16 พ.ค. 2022 เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เพราะแบรนด์หรูไม่ใช่แค่ตัวตน แต่คือการลงทุนที่ใครๆ ก็เริ่มสนใจ
รู้หรือไม่? จากการเก็บข้อมูลโดย Forbes นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 เป็นต้นมา ทั่วโลกนั้นต้องเผชิญกับวิกฤติอัตราเงินเฟ้อ ทั้งสินค้าอุปโภค บริโภค รวมไปถึงสินค้าฟุ่มเฟือยที่เติบโตขึ้นหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็น
  • ต้นทุนค่าอาหาร ที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่า 7%
  • ต้นทุนค่าการผลิตเสื้อผ้าที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึง 14%
ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อการขึ้นราคาสินค้าอุปโภค บริโภค รวมไปถึงสินค้าฟุ่มเฟือย เช่นสินค้าประเภทแฟชั่น หรือของแบรนด์เนมด้วยเช่นกัน
โดยเราเห็นได้ชัดจากการปรับราคาของแบรนด์ลักชัวรีแฟชั่นชื่อดังมากมายในช่วงต้นปี ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งอ้างอิงจากบทสำรวจของ Forbes เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 Louis Vuitton, Hermes, และ Gucci ที่ต่างก็ปรับราคาสินค้าของตัวเองขึ้นมา โดยเฉลี่ย 6-7% จากปัจจัยของต้นทุนการผลิต และการจ่ายค่าแรงที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
แต่หากมองย้อนกลับไปนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 จนถึงปัจจุบัน จากการสำรวจโดย Statista Research Department เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา มูลค่าของสินค้าแบรนด์เนมกลับเติบโตขึ้นในทุก ๆ ปีอย่างไม่หยุดหย่อน โดยพิสูจน์ได้จากรายได้หมุนเวียนในตลาดสินค้าแบรนด์หรูไฮเอนด์ ที่รายได้เติบโตขึ้นมากถึง 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในระยะเวลาแค่ 10 ปี
คำถามสำคัญคือ…ทำไมการที่ราคาสินค้าแบรนด์เนมเพิ่มสูงขึ้นนั้น ไม่ส่งผลต่อ “ความต้องการ” ของผู้คน (Demand) ให้ลดน้อยลงไปเหมือนสินค้าประเภทอื่น ๆ แถมตลาดยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกในอนาคตผ่าน 3 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้
  • ภาพลักษณ์ของสินค้า ที่มีเอกลักษณ์ และสื่อถึงตัวตน หรือสถานะ
แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงจุดเด่นของสินค้าแบรนด์เนม ก็คงหนีไม่พ้นในเรื่องของกระบวนการผลิต ที่มีคุณภาพสูง รวมไปถึงการออกแบบที่ประณีต และมีเอกลักษณ์ จึงทำให้สินค้าแบรนด์เนมในแต่ละยี่ห้อ มีลักษณะเฉพาะตัว และมีราคาที่สูงเป็นพิเศษ
บวกกับเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจในแต่ละแบรนด์ ที่เปรียบเสมือนเป็นการเพิ่มมนตร์ขลังให้กับตัวสินค้ามากขึ้น ทำให้สินค้าแบรนด์เนมเหล่านี้มีทั้งมูลค่า และสามารถสะท้อนรสนิยม ตัวตน และสถานะทางสังคมของผู้ถือครองสินค้าแบรนด์เนมได้ด้วย
1
  • สินค้ามีจำนวนจำกัดมากยิ่งขึ้น
จากการรายงานของสำนักข่าว AP เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2022 ที่ตัวแทนของสหภาพยุโรป (EU) ได้เรียกร้องให้มีกฎข้อบังคับให้มีการใช้เส้นใยรีไซเคิล (Recycled fibers) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอภายในปี ค.ศ. 2030 รวมถึงห้ามทำลายเสื้อผ้าและสินค้าที่ขายไม่ออก
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลาย ๆ แบรนด์ เริ่มปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจในการผลิตสินค้าคอลเลกชันใหม่ ที่หันมาใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ด้วยการลดการผลิตสินค้าล็อตเก่า ๆ ลง
โดยผลสำรวจจาก McKinsey & Company บริษัทสำหรับให้คำปรึกษาด้านการบริหารองค์กร เมื่อช่วงปีค.ศ. 2020 ที่ผ่านมา ที่ได้สำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,000 คนในยุโรป พบว่าส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์หรูที่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
แต่ในทางกลับกัน สินค้าคอลเลกชันเก่าจากแบรนด์หรูบางแบรนด์ อาจยังเป็นที่ต้องการของผู้คนในบางกลุ่มเช่นกัน เนื่องจากเรื่องของความคลาสสิก และเรื่องราวประวัติความเป็นมาของสินค้าชิ้นนั้น จึงทำให้สินค้าแบรนด์หรูบางชิ้น มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น จากการผลิตที่น้อยลงนั่นเอง
  • มุมมองของผู้คนที่เปลี่ยนจากการใช้งาน เป็นการลงทุน
ด้วยเหตุผลข้างต้นที่ว่ามาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเอกลักษณ์ของสินค้า ที่สามารถสะท้อนถึงรสนิยม ตัวตน และสถานะทางสังคม รวมไปถึงการที่สินค้ามีคอลเลกชันเดิมที่น้อยลง จึงทำให้ผู้คนเริ่มเห็นมูลค่า และหันมาลงทุนเพื่อการเก็งกำไรเป็นจำนวนมากขึ้น
โดยเฉพาะชาวเอเชีย ที่ผลการเก็บข้อมูลจากบริษัทวิจัยอย่าง Bain เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมาได้ชี้ชัดว่าพวกเขาสนใจในการลงทุนกับสินค้าแบรนด์เนมมากยิ่งขึ้น เพราะสินค้าแบรนด์เนมมีมูลค่าและความมั่นคง รวมถึงมีแนวโน้มสูงที่จะเติบโตได้มากยิ่งขึ้นในอนาคต
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีสถิติที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์มูลค่าทางการตลาดในอนาคต ที่ถูกคาดการณ์โดย Statista Consumer Market Outlook เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่ามูลค่าตลาดสินค้าแบรนด์เนม จะเติบโตมากถึง 382.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2025 จากเดิมที่ในปี ค.ศ. 2021 ตลาดสินค้าแบรนด์เนมนั้นมีมูลค่าอยู่ที่ 309.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น
หรือหากย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 2020 จากการสำรวจโดย Statista Research Department เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา แม้ว่ามูลค่าโดยรวมของตลาดแบรนด์หรูจะตกมาอยู่ที่ประมาณ 94,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่มูลค่าก็สามารถดีดกลับขึ้นไปอยู่ที่ 108,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งถือเป็นรายได้ที่สูงที่สุดตลอดกาลของตลาดสินค้าแบรนด์หรูด้วยเช่นกัน
จากปัจจัยทั้ง 3 ข้อนี้ ก็เหมือนเป็นตัวช่วยยืนยันสำหรับกลุ่มนักลงทุนบางส่วนที่กำลังลังเลหรือสนใจในสินค้าแบรนด์เนม
ว่ากำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นอย่างแท้จริง แต่แน่นอนว่าหนึ่งในปัญหาใหญ่สำหรับการลงทุนในสินค้าแบรนด์เนม ก็คือเรื่องของต้นทุนที่ค่อนข้างมีราคาสูง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคด้านการลงทุนสำหรับคนที่สนใจ แต่ไม่ต้องกังวลไป
เพราะวันนี้ทาง KTAM มีกองทุน KT-LUXURY หรือ กองทุนเปิดเคแทม Luxury มาแนะนำด้วยเช่นกัน
กองทุน KT-LUXURY มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหลัก Pictet - Premium Brands โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV
ซึ่งกองทุนรวมหลักมีวัตถุประสงค์การลงทุน คือ เน้นการเติบโตของมูลค่าเงินลงทุน ผ่านการลงทุนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของทรัพย์สินสุทธิของกองทุนในตราสารทุนที่ออกโดยบริษัทที่ทำธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมสินค้าและบริการระดับบน (Premium brands sector)
ซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง โดยบริษัทเหล่านี้เป็นที่ถูกจดจำหรือรับรู้โดยผู้บริโภคในตลาด (Strong market recognition)
เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีความสามารถที่จะสร้างหรือมีอิทธิพลในการกำหนดกระแสความนิยมของผู้บริโภคได้
(Consumers trends)
โดยหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมหลักไปลงทุน จะแบ่งไปตามอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งในส่วนของสินค้าแบรนด์เนม เช่น เครือ LVMH, Hermès, และ Essilor Luxottica เป็นต้น รวมถึงสินค้าประเภทอื่นๆ อย่าง กีฬา, อาหาร เครื่องดื่ม, ท่องเที่ยว, เครื่องสำอาง, นันทนาการ และความบันเทิง
(ที่มา: Pictet ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 65/ สัดส่วนการลงทุนสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนหลัก)
สำหรับท่านใดที่สนใจลงทุนกับกองทุนเปิดเคแทม Luxury สามารถศึกษาข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ktam.co.th/fif-fund-detail.aspx?IdF=80
ข้อมูล Fund Fact Sheet ของกองทุน KT-LUXURY คลิก https://www.ktam.co.th/fif-fund-detail-document.aspx?IdF=80
ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด :
ศึกษารายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร 02-686-6100 กด 9
คำเตือน :
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ: ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk)/ ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk)/ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk)/ ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจ ของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
ที่มาข้อมูล :
โฆษณา