12 พ.ค. 2022 เวลา 08:57 • ธุรกิจ
ยูเครนปิดท่อส่งก๊าซจากรัสเซียส่งผลกระทบกับยุโรปอย่างไรบ้าง?
เครือข่ายผู้ประกอบการเก๊าซยูเครน (Ukraine’s gas network operator) ได้ดำเนินการปิดท่อส่งก๊าซที่มาจากรัสเซียเพื่อส่งต่อให้ประเทศในยุโรป เป็นท่อที่ผ่านดินแดนของยูเครน เป็นเส้นทางสำคัญในการลำเลียงก๊าซจากรัสเซียมายังยุโรป โดยให้เหตุผลว่ามาจากการบุกรุกเข้าโจมตีจากกองทัพรัสเซีย
การดำเนินการในครั้งนี้ของยูเครนส่งผลกรทบต่อยุโรปแบบเต็มๆ ที่แต่เดิมทำตัวแบบเกลียดตัวแต่กินไข่ กล่าวคือประกาศคว่ำบาตรแต่ยังต้องการซื้อพลังงานจากรัสเซีย มาดูกันว่ายุโรปต้องรับผลกระทบอย่างไรบ้าง
1. เกิดอะไรขึ้น?
ยูเครนประกาศล่าสุดเมื่อวันอังคาร ที่ 10 พฤษภาคม 65 ที่ผ่านมา ว่าจะทำการปิดท่อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียที่เข้าสู่สถานีวัดก๊าซ Sokhranovka เริ่มมีผลตั้งแต่วันพุธ ที่ 11 พฤษภาคม 65 เนื่องจากไม่สามารถควบคุมโครงสร้างพื้นฐานในดินแดนที่ถูกครอบครองโดยกองทหารรัสเซียได้อีกต่อไป มาจากการที่กองกำลังที่ยึดครองได้แทรกแซงกระบวนการทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของระบบขนส่งก๊าซทั้งหมดของประเทศ
2. ส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อความต้องการใช้ก๊าซในยุโรป?
ยูเครนจะทำการส่งก๊าซที่ผ่านสถานี Sokhranovka ไปยังไปยังสถานี Sudzha ชั่วคราวก่อน โดยสถานีนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมโดยรัฐบาลยูเครนแต่มีขนาดเล็กกว่า ผู้ส่งออกก๊าซของรัสเซียได้ระบุว่าเป็นไปไม่ได้ในทางเทคนิคที่จะทำเช่นนั้น
เนื่องจากสถานี Sokhranovka รองรับก๊าซปริมาณหนึ่งในสามของก๊าซจากรัสเซียที่ไหล ปริมาณการใช้งานที่ได้รับการยืนยันของผู้บริโภคชาวยุโรปทั้งหมดอยู่ที่ 95.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ความต้องการก๊าซสูงสุดของยุโรปพุ่งสูงถึง 109.6 ล้านลูกบาศก์เมตรในต้นเดือนมีนาคม 65
1
Source: https://24hoursworlds.com/economy/153687/
3. ส่งผลอย่างไรกับราคาน้ำมัน?
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะนำไปสู่การขึ้นราคาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อมูลจากบริษัท Snam ที่ขนส่งก๊าซไปยังอิตาลี ระบุว่าราคาก๊าซในยุโรปในพุ่งสูงขึ้นทันทีหลังจากที่ยูเครนปิดท่อก๊าซ ราคาพุ่งสูงเกิน 1,100 ดอลลาร์ต่อก๊าซพันลูกบาศก์เมตรเมื่อช่วงวันที่ 11 พฤษภาคม 65 ในขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลของเยอรมนีกล่าวว่า การไหลก๊าซจากกรัสเซียผ่านยูเครนลดลงเกือบ ¼ เมื่อเทียบกับวันที่ 10 พฤษภาคม 65
4. ผลกระทบที่ตามมาจะเป็นอย่างไร?
ปริมาณก๊าซของรัสเซียครอบคลุมความต้องการทั้งหมดประมาณ 40% ของยุโรป สหภาพยุโรปพึ่งพาก๊าซราคาถูกของรัสเซียในการให้ความร้อนแก่บ้าน ทำอาหาร และผลิตกระแสไฟฟ้าใน 27 ประเทศสมาชิก อาจนำไปสู่ปัญหาในโครงข่ายไฟฟ้า ไฟฟ้าดับ และการปิดระบบในอุตสาหกรรม
ราคาก๊าซที่เพิ่มสูงขึ้นยังทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อใน 9 ประเทศในสหภาพยุโรปสูงถึง 10% แล้ว ผู้บริโภคชาวยุโรปจำเป็นต้องหาทางเลือกอื่นอย่างเร่งด่วน
5. ทางเลือกของสหภาพยุโรปคืออะไร?
ประเทศที่นำเข้าก๊าซของชาวยุโรปเรียกร้องให้มีการส่งมอบก๊าซเพิ่มขึ้นจากนอร์เวย์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตก๊าซรายใหญ่อันดับสองของยุโรป ในปี 2564 นอร์เวย์ไดด้จำหน่ายก๊าซเกือบ ¼ ให้กับสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตามแหล่งน้ำมันและก๊าซของนอร์เวย์มีกำลังการผลิตเกือบเต็มแล้ว ในขณะที่เพิ่งให้คำมั่นที่จะเพิ่มการผลิตในช่วงฤดูร้อน แต่ก็ไม่น่าจะชดเชยปริมาณก๊าซที่มาจากรัสเซียได้
Source: World Finance
ทางเลือกอื่นของยุโรปคือการซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากสหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง แต่ต้องแบกรับกับต้นทุนที่สูงกว่าเดิมมาก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าความสามารถในการทำก๊าซให้เป็นของเหลวทั่วโลกนั้นถูกใช้งานเกือบเต็มที่แล้ว นอกจากนี้บางประเทศในสหภาพยุโรปไม่สามารถเข้าถึงการขนส่ง LNG เนื่องจากไม่มีทางออกสู่ทะเล
6. มีทางออกของสถานการณ์หรือไม่?
 
ทางเลือกอื่นในระยะยาวก็อย่างเช่น การรับรองท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ของรัสเซีย ซึ่งส่งไปยังยุโรปผ่านทะเลบอลติก เป็นท่อที่สามารถจ่ายก๊าซได้เกือบสองเท่าของสถานีขนส่ง Sokhranovka
นอกจากนี้ให้รัฐบาลยูเครนเปิดสถานีได้อีกครั้ง แต่ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลยูเครนและรัสเซียจะสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพได้หรือไม่ ทางออกนี้ยังขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปด้วย ดูแล้วไม่น่าเป็นไปได้ ณ เพลานี้
Source: Pipeline Technology Journal
สู้ต่อไปนะทาคาชิ (ยุโรป)
1
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Modernization Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
โฆษณา