18 พ.ค. 2022 เวลา 00:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Ceiling & Floor ของ Warrant
ราคา ceiling และ floor ของ Warrant จะคิดเหมือนหุ้นสามัญไหม เพราะก็สามารถซื้อขายได้ในกระดานหุ้นเหมือนหุ้นตัวหนึ่ง ใครสงสัยมาอ่านโพสนี้กัน...
ราคา ceiling และ floor ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นกรอบของราคา เพื่อไม่ให้ราคาที่ซื้อขายกันมีความผันผวนมากเกินไป เพราะเมื่อถึงราคา ceiling และ floor แล้ว จะไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายในราคาที่สูงกว่า ceiling ได้ และเมื่อราคาถึง floor แล้ว ก็จะไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายในราคาที่ต่ำกว่านี้ได้
มารู้จักการคิด Ceiling และ Floor ของหุ้นสามัญกันก่อนนะ เพราะของ Warrant จะเกี่ยวข้องกับราคาของหุ้นแม่ด้วยนะ
สำหรับหุ้นสามัญ กำหนด ราคา ceiling และ floor ไว้ +/- 30% จากราคาปิดของวันก่อนหน้า ดังนั้นราคา ceiling และ floor ก็จะเปลี่ยนไปในทุกวัน ขึ้นกับราคาปิดของหุ้นนั้นในวันก่อนหน้า เช่น หุ้น MINT ราคาปิดหุ้นนั้นของวันก่อนหน้า อยู่ที่ราคา 32 บ.
ดังนั้น 30% ของ 32 บ. = 9.6 บ.
ราคา ceiling = ราคาปิดของวันก่อนหน้า + ( 30% x ราคาปิดของวันก่อนหน้า) = 32 + 9.6 = 41.6 บ. แต่เนื่องจากช่วงราคาซื้อขายของหุ้นที่ราคา 25- 100 บ. จะเพิ่มขึ้นลงช่วงละ 0.25 บ. ตรง 41.6 จึงเป็น 41.5 นะ
และ floor = ราคาปิดของวันก่อนหน้า - ( 30% x ราคาปิดของวันก่อนหน้า) = 32 – 9.6 = บ. เนื่องจากช่วงราคาซื้อขายของหุ้นที่ราคา 10- 25 บ. จะเพิ่มขึ้นลงช่วงละ 0.1 บ. จึงเป็น 22.4 ตามที่คิดได้นะ
ซึ่งในหน้าจอของโปรแกรม streaming ที่ซื้อขายหุ้นออนไลน์ ก็จะมีแสดงราคา ceiling และ floor ไว้
ส่วนหุ้น IPO ที่เข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้นวันแรกนั้น คือ Ceiling อยู่ที่ราคา ไม่เกิน 3 เท่า จากราคา IPO และ Floor ไม่ต่ำกว่า 0.01 บาท
มาต่อกันที่ Warrant ซึ่ง ceiling และ Floor ของ Warrant จึงขึ้นกับราคาของหุ้นแม่ และอัตราส่วนการใช้สิทธินะ
Warrant คือ ใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญมักจะเรียก warrant ว่า “หุ้นลูก” ส่วนหุ้นสามัญ เรียก “หุ้นแม่” ถ้าได้มาสามารถใช้สิทธิ์แปลงเป็นหุ้นแม่ได้ แต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อขอเปลี่ยนจาก warrant เป็นหุ้นแม่ ซึ่งราคาที่จ่ายเพิ่ม ก็คือ ราคาใช้สิทธิ ส่วนอัตราที่ใช้แปลงเป็นหุ้นแม่ 1 หุ้น ต้องใช้กี่ Warrant เรียกอัตราส่วนการใช้สิทธินะ
ราคา ceiling & floor ของ Warrant เปลี่ยนแปลงขึ้นลงสูงสุดได้ไม่เกิน 30% ของราคาหุ้นสามัญ คูณด้วยสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญที่จะได้รับจากการใช้ warrant 1 หน่วย
มาดูตัวอย่าง MINT-W7 นะ
ราคาปิดหุ้น MINT 32 บ.
ราคาปิดของ MINT-W7 11.3
อัตราส่วนการใช้สิทธิ 1:1
ราคาปิดหุ้นแม่ 32 บ. x 30% = 9.6 บ. อัตราการแปลง 1:1 ก็จะคูณด้วย 1 = 9.6 (ถ้า 2 warrant แปลงได้ 1 หุ้นแม่ ตรงนี้จะคูณด้วย 0.5 นะ)
Ceiling = 11.3 + 9.6 = 20.9
Floor = 11.3 – 9.6 = 1.7
ส่วน Warrant ที่เพิ่งเข้าซื้อขายวันแรก จะมีเกณฑ์ในการคิดราคา Ceiling และ Floor คือ ราคาที่ได้มาของ warrant ± (100% x ราคาปิดหุ้นแม่วันก่อนหน้า x อัตราการแปลงสภาพ) แต่ไม่ต่ำกว่า 0.01 บาท
ถ้า Warrant นั้นบริษัทแจกให้ผู้ถือหุ้นเดิมฟรี ตรง “ราคาที่ได้มาของ warrant” ก็คือ 0 นะ
ราคา ceiling และ floor ถูกกำหนดไว้เพื่อไม่ให้ราคาที่ซื้อขายกันมีความผันผวนมากเกินไป ซึ่งการคิดของหุ้นสามัญและ Warrant ก็ตามที่เล่าไปนะ
#warrant #w #วอแรนท์ #วอร์แรนท์ #หุ้นลูก #หมอยุ่งอยากมีเวลา #ceiling #floor #ราคาหุ้น #หุ้น #ราคาพื้น #ราคาเพดาน #IPO
โฆษณา