13 มิ.ย. 2022 เวลา 21:30 • ความคิดเห็น
เจาะลึกเอกสาร " Air Waybill (AWB)” นำเข้าเราต้องรู้
ขอบคุณภาพจากโต๊ะทำงาน
Air Waybill (AWB) คือ ใบตราส่งสินค้าทำหน้าที่แบบเดียวกับ Bill of Lading แต่เป็นใบตราส่งสินค้าที่ใช้สำหรับการขนส่งทางอากาศ ระหว่างประเทศ
ข้อมูลบนหน้า Air Waybill ก็จะมีส่วนที่คล้ายกับ ข้อมูลบนหน้า BL จะมีส่วนแตกต่างกันในบางจุด
เพื่อให้การนำเข้าของเราราบรื่น เรามาเริ่มตรวจสอบรายละเอียด ต่าง ๆ ที่จะต้องมีและปรากฏอยู่บนหน้าเอกสาร Air Waybill กันเลยค่ะ
👉 Shipper name and address : ระบุชื่อ และที่อยู่ของผู้ส่ง ต้องชัดเจน
ตามตัวอย่างที่ได้เห็นในภาพนี้เป็นการรวมผู้ส่งหลายๆเจ้าแล้วส่งสินค้าออกมาในคราวเดียวกันเพื่อประหยัดต้นทุนในการดำเนินการเคลียร์ของ เรียกการรวมแบบนี้ว่าการ consolidate shipment. ไม่จำเป็นต้องใส่ที่อยู่ก็ได้
👉 Consignee name : ระบุชื่อ และที่อยู่ของผู้รับ ต้องชัดเจนและถูกต้องเช่นกัน
👉 MAWB No. เป็นเลขสัญญาการจัดส่งระหว่าง Forwarder และสายการบิน
👉 Flight detail : คือเที่ยวบินที่ใช้ขนสินค้าเหล่านั้นมายังประเทศปลายทาง
👉 Package : จำนวนหีบห่อของสินค้าทั้งหมดที่ได้ขนส่งมาในครั้งนี้ ข้อมูลตรงนี้มาจากจำนวนหีบห่อใน packing list ของแต่ละเจ้าเอามารวมกัน ในตัวอย่างนี้มีมาทั้งหมด 23 package.
👉 Gross Weight : เป็นน้ำหนักของสินค้ารวมกับขนาดของหีบห่อที่บรรจุมา
คำนวนมาจาก กว้าง x ยาว x สูง /5000 ตรงนี้จะแสดงน้ำหนักรวมทั้งหมดของทุกเจ้าที่ขนส่งมาด้วยกัน โดยมี packing list เป็นข้อมูลอ้างอิง
และในเอกสาร AWB ที่นำสินค้าของเราเข้ามาจะต้องแสดงขนาดของกล่อง เอาไว้ให้เราตรวจสอบได้ด้วย
👉 Chargeable weight : คือน้ำหนักที่สายการบินใช้ในการคำนวณค่าระวาง โดยเปรียบเทียบจากน้ำหนักจริงของสินค้าและน้ำหนักรวมขนาดกล่องค่าไหนมากกว่าจะใช้ค่านั้นในการคิดค่าระหว่าง
👉 Rate /Charge : อัตราค่า freight ต่อกิโลกรัมที่ทางสายการบินเรียกเก็บ สกุลเงินเป็น USD
👉 Total : เป็นยอดรวม ค่า freight ที่คำนวณมาจาก Chargeable weight x กับ อัตราค่า freight ต่อกิโลกรัม ซึ่งจะถูกใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณเป็นฐานภาษีในใบขนสินค้าขาเข้า
👉 Nature and quantity of goods : เป็นชื่อสินค้าที่นำเข้ามา ในตัวอย่างจะเป็น Electronic Components. และตรงช่องนี้ทาง Forwarder ของเราจะใส่รายชื่อของ supplier และจำนวนหีบห่อพร้อมทั้งวงเล็บ incoterm ไว้ด้านหลัง เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบความถูกต้อง
จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมายาวนาน การได้ตรวจสอบเอกสารนับพันฉบับ และเจอประเด็นปัญหามากมาย ทำให้เราเรียนรู้ว่า ...
สิ่งที่จะทำให้เราเกิดความกลัว หรือมีความกังวลใจในงานนั้น ๆ มีเพียงสิ่งเดียวนั่นคือ " ความไม่รู้"
แต่เมื่อใดที่เรามีความรู้และความเข้าใจในงานที่ทำมากพอ ต่อให้เจอกับ shipment หลักร้อยล้านเราก็จะผ่านมันไปได้สบาย ๆ
เหมือนที่เราเคยผ่านมันมาได้แล้ว
เจ้ากระต่ายขี้เซาเราเอง
การนำเข้ายังมีเรื่องราวให้เราต้องเรียนรู้อีกเยอะเลย จะทยอยเอามาเล่าบ่อย ๆ น๊า
หวังว่าความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้จากประสบการณ์ในการทำงานนี้ จะพอเป็นประโยชน์ให้กับใครที่สนใจในเรื่องการนำเข้าสินค้าได้ไม่มากก็น้อยนะคะ …
ขอบคุณที่ติดตามแล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปจ้า
ติดตามผลงานในช่องทางอื่นที่
เจ้ากระต่ายขี้เซา :
ฝันจะนั่งรถไฟไปทรานส์ – ไซบีเรีย
รักการเขียนและการเล่าเรื่อง
และกำลังฝึกเขียนนิยาย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา