11 พ.ค. 2022 เวลา 08:39 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ชวนทดสอบความรู้คำศัพท์พื้นฐานด้าน Big Data ใน Big Data Vocabulary Level 1 ที่เราคัดมาให้แล้วว่าเป็นคำศัพท์จำเป็นที่มือใหม่สาย Big Data ต้องรู้! เพื่อน ๆ ตอบได้กี่คำกันบ้าง มาแชร์กันเลย!
Business Intelligence (BI) เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลในรูปแบบของ Dashboard หรือ Visualization เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ ตั้งแต่การบริหารจัดการ การวางแผน การคาดการณ์ จนถึงการตัดสินใจ โดยสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลได้จากหลากหลาย Data source เช่น Database, CSV, Relational database หรือ Big data เป็นต้น
ซึ่งในปัจจุบัน BI Tools ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น AI และ ML รวมถึงมีการพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่รองรับความต้องการของธุรกิจได้มากขึ้นอีกด้วย
Data Science หรือวิทยาศาสตร์ข้อมูล คือการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูง เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าจากข้อมูลดิบจำนวนมหาศาลไปใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการเก็บข้อมูล จัดเตรียมข้อมูล วิเคราะห์และสังเคราห์ข้อมูล และนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งใช้ทักษะการทำงานร่วมกันตั้งแต่การเขียนโปรแกรม, คณิตศาสตร์, สถิติ, Visualization และอัลกอริธึมของ Machine learning
อย่างไรก็ตาม Data science เป็นสิ่งที่ Data scientist จะนำไปใช้งานและยังประกอบไปด้วยการทำงานของหลายทีม ไม่ว่าจะเป็น Data engineer และ Data analyst ซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการทำ Data science จะช่วยเปลี่ยนข้อมูลมหาศาลให้กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร รวมถึงช่วยให้ค้นพบโอกาสใหม่ ๆ ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล
Data Analytics การนำข้อมูลที่มีอยู่มาเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ รวมทั้งยังสามารถทำนายแนวโน้มและอนาคตของธุรกิจได้อีกด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยปรับปรุงการทำงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ แผนกลยุทธ์ การตัดสินใจ แคมเปญหรือการบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น
ซึ่งจะต้องอาศัยเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์เฉพาะด้านที่เข้ามาช่วยให้การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างแม่นยำและนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับองค์กรทุกขนาดและทุกอุตสาหกรรม
Cloud Computing การให้บริการทรัพยากรด้าน IT หรือการเช่า Server บน Cloud ที่ครอบคลุมการให้บริการตั้งแต่หน่วยจัดเก็บข้อมูล พลังในการประมวลผลข้อมูล รวมถึง Database ที่ผู้ใช้บริการสามารถปรับ เพิ่ม หรือลดการใช้ทรัพยากรได้อย่างอิสระ โดยคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง
ซึ่ง Cloud computing เป็นบริการที่เข้ามาช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้งและดูระบบ ลดการลงทุนในด้าน IT infrastructure รวมทั้งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงความหลากหลายของเทคโนโลยีได้รวดเร็วและง่ายขึ้นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Visualization การนำข้อมูลเชิงลึกจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์และแสดงผลออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ กราฟ ตาราง อินโฟกราฟิก หรือแดชบอร์ด เป็นต้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจข้อมูลได้อย่างง่ายดาย
ทั้งในแง่ของความสัมพันธ์ของข้อมูล จุดสำคัญของข้อมูลที่ต้องการจะสื่อถึง รวมถึงข้อเปรียบเทียบระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ซึ่ง Visualization ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยเปลี่ยนข้อมูลมหาศาลที่ซับซ้อนให้กลายเป็นภาพที่ชัดเจน ช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างและรวดเร็วขึ้น
Dashboard เครื่องมือในการบริหารจัดการข้อมูลที่มีไว้เพื่อตรวจสอบ ติดตาม วิเคราะห์ และวัดผลข้อมูล แล้วนำเสนอในรูปแบบ Visualization และรวม Visualization ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้ในหน้าจอเดียว ซึ่งเป็นจุดเด่นของ Dashboard เนื่องจากช่วยให้สามารถเห็นภาพรวมของข้อมูลในหลาย ๆ วัตถุประสงค์และเห็นตัวชี้วัด (KPIs) หลายตัวพร้อมกันได้ในหน้าเดียว
นิยมใช้นำเสนอข้อมูลแบบ Real-time โดยในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ที่เข้ามาช่วยให้การทำ Dashboard นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบอัพเดทข้อมูลอัตโนมัติ, Interactive dashboard หรือสามารถทำการ Drill down เพื่อค้นหารายละเอียดข้อมูลที่ต้องการ เป็นต้น
Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ คือเครื่องจักร (Machine) ที่ถูกออกแบบมาให้มีระบบการทำงานเหมือนสมองมนุษย์ โดยมีฟังก์ชันที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้และจดจำข้อมูล รูปภาพ ภาษา สามารถทำการวิเคราะห์ ประมวลผล คาดการณ์และตอบสนองได้
โดยในปัจจุบัน AI ถือเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวทุกคนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ไอที หรือเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มักมี AI เป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังที่ช่วยยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพทั้งสิ้น
Machine Learning (ML) อัลกอริธึมที่เกิดจากการประยุกต์ใช้สถิติขั้นสูงที่ช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำการเรียนรู้ผ่านข้อมูลที่ป้อนให้ และสามารถระบุรูปแบบของข้อมูล รวมถึงคาดการณ์รูปแบบจากข้อมูลได้ โดยแบ่งเป็นการนำข้อมูลมาเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์
เพื่อหารูปแบบของข้อมูลและสร้าง Model พยากรณ์ และการนำ Model ที่ได้มาใช้ตอบคำถาม หรือทำนายผล (Prediction) เช่น การเตรียมชุดการสอน (Teaching set) เกี่ยวกับรูปภาพ เพื่อให้ ML เรียนรู้ว่าภาพลักษณะนี้คือภาพอะไร ซึ่งจะทำให้ ML สามารถแยกแยะและตอบคำถามได้
Internet of things (IoT) การผสานเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับอุปกรณ์ทางกายภาพ เครื่องมือ หรือเครื่องจักร ซึ่งถูกฝังด้วยเซ็นเซอร์ ซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการบันทึกรวบรวมข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้แบบเรียลไทม์ โดยมีจุดประสงค์หลักคือการวิเคราะห์ข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ตั้งแต่ระดับครัวเรือน จนถึงระดับอุตสาหกรรม
เช่น การประยุกต์ใช้ IoT กับ Smart home เพื่อช่วยให้สามารถควบคุมระบบทั้งหมดภายในบ้านได้ผ่านแอพลิเคชัน หรือในภาคอุตสาหกรรมที่วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก IoT เพื่อช่วยคาดการณ์ความผิดปกติของเครื่องจักร ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขเครื่องจักรได้ทันก่อนเกิดผลเสียตามมา
Real-Time Data ชุดข้อมูลที่เกิดขึ้นตามเวลาจริงหรือข้อมูล ณ ปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลการทำธุรกรรมธนาคาร การค้นหาผ่านเว็บเบราเซอร์ ข้อมูลการเข้าใช้แอพลิเคชันหรือเว็บไซต์ ข้อมูลการเข้าใช้คอมพิวเตอร์ของพนักงาน GPS หรือ Location เป็นต้น
ซึ่งในยุคจิทัลนี้ Real-time data นับเป็นข้อมูลที่มีค่าเป็นอย่างมากในวงการธุรกิจจากการแข่งขันที่สูงขึ้น องค์กรจึงพยายามลดความล่าช้าในการใช้ข้อมูลลงให้ได้มากที่สุด ซึ่งการเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time จะช่วยให้สามารถตัดสินใจ แก้ไขปัญหา วางแผน ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ คาดการณ์แนวโน้มต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที
โฆษณา