11 พ.ค. 2022 เวลา 05:39 • การศึกษา
หน้าที่ของผู้รับสินค้า (Consignee) ตอนที่ 2
มาดูกันต่อครับว่า หลังจากผู้รับสินค้า (Consignee) รับสินค้าไปแล้ว ต้องไปทำอะไรต่อ
การที่ผู้รับสินค้า (Consignee) จะนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือในประเทศไทยนั้น ไม่สามารถทำได้เลยทันที จะต้องผ่านกระบวนการทางด้านกฎหมายหรือระเบียบของกรมศุลกากร ดังนั้น ผู้รับสินค้า (Consignee) จะต้องนำเอกสาร และหลักฐานต่างๆ ไปดำเนินการตามกระบวนและขั้นตอนการนำเข้าสินค้าของศุลกากร ซึ่งเรียก “พิธีการศุลกากรขาเข้า”
ผู้รับสินค้า (Consignee) เป็นผู้มีหน้าที่ในการที่จะต้องดำเนินการพิธีการศุลกากรขาเข้า เพื่อชำระค่าภาษีให้ถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าสินสินค้า
ปุจฉา…ถ้าผู้รับสินค้า (Consignee) ไม่ทำเองได้มั้ย...
วิสัชนา ..ได้.. ไม่ว่าจะเกิดจากความจำเป็นหรือเหตุอื่นๆ ผู้รับสินค้า (Consignee) สามารถมอบหมายให้ตัวแทนสามารถดำเนินการได้... จนเกิดมีธุรกิจต่อเนื่อง...ตัวแทนดำเนินการพิธีการศุลกากรหรือตัวแทนออกของขึ้นมา
ภาษีนำเข้าสินค้า ที่ผู้รับสินค้า (Consignee) จะต้องจ่ายมีตั้ง 4 ประเภทเลยนะ
1) ภาษีศุลกากร เรียกว่า “อากร” จ่ายในอัตราที่ศุลกากรกำหนดไว้ของสินค้าแต่ละประเภท (ปัจจุบันสามารถหาดูได้จาก website หรือ Application ของกรมศุลกากร
2) ภาษีสรรพสามิต (สินค้าบางประเภท) ซึ่งกรมศุลกากรเก็บแทนกรมสรรพสามิต
 
3) ภาษีเพื่อกระทรวงมหาไทย (สินค้าบางประเภท) ที่กรมศุลกากรเก็บแทนกระทรวงมหาดไทย เพื่อส่งให้กับกรมปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และ
 
4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax–VAT) เหมือนกับการซื้อขายสินค้าทั่วไป
โปรดติดตามตอนต่อไป..
หน้าที่ของผู้รับสินค้า (Consignee) ตอนที่ 2
บทความที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่ของผู้รับสินค้า (Consignee) ตอนที่ 1
ติดตามความรู้ ข่าวสาร และกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่
เพจ การขนส่งสินค้าทางอากาศ
โฆษณา