9 พ.ค. 2022 เวลา 13:57 • ความคิดเห็น
ถ้าเอาคนต่างอาชีพมานั่งดูหนังเรื่องเดียวกัน
คุณคิดว่ามุมมองต่อหนังจะเหมือนหรือต่างกันยังไง?
มีคนเคยพูดว่า
ถ้าให้คนต่างอาชีพมานั่งดูหนังด้วยกัน มุมมองที่ได้จากหนังก็จะต่างกัน
ใครก็ไม่รู้จำไม่ได้ น่าจะฟังจาก podcast ซึ่งก็จำไม่ได้เหมือนเดิม
ประโยคนี้ทำให้เราย้อนกลับมาถามตัวเอง แล้วเราดูหนังแล้วได้อะไรว่ะ?
เราเลยมองไปที่คนข้างๆที่ชอบดูหนังเหมือนกันก่อน
นั้นก็คือ "พ่อ" เรียกได้ว่าเป็นนักดูหนังตัวยง
ไม่ได้ดูแค่ Hollywood Bollywood นะจ้ะ
ประเทศเพื่อนบ้านก็กวาดเรียบ มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ลาว
ถ้าไกลไปอีก ก็ จีน โปรตุเกส เยอรมัน เรียกได้ว่ามีกี่ประเทศก็จะดูให้หมด
-> พ่อดูแล้วได้อะไร?
ก่อนจะบอกว่าได้อะไร เราต้องกลับไปที่ตัวแปรต้นของเรากันก่อน
->พ่อทำอาชีพอะไร?
อาชีพของพ่อเราก็คือ "สถาปนิก"
หรือพูดให้มันง่ายๆก็คน "ออกแบบบ้าน" เนี้ยหล่ะ
คราวนี้ทุกคนลองคิดดูว่า อาชีพ ออกแบบบ้าน เขาดูอะไรที่มันอยู่ในหนังกัน
ถ้ามี scene 1 scene ผ่านเขามาในสายตา
อะไรเป็นสิ่งแรกๆที่จะสะดุดสายตาของพวกเขา
ขอพูดแบบเหมารวม(stereotype)เลยละกัน
คนหนึ่งคนที่ใช้ประสบการณ์ส่วนใหญ่ในชีวิต
ไปกับการมุ่งมั่นพัฒนางานออกแบบของตัวเอง
วันๆมองแต่แบบแปลน โครงสร้าง อาคาร และ สถาปัตยกรรม
แน่นอน สถาปัตยกรรม!!!!
พ่อเราดูสถาปัตยกรรมแต่ละประเทศ ผ่านหนัง
หนังจากนานานับประเทศ โดยไม่ต้องเดินทางไปประเทศนั้นๆ
เรียกได้ว่า เสพบรรยากาศผ่านจอแก้ว
พอพ่อดูก็จะบอกเราว่า มองสถาปัตยกรรมของที่นี่สิ
เขาวางแปลนแบบนี้ ทำไมเขาสร้างแบบนั้น
ทำไมบางประเทศถึงไม่สร้างรั้วกั้นบ้าน ทำไมประเทศไทยต้องสร้างรั้ว
ดูประเทศนี้สิ เขาใช้สีสันแบบนี้ เอาเป็นว่า key message หลักๆ
คือ Uniquness ของแต่ละประเทศที่แตกต่าง และมีเอกลักษณ์ของตัวเอง
เราจะไม่ขอแตะเรื่องวัฒนธรรม soft power หรืออะไรก็ต่างใน Ep นี้
เราจะเล่าแค่ความคิดของคนนั้นๆพอ
สรุป "พ่อเราเป็นสถาปัต ชอบดูสถาปัตยกรรม ผ่านหนัง"
งั้นย้อนกลับมาที่เรา
-> เราเป็นใคร? ทำอาชีพอะไร? เราดูหนังแล้วได้อะไร?
เราเรียนบริหารธุรกิจ
คำถามคือ แล้วเราต้อง focus ธุรกิจในหนังทุกเรื่องเหรอว่ะ? 555
->แล้วมันเป็นแบบนั้นมั้ย?
มันก็อาจจะเป็นนะ เช่น เราดูแล้วเห็น logo สินค้าในหนัง เห้ยย Marketinggg
อย่าว่าแต่ในหนังเลย ในคลิปร้อง cover ต่างๆ ที่แฝง logo มาในรูปแบบแปลกๆ
ก็แบบ marketingggg
แต่เราอยากจะบอก เราไม่ได้ focus ที่ธุรกิจเลยนะเวลาดูหนัง
ดูมันก็แค่ดูป่ะ มันอยากดู ส่วนดูแล้วได้อะไรอันนี้จะมา discuss กัน
หรือให้อีก blog เราเป็นตัวอธิบายก็ได้ว่าเราดูหนังแล้วได้อะไร
เราขอแยก timeline ของชีวิตตามช่วงวัยเพื่อสำรวจตัวเอง
โดยใช้ การตระหนักรู้ Value ของตัวเองเป็นเกณฑ์
  • 1.
    ช่วง 0-20(ไม่รู้จัก Value ไม่ตัวเอง)
  • 2.
    ช่วง 20 ปี เป็นต้นไป(รู้จัก Value ในตัวเอง)+ ดูซีรี่ย์เรื่อง Dark + ได้เรียนในสิ่งที่ชอบ เรียนแล้วรู้ว่าจะเอาไปทำอะไร + เจออาจารย์ที่โคตร respect
มา เริ่ม!!!
ช่วงที่ 1 : ไม่รู้จัก Value ในตัวเอง
ถ้าเป็นตอนเด็กก็ความบันเทิง ดูแล้วสนุก น่าติดตาม ตื่นเต้น
ลุ้น อยากรู้อยากเห็น ฟิน (อารมณ์ล้วนๆ)
-> ถ้าถามว่าได้อะไร??
คำตอบคือ ความสนุกล้วนๆ
ช่วงที่ 2 : รู้จัก Value ในตัวเอง
เรื่องที่เราจำฝังใจที่สุด เอาเป็นว่าชื่นชอบที่สุด
The best of The best of The best
ของเราก็คือซีรี่ย์ Dark จาก Netflix
ทำให้เราอยากเขียน Blog วิเคราะห์หนัง
จนเกิดเป็น 1NO1 ขึ้นมา
-> Dark สำหรับเรา The best ยังไง???
เราสงสัยมาตลอดว่า "เรียนไปทำไม"
เรียนไปก็ไม่ได้ใช้ แต่ปีที่เราดูหนังเรื่องนี้(ซึ่งเปิดโดยพ่อของเรา)
เป็นปีที่เราตอบคำถามของตัวเอง ที่ตั้งมา 10 กว่าปีได้ว่า
"เราเรียนไปเพื่อใช้"
แล้วอะไรคือ "เรียนไปเพื่อใช้??"
สำหรับเราแล้ว เรียนไปเพื่อใช้ คือ การเรียนไปเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่เป็นเรา
เราไม่มีทางรู้หรอกว่าชีวิตไหนว่ะที่เป็นเรา ถ้าเราไม่เคยเรียนรู้การเป็นตัวเอง
ดังนั้นเราจะเรียนรู้อะไรก็ตาม ที่ทำให้เป็นตัวเราที่มีความสุขได้
และทุกเรื่องที่เราได้เรียนรู้ มันคือ ความสุข
มีคำพูดของอาจารย์ที่เราชอบมากๆ คือ
"ผมสอนวิธีคิด ไม่ได้สอนวิธีจำ"
วันหนึ่งคุณอาจจะลืมชื่อของผม เพราะมันเป็นข้อมูล
แต่คุณไม่มีวันลืม "วิธีคิด" อย่างแน่นอน
อาจารย์ที่เราไม่มีวันลืมชื่ออย่างแน่นอน respect
-> Dark กับการรู้ว่าเรียนไปทำไมมันเกี่ยวกันยังไง?
Dark เป็นซีรี่ย์ที่เล่าเรื่องการเดินทางข้ามเวลาของเด็กวัยรุ่นชายคนหนึ่ง
โดย Dark ได้ยกทฤษฎีสัมพันธภาพ ของ ไอสไตน์ ขึ้นมาเป็นธีมหลัก
"ความแตกต่างระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นเพียงสิ่งลวงตาที่คงอยู่"
เราเชื่อว่าเวลาเดินเป็นเส้นตรง ว่ามันดำเนินไปในรูปแบบเดียวกันชั่วนิรันดร์
ไปสู่ความไม่สิ้นสุด แต่ความแตกต่างระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
มิใช่สิ่งอื่นใด แต่เป็นภาพลวงตา
เมื่อวาน วันนี้ และพรุ่งนี้ มิได้ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ
พวกมันเชื่อมโยงกันในวงกลมอันไม่สิ้นสุด ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกัน
มาพูดภาษาชาวบ้านกันดีกว่า เอาเป็นว่า อดีต ปัจจุบัน อนาคต ไม่มีอยู่จริง
ทุกมิติของเวลามันเกิดขึ้นพร้อมๆกัน เช่น เราในวันนี้ เราในพรุ่งนี้
และ เราในเมื่อวาน เกิดขึ้นขนานกัน เหมือนขนมชั้นแค่ต่างสี
และมันก็เกิดวนเป็นวงกลมไม่มีที่สิ้นสุด
เปิดเรื่องมาก็ ว้าววว แล้ว
คำถามเยอะมาก
->แล้วมิติเวลามันเป็นยังงั้นได้ยังไง?
->ถ้าเป็นแบบนั้นแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น?
แต่สิ่งที่เรา ว้าวว สุด เรื่องนี้ไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์
แต่มีปรัชญา มีศาสนา เข้ามาเกี่ยวข้อง เห้ยย เขียนได้ไงโคตรเก่ง
-> คุณต้องอ่านหนังสือกี่เล่ม?
-> ใช้คนมีองค์ความรู้จากกี่ศาสตร์?
ถึงเกิดเป็นซีรี่ย์เรื่องนี้ออกมา แม้แต่ชื่อตัวละคร
(ยังอ้างอิงกับบุคคลในศาสตร์ต่างๆ) เหมือนอย่างที่หนังบอก
ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกัน
-> เราได้อะไรจากการดูหนังเรื่องนี้รู้มั้ย??
เรื่องนี้เปิดกะลาสมองของเรามาก ไอเดียเรามันพลุ่งพล่าน
ยิ่งตอนที่พระเอกเดินทางข้ามเวลานะ มันยิ่งทำให้เราเกิดไอเดีย
+ ตอนนั้น พวกร้านออนไลน์กำลังเติบโต shopee มาแรงมาก
แล้วเราก็เป็น 1 ในคนที่สั่ง shopee
-> shopee มาเกี่ยวอะไร??
คิดดูเราสั่งของใน shopee หลายวันมากกว่าจะมาถึง
มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเราสั่งวันนี้ ตอนนี้ แล้วได้เลย
ลองคิดดูดิ แต่ถ้าข้ามเวลายังหลุดไปอีกช่วงเวลาหนึ่งได้เลย
ทำไมการที่เราส่งของข้ามมิติเวลาจะทำไม่ได้ ถ้าอดีต อนาคต ปัจจุบัน
มันเกิดขึ้นพร้อมกันเหมือนที่ ไอสไตน์บอกจริงๆ
ไอเดียเรา คือ อยากทำ teleport
-> เพ้อเจ้อป่ะ?? 555
มันดูเพ้อเจ้อนะ สำหรับคนอื่น เพราะเขาไม่ได้คิดเหมือนเราไง
เขาจะเข้าใจมุมมองเราได้ไง
แต่การเรียนใน class อาจารย์เคยบอกว่า ให้คิดที่ function
ไม่ใช่ final product เช่น เราอยากทำ teleport เราพูดว่า teleport
แต่เราไม่จำเป็นต้องสร้าง teleport ขึ้นมาจริงๆ
เราจะสร้างอะไรก็ได้ที่สามารถ เชื่อมโยงโลก Digital กับ Physical
ได้อย่างไร้รอยต่อ และนี่คือ function ของ teleport
teleport ของเราคือการเอาของที่อยู่บนโลก digital
มาสู่ user หรือ customer ได้ทันที
-> แล้วอะไรที่ทำแบบนั้นได้?
-> อะไรที่สามารถเชื่อมโลก digital และ physical ได้อย่างไร้รอต่อ(seamless)
เรายังคิดไม่ออกหรอกตอนนั้น
แต่เราพอจะรู้จัก Horizon (Project ของ Facebook)
ปีนั้น ปี 2018 facebook ยังไม่เปิดตัว Horizon
เพราะ facebook ได้ซื้อ Oculus เพื่อใช้พัฒนา Project นี้
และนี่ก็เป็นหนึ่งผลลัพธ์ที่ยืนยันว่า "Teleport" เป็นไปได้จริง
มีอีก Project ชื่อว่า Six Sense Technology
ที่เราเคยเขียนใน 1NO1
content ชื่อ อะไรมาก่อน จินตนาการจากหนัง หรือ เทคโนโลยี
ซึ่ง Project นี้เรารู้จักตอนเรียนวิชา อังกฤษ
อาจารย์ให้หัวข้อเพื่อไป present งานหน้าห้อง
แล้วเราได้ Six Sense Technology
ตอนเราได้ยินครั้งแรก นึกว่าเครื่องตรวจผี
แต่ไม่ใช่เลย มันเจ๋งกว่านั้นมาก
technology นี้สามารถเชื่อมโลกได้อย่างไร้รอยต่อจริงๆ
แล้วถูกประดิษฐ์ขึ้นมาก่อนเราเกิดอีก
ถ้าอยากรู้ว่าคือ อะไรก็ไปอ่านเต็มๆได้ที่ blog 1NO1 ของเราเลย
โอเค เรามาสรุปกันดีกว่า
ว่า เราที่เรียนบริหารได้อะไรจากการดูหนัง?
สำหรับเรามันคือการ explore perspective ที่มันกว้างขึ้น
มันคือการสร้างแรงบันดาลใจ มันคือการเรียนรู้การสร้างทรัพยากรบุคคล
ของประเทศนั้นๆ ว่าอยากให้ประเทศคุณเป็นแบบไหน
คุณก็จงสร้างสื่อแบบนั้น
เพราะทุกครั้งที่เราดูต่างประเทศ
มันก็อดไม่ได้ที่จะกลับมาตั้งคำถามกับหนังประเทศไทย
ว่าสื่อไทย สื่ออะไร
คุณทำหนังแบบนี้ออกมา คุณอยากให้ประเทศเป็นแบบไหนเหรอ
เพราะประเทศอื่นมีวิทยาศาสตร์มาอธิบายในหนัง
ดูแล้วตั้งคำถาม ดูแล้วสงสัย แต่............
ทำไมเราดูหนังไทยไม่เคยสงสัยอะไร
ที่ทำให้เกิดการพัฒนาทางปัญญาเลย?
ดังนั้น เราคิดว่าการที่คนหนึ่งคนดูหนังหนึ่งเรื่อง
แล้วได้อะไร?
มันไม่ได้เกิดจากเขาทำอาชีพอะไรเพียงอย่างเดียว
แต่มันเกิดจากคุณมีประสบการณ์ชีวิตอะไรมาบ้าง
และคุณเคยตั้งคำถามกับอะไรมาก่อน มากกว่า
ถ้าเราไม่เคยตั้งคำถามกับอะไรเลย
เราก็คงไม่เคยมีคำตอบอะไรเป็นของตัวเองเลย
Mind Thought Journey
ทำเพื่อบันทึกประวัติศาสตร์การเดินทางความคิดของตัวเองเท่านั้น
ถ้ามีประโยชน์กับคนอื่น ก็ยินดีมากๆเลย
โฆษณา