ที่เกิดอาการวูบขึ้น พอตัดภาพมากับพบว่าได้ฆ่าคนหรือได้ใช้ความรุนแรง รวมถึงตอนที่1 ที่นึกว่าเป็นมาร์คที่ทำ แต่ไม่น่าจะใช่
และเป็นบุคลิกที่พอโผล่มา ก็ไม่มีบุคลิกอื่นรับรู้และโดนปิดกั้นหมด จึงไม่มีความทรงจำทับซ้อนของเจคเลย
End Credit
นัยยะแฝงของ End credit
ซึ่งถ้าดูแบบปกติ ก็จะคิดได้ว่าแฮร์โรว์ได้มาทำการรักษาที่โรงพยาบาล และมีคนนึงได้เข็นรถที่แฮร์โรว์นั่ง ที่เฉลยตอนสุดท้ายว่าคือเจค และคอนชูได้มาให้เจคได้รับใช้ต่อจากมาร์ค และให้เจคสังหารแฮร์โรว์ในรถและขับออกไป
แต่มีสิ่งที่แฝงอยู่คือ เริ่มต้นมีตุ๊กตาเป็ดใส่ชุดหมอ ซึ่งตุ๊กตาเป็ดเคยโผล่ในฉากโรงพยาบาลจิตเวชของมาร์ค รวมถึงน้ำกาแฟเป็นทราย
ทำให้เราสื่อว่าเจคได้ออกมาจากขั้นที่3แล้ว โดยคอนชูเป็นคนปลดปล่อย
การที่ป้ายทะเบียนเขียนว่าเป็นชื่อมาร์ค SPKTR (ซึ่งอิงจากคอมมิค)
ก็สื่อนัยยะว่าเจคได้ทำการยึดร่างและควบคุมได้มากกว่าเดิมแล้ว
โฆษณา