Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mahidol University
•
ติดตาม
25 พ.ค. 2022 เวลา 04:45 • สิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนผ่านเมืองยั่งยืนในบริบทสังคมไทย: Transformative Towards Sustainable City in Thai Context
กว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา พัฒนาเมืองจะอยู่ภายใต้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ในบริบทสากล ซึ่งเกิดขึ้นจากความตระหนักถึงผลกระทบจากแรงขับการพัฒนาภายใต้พลวัตและการเปลี่ยนแปลงระบบแวดล้อมทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี ค่านิยม อันก่อให้เกิดการความเสี่ยงกับความมั่นคงระบบนิเวศ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต่อการดำรงชีพที่ยั่งยืน
ในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมาการบริหารการเปลี่ยนผ่านของสังคมไทยเองได้มีแนวทางการพัฒนาเมืองภายใต้แผนปฏิบัติการ ๒๑ (LA 21) ที่เห็นความสำคัญและเรียกร้องให้สังคมได้มีการบริหารจัดการเมืองอย่างองค์รวม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
ที่ครอบคลุมผ่าน 3 เสาหลัก คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic growth) ความเท่าเทียมทางสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยมาตรการ และการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ในลักษณะกระบวนการร่วมสร้าง “ระเบียบแบบแผนการเรียนรู้ร่วมระหว่างสังคม”
ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาในศตวรรษที่ 21 ก่อให้เกิดการบริโภคพลังงาน การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง บทบาท หน้าที่ของเมือง (city functions) และรูปแบบการบริการของทุนนิเวศ (Ecological services) และทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเติบโตด้านเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนของคนในสังคม
สังคมไทยเองได้ตระหนักถึง การส่งเสริมการพัฒนาเมืองยั่งยืนภายใต้แนวคิด “วาระการพัฒนาเมืองใหม่ (New Urban Agenda: NUA)” กับการสอดประสานการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทสากล โดยได้เน้นถึงการศึกษาวิจัย ถอดบทเรียน “การพัฒนาตัวแบบเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนผ่านเมืองยั่งยืน (City Sustainable Transformative Learning Module)” โดยเห็นว่า การพัฒนาเมืองปรียบเสมือนห้องทดลอง เพื่อการพัฒนาชุดความคิด
การส่งผ่านผลการเรียนรู้สู่การพัฒนาเชิงประจักษ์ ซึ่งในภาพรวมจะพบว่า มีองค์ประกอบสำคัญเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Turning point) เมืองที่ประกอบด้วย 1) การค้นหาโจทย์ เป้าหมาย ขอบเขต วาระการพัฒนาเมือง ในมิติต่าง ๆ อาทิ เมืองคาร์บอนต่ำ เมืองสีเขียว เมืองนิเวศ ชุมชนเมืองยุคใหม่ ลัทธิความเป็นเมืองชีวภาพ เมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมเฉพาะด้าน หรือ เมืองอัจฉริยะ เป็นต้น
2) การพัฒนา “กระบวนการร่วมสร้างเรียนรู้ทางสังคม (Social Knowledge Co-creation) จากผู้มีส่วนได้เสียการพัฒนาเมือง กับความสัมพันธ์เป้าหมายการพัฒนาระดับของประเทศ จังหวัด และท้องถิ่น เพื่อให้เป็นแนวทางการพัฒนามิติของเมืองที่คาดหวังกับความสอดประสานมิติการพัฒนาเมือง
และองค์ประกอบเชิงทุนของพื้นที่ และเชิงทุน อาทิ ทุนระบบนิเวศ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน ทุนทางเทคโนโลยี และทุนทางกายภาพ ที่เอื้อต่อการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของเมือง บทบาท หน้าที่ และการบริการของเมือง
และ 3) การกำหนดภาพฉายอนาคต เพื่อนำไปกำหนดทางเลือกเชิงยุทธ์ รวมทั้งการพัฒนา เครื่องมือ และกลไก เพื่อให้เกิดความครอบคลุมประสิทธิผลและประสิทธิภาพของทางเลือกการพัฒนาเมืองตลอดจนเกณฑ์ชี้วัด และปัจจัยสำเร็จการบริหารเชิงประจักษ์ของเมือง ภายใต้พลวัต และการเปลี่ยนแปลงระบบแวดล้อมทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี
อ.ดร.หะริน สัจเดย์ อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ทั้งนี้ การพัฒนาพัฒนาตัวแบบการเรียนรู้ดังกล่าว ไม่ได้หมายถึงกระบวนการที่ต้องยึดติดกับขึ้นตอนที่กล่าวมา โดยอาจเป็นการดำเนินการกิจกรรมการพัฒนาในลักษณะ “วงล้อแห่งการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ” ที่ควรตระหนักว่า การเปลี่ยนผ่านดังกล่าว ได้เติมเต็มประเด็นช่วงว่างทางความคิด หรือทิศทางการพัฒนาในลักษณะใด
และควรปรับฐานคิดการพัฒนา (Re-profiling) เพื่อนำไปสู่การถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติ ที่สอดคล้องเป้าหมายเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณการพัฒนา ทั้งต้องสอดคล้องกับศักยภาพของผู้ร่วมพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ
ตลอดจนควรได้พิจารณาถึงความครอบคลุม ด้านความไม่แน่นอน หรือปัจจัยเสี่ยง ของเมืองว่าจะเผชิญกับอะไรบ้าง เช่น การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันภายใต้เงื่อนไขใหม่ของสังคม (อาทิ การอุบัติของโรคเกิดใหม่ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน)
การตระหนักถึงผู้มีบทบาทหลักการพัฒนาเมือง ในสองลักษณะ คือ องค์กรรัฐ ภาคประชาสังคมที่เอื้อให้เกิดการพัฒนา (Development Enablers) เชิงนโยบาย ข้อกฎหมาย ความร่วมมือระหว่างองค์กรรัฐ และภาคประชาสังคม และอีกตัวแสดงคือ ผู้ที่เอื้อให้เกิดการปฏิบัติ (Operational Enablers)
ขณะที่เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ควรได้ตระหนักว่า การพัฒนาเมืองควรมีความ “สมดุล” กับองค์ประกอบคุณค่าเชิงพื้นที่ พื้นฐานของเมืองที่สำคัญ อาทิ เมืองเกษตร เมืองชายฝั่ง เมืองเมืองลักษณะที่มีความเชื่อมต่อ (corridor) กับหน่วยย่อยของเมืองอื่น ๆ แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์กับการชดเชย ตอบแทนคุณทางนิเวศ การเติมเต็มเรื่องนวัตกรรมการจัดการ และทิศทางการสร้างพลังความร่วมมือการขับเคลื่อนทางสังคม
การเพิ่มคุณค่าด้านภูมิ-นิเวศ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่สามารถเชื่อมต่อการพัฒนาในมิติอื่น ๆ ของสังคม ทั้งการศึกษาวิจัยเชิงลึก การนำเครืองมือเชิงประยุกต์เพื่อการเรียนรู้ ทางวิทยาศาสตร์ หรือ สังคม อาทิ การวิเคราะห์เชิงระบบ การวิเคราะห์ภาพฉายอนาคต การกำหนดกรอบแผนพัฒนาเมืองกับความสัมพันธ์ BCG Model แผนพัฒนายุทธ์ Canvas Model เป็นต้น
ขณะที่ ตัวแบบการเรียนรู้ ที่สำคัญ สุดท้ายคือ การพัฒนา และส่งผ่านเป็นนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนผ่านการพัฒนาเมือง พร้อมทั้งการกำหนดแผน การประเมินผลสัมฤทธิ์ และความสำเร็จ เพื่อนำสู่เครือข่าย องค์กร ชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่
ที่ผ่านมา สังคมไทยเองประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยอาจกล่าวได้ว่าเป็น “เมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้” เพื่อการเปลี่ยนผ่านเมืองยั่งยืนในมิติต่าง ๆ ของสังคมไทย อาทิ จังหวัดนนทบุรี ด้วยการพัฒนาภาพอนาคตวิถีชีวิตสู่เมืองคาร์บอนต่ำ บนพื้นฐานการบริโภคและการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ภาพฉายอนาคตและตัวแบบกระบวนการร่วมสร้างการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทางเลือกยุทธศาสตร์คาร์บอนต่ำ และแผนการบริการจัดการเมืองที่ยั่งยืน จังหวัดตราด การยกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
จังหวัดนนทุบรี (อำเภอบางใหญ่) ที่เน้นถึงการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมกลไกการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน และการกระจายรายได้กลับสู่ชุมชน จังหวัดพะเยา ที่เน้นถึงการพัฒนากลไกการพัฒนาพื้นที่ กับความสัมพันธ์ ความเข้มแข็งด้านวิสาหกิจชุมชนและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน การพัฒนาเมืองน่าอยู่ของสังคมไทย ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร ได้รับการจัดอันดับ 1 ด้านการเป็นเมืองน่าเที่ยวที่สุด ในเอเชียแปซิฟิก (Best City: DestinAsian; Readers' Choice Awards 2022) ที่กล่าวได้ว่า กรุงเทพ ได้เรียนรู้ พัฒนาด้วยการนำมนต์เสน่ห์วิถีแห่งเมือง ประกอบกับความโดดเด่นทุนทางสังคม และวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์ การยกระดับการท่องเที่ยว ทั้งยังเสริมสร้างเศรษฐกิจของเมืองกับความสมดุลที่สามารถรักษาฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างลงตัว
ข้อมูล: งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี ม.มหิดล
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย