11 พ.ค. 2022 เวลา 13:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อนาคตที่ง่ายกว่า ส่งดาวเทียมโดยไม่ใช่ไอพ่น
ที่ผ่านมา การนำดาวเทียมขึ้นสู่งวงโคจรนั้นมีราคาที่แพง การปล่อยดาวเทียมแต่ละครั้งต้องใช้เพลิงเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถทำได้ติดต่อกัน ต้องมีการพักช่วงประมาณ 2-3 เดือนต่อการปล่อยจรวด 1 ครั้ง
ตอนนี้มีบริษัทที่ชื่อ Spinlaunch กำลังคิดจะปล่อยดาวเทียมโดยการใช้แรงเหวี่ยง แทนการใช้เครื่องย่นไอพ่นเพื่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลก ข้อดีคือใช้ต้นทุนที่ต่ำสุด ๆ และสามารถปล่อยดาวเทียมได้หลายดวงต่อวัน
ก่อนหน้านี้ Spinlaunch ยังเป็นแค่แนวคิด โดยจะติดตั้งดาวเทียมในเครื่องหมุนเหวี่ยงขนาดใหญ่ และเมื่อถึงรอบความเร็วที่กำหนด พวกเขาจะปล่อยดาวเทียมออกขึ้นสู่ทองฟ้า และตอนนี้พวกเขาได้สร้างเครื่องขนาดเล็กขึ้นมาทดสอบใช้งานชื่อว่า A-33 Suborbital Mass Accelerator การทดสอบสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 1600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถส่งขึ้นไปได้สูงถึง 7,620 เมตร ที่น่าสนใจมากที่สุดคือมันใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยมาก หากเทียบกับการปล่อยดาวเทียมปกติ
1
การทดสอบดังกล่าวได้มีการติดตั้งกล้องเข้าไป เพื่อดูว่าเวลาที่จรวดขึ้นไปจะให้ความรู้สึก จากวีดีโอที่แสดงให้เห็นก็ต้องบอกว่ามันให้ความรู้สึกชวนอ้วก เพราะมันหมุนติ้ว ๆ เลย นอกจากนี้การติดตั้งกล้องเข้าไปยังเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า แม้เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ก็สามารถทนต่อแรง G มหาศาลในการเหวี่ยงได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทกังวลอย่างมากตั้งแต่ริเริ่มแนวคิดดังกล่าวครับ
Spinlaunch ได้ทดสอบปล่อยดาวเทียมไปแล้ว 8 ครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว และผลทดสอบนั้นเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งบริษัทก็มีแผนจะเปิดตัวรุ่นที่จะมีใช้งานจริงคือ L100 Orbital Mass Accelerator ซึ่งจะใหญ่กว่า A-33 สามเท่า มันสามารถเหวี่ยงดาวเทียมขนาด 200 กิโลกรัมขึ้นไปบนฟ้าได้ด้วยความเร็ว 8,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงไปยังระดับความสูงใกล้วงจร ก่อนจะจุดระเบิดเครื่องย่นไอพ่นต่ออีกนิด เพื่อดันตัวเองไปอยู่ในวงโคจรครับ
3
ตอนนี้ Spinlaunch ได้ทำสัญญากับ Nasa และหากไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะเห็นดาวเทียมดวงแรกที่ปล่อยโดย Spinlaunch ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะเป็นอีกก้าวของมนุษย์ที่มีขนส่งอุปกรณ์ไปยังอวกาศโดยใช้ต้นทุนที่ถูกมาก ๆ
ดูคลิปการทดสอบครั้งล่าสุดได้ที่ >> https://www.youtube.com/watch?v=qEVD9k2GLXk
1
#Techhub #spinluanch
⭐️ Techhub รวม How To , Tips เทคนิค อัปเดตทุกวัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ —> www.techhub.in.th
โฆษณา