11 พ.ค. 2022 เวลา 14:09 • สุขภาพ
ไวรัสเดลต้าสูญพันธุ์จากประเทศไทยแล้ว พบเป็นโอมิครอน 100%
1
จากกรณีโควิดระบาดในประเทศไทยเมื่อมกราคม 2563 และมีไวรัสที่เป็นสายพันธุ์หลักในแต่ละระลอกดังนี้
ระลอกที่ 1
ไวรัสสายพันธุ์อู่ฮั่น Clade S
ระลอกที่ 2
ไวรัสสายพันธุ์อู่ฮั่น Clade GH (B.1.36.16)
ระลอกที่ 3
ช่วงแรกเป็นไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่า Clade GRY (B.1.1.7)
และตามด้วยไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
Clade GK (B.1.617.2)
1
ซึ่งเดลต้าได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักของไทยตั้งแต่กลางปี 2564 ก่อให้เกิดการติดเชื้อระลอกที่ 3 อย่างกว้างขวางและรุนแรงมาก มีผู้ติดเชื้อรวม 2.1 ล้านคน และเสียชีวิต 2.1 หมื่นคน
ระลอกที่ 4
ในเดือนธันวาคม 2564 ไทยเริ่มพบไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน Clade GRA (B.1.1.529) และด้วยความที่ไวรัสโอมิครอนแพร่พันธุ์เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า 4-8 เท่า จึงทำให้สัดส่วนของโอมิครอนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับดังนี้
1
4-10 ธันวาคม 1.5%
11-19 ธันวาคม 3.3%
26 ธันวาคม 28.8%
28 ธันวาคม 66.5%
2-8 มกราคม 70.3% เดลต้า 29.7% 3-16 มกราคม 97.1% เดลต้า 2.8%
1
และจากการเก็บข้อมูลล่าสุดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วง 30 เมษายนถึง 6 พฤษภาคม 2565 พบไวรัสเป็นโอมิครอน 100% ไม่มีสายพันธุ์เดลต้าเลย
1
นั่นหมายความว่าไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว เนื่องจากไวรัสโอมิครอนแพร่ได้เร็วมากกว่า จึงออกลูกหลานยึดครองพื้นที่แทนเดลต้าได้ทั้งหมด
ในส่วนโอไมครอน 100% เดิมเป็นสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่ง (BA.1) ต่อมาเมื่อพบสายพันธุ์ย่อยที่สอง (BA.2)ที่มีความสามารถในการแพร่เร็วกว่า BA.1 อยู่ 30-40% ก็ทำให้กลายเป็นสายพันธุ์หลัก ขณะนี้พบมากถึง 97.6%
2
โชคดีที่ทั่วโลก ก็มีไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่สอง (BA.2) เป็นหลักด้วยเช่นกัน
3
ทำให้เราสามารถคลายความกังวลในกรณีนักท่องเที่ยวจะเข้ามาประเทศไทยโดยไม่ตรวจ PCR แต่ฉีดวัคซีนครบ โอกาสที่จะนำไวรัสสายพันธุ์ใหม่อื่นๆเข้ามาจึงเป็นไปได้น้อย
ขณะนี้ในต่างประเทศ พบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 BA.5 และ BA.2.12.1 บ้างประปราย ซึ่งยังไม่พบในคนไทยเลย ยกเว้นพบชาวบราซิลมี BA.5 หนึ่งราย ซึ่งหายดีจนกลับบ้านไปแล้ว
4
กล่าวโดยสรุป
1
1) ไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว
3
2) ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนเป็นสายพันธุ์หลักสายพันธุ์เดียวของไทย พบในผู้ติดเชื้อ 100%
1
3) ไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่สอง (BA.2) พบเป็นสัดส่วนสูงมากถึง 97.6%
1
4) ทั่วโลกพบไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่สอง เป็นสายพันธุ์หลักเช่น
5) โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 BA.5 BA.2.12.1 ยังไม่พบในคนไทย
2
Reference
1
กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา