9 พ.ค. 2022 เวลา 11:08 • ยานยนต์
‘Car Poor’ เมื่อวัยรุ่นเกาหลีสร้างตัวอยากมีรถหรู
แต่รสนิยมไม่สมกับรายได้ ปัญหาผ่อนไม่ไหวรุมเร้า
ค่านิยมอวดรวยเกินฐานะในหมู่คนรุ่นใหม่
1
ดูเหมือนว่าปัญหาการใช้จ่ายเกินตัวของผู้คนในยุคนี้ จะเป็นสิ่งที่พบได้ในหลายประเทศทั่วโลก เพราะด้วยโลกของโซเชียลมีเดียที่แต่ละคนมีพื้นที่นำเสนอภาพลักษณ์ของตัวเอง อวดทรัพย์สินเงินทอง หรือแม้แต่ความสำเร็จของตัวเองจนทำให้เกิดการเปรียบเทียบชีวิตกับคนอื่น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้คนในยุคปัจจุบันพยายามสรรหาวัตถุต่างๆ มาเสริมภาพลักษณ์ให้ดูดี แม้ว่ามันจะเกินกว่าความสามารถหรือความจำเป็นของชีวิตก็ตาม แต่ด้วยความอยากได้ อยากมี อยากโชว์นั้น ทำให้เริ่มส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน ชนิดชักหน้าไม่ถึงหลัง
ยิ่งรถยนต์หรู ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกฐานะและความสำเร็จของผู้คน กลายเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่หมายปองอยากจับจองเป็นเจ้าของ ต่อให้ต้องผ่อนแพงจนแทบไม่เหลือกินเหลือใช้ในแต่ละเดือนก็ยอม ซึ่งสภาวะแบบนี้เรียกว่า ‘Car Poor’ เป็นการเรียกกลุ่มคนที่ต้องกู้ยืมเงินเพื่อซื้อยานพาหนะ แต่ต่อมามีปัญหาในการชําระคืนเงินกู้ที่ครบกำหนด
Lee Hang-koo นักวิเคราะห์จากสถาบันเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและการค้าเกาหลี (KIET) ให้ข้อมูลว่า กลุ่มลูกค้าหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ในเกาหลีใต้รีบซื้อรถหรูนําเข้าเพิ่มมากขึ้นกว่าหลายปีก่อน ภายใต้แคมเปญโปรแกรมเงินดาวน์น้อย ผ่อนนานพร้อมอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งนับตั้งแต่ที่มีนโยบายดังกล่าวของค่ายรถยนต์ตั้งแต่ปี 2010 ผู้ผลิตรถยนต์สามารถดึงดูดชาวเกาหลีในช่วงอายุ 20 - 30 ปี ให้พวกเขาสามารถตัดสินใจซื้อรถได้ด้วยเงินดาวน์เพียงน้อยนิด
แต่ตอนนี้ผู้คนส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับการชําระหนี้และดอกเบี้ยสูงหลังจากผ่อนในราคาถูกไปแล้ว 3 ปี ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่อาจปฏิบัติตามภาระผูกพันทางการเงินของพวกเขาได้
"แน่นอนว่าโปรโมชั่นและแคมเปญเหล่านี้เป็นทางลัดในการครอบครองรถยนต์ได้ง่าย โดยเฉพาะแบรนด์เยอรมันระดับพรีเมียม เช่น BMW และ Mercedes-Benz ราคารถยนต์ที่ลดลงตามข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่มีผลบังคับใช้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมไปถึงการซื้อรถยนต์นําเข้า
นักวิเคราะห์ของ KIET ก็แสดงความกังวลว่า แต่นี่คือปัจจัยที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับความล้มเหลวในการบริหารเงินในหมู่ผู้ซื้อรถยหรูรุ่นใหม่ ซึ่งในบรรดาผู้ผลิตรถยนต์นําเข้าอย่าง BMW ได้ออกแคมเปญเพื่อดึงดูดลูกค้าในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ด้วยโปรแกรมการผ่อนชําระที่รอการตัดบัญชีช่วยให้ลูกค้าสามารถจ่ายเงินเพียง 1 ใน 5 ของราคารถทั้งหมด และชําระยอดคงเหลือในอีก 3 ปีต่อมา แต่ก็ต้องแลกกับอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 12-16% ซึ่งสูงกว่าอัตราที่เสนอโดยธนาคาร
ถึงกระนั้นแม้อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและค่าใช้จ่ายในการจัดการที่หนักหน่วงหลังจากการซื้อ ก็ไม่ได้ทำให้ความต้องการครอบครองรถหรูในหมู่ชาวเกาหลีรุ่นใหม่ลดลง เพราะมองว่าการได้ขับรถยุโรปราคาแพงนั้น เป็นเครื่องมือบ่งบอกถึงภาพลักษณ์ของตัวเองว่าเป็นคนร่ำรวย
โฆษกของ BMW Korea Cho Doo-hyun กล่าวว่า หากลูกค้าที่ซื้อรถภายใต้แคมเปญแล้วไม่สามารถชําระเงินเต็มจำนวนได้ รถจะถูกยึดไปจากพวกเขา และพวกเขาจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการใช้รถ
เช่นเดียวกับ Mercedes-Benz Korea (MBK) ได้ทำการวิเคราะห์แหล่งข้อมูลประมาณ 21,000 ล้านแหล่งที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์รุ่น E-Class จากบล็อก Instagram และแพลตฟอร์มโซเชียลอื่นๆ ระหว่างเดือนมกราคม 2016 - มิถุนายน 2019
2
ผลการศึกษาระบุคําหลักเจ็ดคํา: ผู้มีรายได้สูง, คู่สมรสที่มีรายได้สองราย, การออกแบบตกแต่งภายใน, ความสำเร็จ, Car Poor, โอกาสพิเศษ, ความคุ้มค่าและแบรนด์
1
MBK อธิบายว่า 'คู่รักที่มีรายได้สูง, คู่สมรส' และ 'การออกแบบตกแต่งภายใน' เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ชาวเน็ตพูดถึงมากที่สุดเมื่อพูดถึง E-Class
คําหลักจะเห็นได้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงล่าสุดในการรับรู้เกี่ยวกับรถยนต์ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแค่การใช้เพื่อขับขี่เท่านั้น แต่เป็นการใช้เพื่ออวดสถานะของตัวเองลงบนโซเชียลมีเดีย เช่น การถ่ายภาพเซลฟี่ และการ Live บน Instagram
ส่วน Car Poor ถูกตีความว่าเป็นการลงทุนเพื่อความพึงพอใจเพียงอย่างเดียวโดยไม่พิจารณาราคาหรือเงื่อนไขอื่นๆ นอกจากนี้ยังหมายถึงความชอบสำหรับรุ่นเรือธงตัวท็อปเมื่อซื้อรถอีกด้วย
ในสังคมเกาหลีใต้ เรื่องของภาพลักษณ์นั้นเป็นสิ่งที่หลายคนแคร์ และการมีภาพลักษณ์ที่ดีโดยเฉพาะรถยนต์หรูจากต่างประเทศ ถือว่าเป็นสิ่งชาวเกาหลีใฝ่ฝัน เพราะนั่นเท่ากับว่าคนๆ นั้นจะถูกมองด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป จะกลายเป็นที่ยอมรับ ชื่นชม ซึ่งการมีรถหรูก็เหมือนเป็นหน้าเป็นตาของตัวเอง ฉะนั้นจึงอย่าแปลกใจว่าทำไมท้องถนนในกรุงโซลจึงเต็มไปด้วย BMW หรือตามหอพักเล็กๆ กลับมีรถหรูจอดอยู่
1
ปัญหาที่ตามมาคือ การที่กลุ่มคนเหล่านี้ขับรถหรูราคาแพงจากยุโรป แต่ประสบปัญหาทางการเงิน ผ่อนไม่ไหวบ้าง รถโดนยึดบ้าง หรือแม้แต่เงินที่จะเติมน้ำมันก็ยังไม่มี เพราะยังไม่มีความมั่นคงทางการเงิน ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว อัตราการว่างงานสูง รายได้ไม่เพิ่ม และค่าครองชีพที่มากกว่ารายได้ การมีรถแบบไม่เจียมเพียงเพราะอยากโชว์ว่ารวยนั้น กำลังสร้างปัญหาอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งไม่ใช่แค่ในเกาหลีใต้ แต่เกิดขึ้นกับหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งไทยด้วย
2
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Line : @reporterjourney
โฆษณา