Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
2read
•
ติดตาม
20 พ.ค. 2022 เวลา 00:07 • ท่องเที่ยว
"กามธิปุระ" ย่านที่หล่อหลอมให้เกิดหญิงแก่งแห่งมุมไบ หรือ "คังคุไบ"
เป็นที่รู้กันดีว่าย่านเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีแห่งนี้
เป็นแหล่งค้าประเวณีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย!
ภาพจาก shutterstock.com
แม้จำนวนจะลดลง แต่ภาพลักษณ์นี้ก็ยังติดตัวคนอาศัย
ทำให้ผู้หญิงและคนที่อาศัยไม่แกร่งพอที่จะบอกคนอื่นว่าพักที่นี่
เพราะกลัวทัศนคติทางลบ และไม่กล้าพาใครมาบ้าน
เพราะต้องเดินผ่านซ่องหลายคูหา
สภาพชุมชนแออัด และความเสื่อมโทรม
จึงถึงเวลาที่จะแปลงโฉม ลบภาพลักษณ์ทางลบ
ยกระดับไลฟ์สไตล์ให้เป็นเมืองน่าอยู่อาศัย
ผ่าแผนทุบตำนานหอโคมแดงแห่ง “คังคุไบ”
ผุดมหานครธุรกิจใจกลางมุมไบ
บทความจากคอลัมน์ "City for Life" บนแอป 2read
ความร้อนแรงแห่งเรื่องราวของ “คังคุไบ”
ถูกพูดถึงและลอกเลียนแบบการแต่งตัว
จนเป็นไวรัลว่อนบนโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์ม
เรื่องราวที่ดัดแปลงมาจากหนังสือ ราชินีมาเฟียแห่งมุมไบ (Queen of Mumbai)
เขียนโดยนักข่าวชื่อ "ฮุสเซน ไซดี" (Hussain Zaidi)
ซึ่งมาจากเรื่องจริงของโสเภณีคนดังที่ชื่อ
"คังคุไบ ฮาร์จีวันดัส (Gangubai Harjeevandas)"
หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า "คังคุไบ กฐิยาวาฑี (Gangubai Kathiyawadi)"
ก่อนจะมาเป็นหญิงแห่งตำนาน
เธอคนนี้เดิมชื่อ "คงคา (Ganga)"
ผู้หญิงผู้พลิกโชคชะตาตัวเอง
จากเด็กสาวเปี่ยมฝันที่ถูกชายคนรักพาเดินทางมามุมไบ
เพื่อเป็นดาราบอลลีวูด
สุดท้ายผู้ชายคนที่เธอรักที่สุด
กลับพาเธอมาขายตัวให้กับมาม่าซังในย่านหอโคมแดง (Red Light)
ที่ย่านหรือชุมชนที่มีชื่อว่า "กามธิปุระ (Kamathipura)"
เธอยอมจำนนต่อโชคชะตาของการทำอาชีพโสเภณี
แต่ท้ายที่สุดเธอพลิกชะตาชีวิตตัวเองสู่แม่เล้าผู้ทรงอิทธิพล
ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกของเมือง
ผู้เรียกร้องสิทธิให้กับอาชีพโสเภณีให้ถูกต้องตามกฎหมาย
มีเกียรติมีศักดิ์ศรีเทียบเท่าอาชีพอื่นๆ
และต่อสู้เพื่อเด็กและสตรีในย่านแห่งนี้
รวมถึงเป็นผู้ช่วยเหลือเด็กสาวผู้ถูกล่อลวงมาขายตัว
หญิงสาวที่ทำงานขายบริการทางเพศในความดูแลของเธอนั้น
ทำงานด้วยความเต็มใจ แทนการถูกบังคับขืนใจ
"กามธิปุระ" จึงถือว่าเป็นย่านที่มีโสเภณีมากที่สุดในเอเชีย
ในยุคเฟื่องฟูสถิติสูงที่สุด มีผู้หญิงค้าประเวณีราว 45,000 คน ในปี 1992
และต่อมาในปี 2018 ลดลงเหลือราว 500-1,000 คน
เนื่องจากอยู่ใจกลางธุรกิจเมืองมุมไบ
ทำให้ค่าเช่าที่ราคาสูงขึ้นตามตัว
พร้อมกันกับแผนการพัฒนาเมือง
รวมไปถึงปัญหาโรคระบาดเอชไอวี (Aids)
บางส่วนจึงต้องย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่ที่ค่าเช่าต่ำกว่า
ทำให้คนทำอาชีพให้บริการทางเพศย่านนี้ลดลงเรื่อยๆ
ก่อนจะเป็นย่านหรือชุมขนค้าประเวณีที่ใหญ่ที่สุด
อดีตในปีช่วงปี 1795 เริ่มต้นเป็นย่านที่อยู่อาศัยของชนชั้นแรงงานก่อสร้าง
(กาม แปลว่า แรงงาน) ก่อนที่จะมีการนำเข้าผู้หญิงชาวยุโรปและญี่ปุ่น
เพื่อให้บริการทางเพศ
ในช่วงที่อินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
ราวช่วงต้นศตวรรษที่ 19
หลังจากหนังคังคุไบโด่งดังเป็นพลุแตก
ย่านกามธิปุระถูกตีแผ่และพูดถึงไม่แพ้เรื่องราวของหญิงแกร่งคังคุไบ
เพราะเป็นชุมชนแออัดใจกลางเมืองมุมไบ
ที่ขาดการพัฒนามายาวนานกว่า 100 ปี
ปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยตึกเสื่อมโทรมอายุกว่าร้อยปี
หลายตึกผุพังลงมาตามสภาพและยังไม่ได้รับการฟื้นฟู
เกิดย่านธุรกิจเล็กๆ ปะปนกัน
จากผู้ให้เช่าพื้นที่ 800 ราย และผู้เช่า 8,000 ราย
อาศัยอยู่รวมกันในพื้นที่ 39 เอเคอร์ (ราว 100 ไร่)
มีทั้งโรงงานเย็บผ้า ร้านขายผ้าส่าหรี ห้องเช่า และร้านขายอาหาร
รวมไปถึงหอโคมแดงในตำนาน หรือซ่องบริการทางเพศ
ปะปนในหลายอาคารบนย่านนี้แม้จำนวนจะน้อยลง
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้คนที่อยู่อาศัยแออัดรวมกันทั้งครอบครัวในห้องเล็กๆ 80 ตารางฟุต
(7.4 ตารางเมตร) คิดสภาพถ้าพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว
คงได้แต่นั่งอยู่ในห้องเล็กๆ ขยับไปไหนไม่ได้
ที่สำคัญไม่มีถนนรองรับรถขนาดใหญ่
มีเพียงเลนคนเดินเล็กๆ เท่านั้น
การเรียกร้องให้มีการปรับปรุง ฟื้นฟู พัฒนาย่านใหม่จึงเกิดขึ้น
พร้อมกันกับแผนของการพัฒนาเมืองให้มีการจัดระเบียบใหม่
พลิกสภาพย่านค้าประเวณีที่เก่าแก่ สลัมแหล่งเสื่อมโทรม
แปลงโฉมสู่ย่านธุรกิจที่มีมูลค่าและน่าอยู่อาศัย
เพราะเป็นทำเลที่ดีที่สุดในมุมไบ
มีจุดเชื่อมต่อทั้งสถานีรถไฟ รถไฟใต้ดิน และรถเมล์
รวมถึงแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่
โดยการพัฒนาโครงการนี้
ได้รับการยินยอมใจร่วมกันทั้งรัฐบาลของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra)
โดยกระทรวงการเคหะของรัฐมหาราษฏระ
วางแผนระบบให้มีผู้เกี่ยวข้องคือ
ผู้พัฒนาโครงการเอกชน เจ้าของที่ดิน และผู้เช่า
จะต้องแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน
หลังการพัฒนาจะทำให้พื้นที่แห่งนี้
สามารถอยู่อาศัยยั่งยืนยาวนานไม่ต่ำกว่า 3-4 ชั่วอายุคน
โดยแผนปรับปรุงมีระยะเวลา 6 ปี เนื้อที่ 39 เอเคอร์
เปลี่ยนจากอัตราเช่า 25,000-30,000 รูปีต่อตารางฟุต (ตร.ฟ.)
เป็นมากกว่า 50,000 รูปีต่อตร.ฟ.
จาก 24 ชั้นเพิ่มเป็น 42 ชั้น
มีห้างสรรพสินค้า มีที่จอดรถ สำนักงานให้เช่า
และที่พักอาศัยรองรับคนจำนวนมากขึ้น
ตลอดจนมีสถาบันการศึกษา รองรับคนในพื้นที่
ด้านพื้นที่ที่เหลือจะมีผู้พัฒนาโครงการเป็นผู้ขายห้องชุดใหม่
ส่วนรูปแบบการพัฒนาจะสร้างที่พักชั่วคราวให้
ก่อนจะย้ายกลับมาสู่โครงการใหม่
อีกทั้งยังมีการพัฒนาคุณภาพที่อยู่อาศัย
เพราะมีสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ
มีคลับเฮาส์บริการผู้พัก
อาทิ พื้นที่ออกกำลังกาย สปา
และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
สิ่งสำคัญคือ รูปแบบฟื้นฟูอาคารจะถูกจัดทำให้เป็นแบบปัจดี (Pagdi)
คือการที่แบ่งปันผลประโยชน์ให้กับเจ้าของที่ดิน
ผู้เช่าอาคาร ถือเป็นเจ้าของพื้นที่ใหม่ร่วมกัน
เจ้าของที่ดินจะได้รับแฟลตชดเชยการเป็นเจ้าของที่ดิน
โดยได้เป็นเจ้าของห้องขนาด 508 ตารางฟุต
ต่อการเป็นเจ้าของที่ดิน 50 ตร.ม.
หลังการพัฒนาโฉมใหม่
กามธิปุระ จะสร้างการรับรู้ใหม่ๆ
ให้มีภาพลักษณ์ใหม่ในการจดจำ (Perception)
ย่านค้าประเวณีที่อายุกว่า 100 ปี
จะถูกลบไปสู่การเป็นย่านธุรกิจและการค้าน่าอยู่อาศัย
โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตดังนี้ คือ...
1. ทัศนคติทางลบต่อคนอาศัยในย่านนี้
ลบภาพการจดจำคนในย่านค้าประเวณีติดตัวคนที่มาจากย่านนี้
ทำให้ผู้หญิงที่อาศัยในย่านนี้
หรือคนที่เติบโตจากย่านนี้ถูกมองว่าเป็นโสเภณี
แม้ว่าบางคนจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจเล็กๆ
หรือลูกได้รับการศึกษาดี มีงานทำแล้ว
ก็ยังถูกมองติดป้ายเกี่ยวข้องกับการบริการทางเพศ
คนที่อาศัยอยู่ในย่านนี้จึงไม่ค่อยกล้าชวนใครมาเยี่ยมบ้าน
แต่หลังการพัฒนา คนอาศัยอยู่ย่านนี้จะภาคภูมิใจ
พูดได้เต็มปากมากขึ้น
เพราะภาพย่านค้าประเวณี
จะค่อยเปลี่ยนไปสู่ย่านธุรกิจใจกลางเมืองมุมไบ
2. แหล่งค้าประเวณีที่มีมาตรฐาน
หญิงโสเภณีหรือธุรกิจค้าประเวณีที่ยังทำงาน
และเป็นเจ้าของที่ดินก่อนการพัฒนา
จะยังสามารถกลับมาทำธุรกิจได้ในกรณีที่เต็มใจทำต่อ
แต่อาจจะอยู่ในรูปแบบที่ถูกควบคุมให้ถูกสุขลักษณะ
จากที่เป็นอาชีพที่ถูกดูแคลน
ตามที่คังคุไบได้กล่าวไว้ว่า ต้องขายศักดิ์ศรีทุกวัน
ไม่มีการรองรับแม้กระทั่งการทำธุรกรรมเปิดบัญชีทางการเงิน
ถูกปรับไปสู่การมีระบบ มีกฎหมายรองรับ มีการคุ้มครอง
มีมาตรฐานควบคุมโรคติดต่อ
แต่สำหรับผู้ที่ต้องการหาอาชีพใหม่
ทาง NGO เรียกร้องให้มีการพัฒนาอาชีพ
และจ่ายเงินชดเชยให้พวกเขา
3. ยกระดับไลฟ์สไตล์ชุมชนแออัดสู่เมืองน่าอยู่
ชุมชนย่านนี้จะถูกยกระดับจากมีชนชั้นแรงงาน
ที่พักอาศัยของชุมชนแออัด
กลายเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก
สิ่งที่ยังคงมีต่อไปอาจจะเป็นตำนานแห่งย่านเหล่านี้
นั่นคือ รูปปั้นคังคุไบ
หรือร้านอาหารเก่าแก่ที่ปรากฏในหนัง
อย่างเช่น Olympia Coffee House
อายุกว่า 100 ที่ควรมีการอนุรักษ์ไว้
ดูการแผนการพลิกโฉมเมืองของอินเดีย แล้วย้อนมาดูของไทย
หลายแห่งกำลังเปลี่ยนบริบทสภาพความเป็นชุมชนเก่าแก่ แออัด
ไปสู่การพัฒนาย่านธุรกิจ เมื่อมีรถไฟฟ้า 10 สายเข้ามา
ย่านเก่าแก่ที่ถูกแปลงโฉมจากชุมชนแออัดแห่งหนึ่งคือ
แฟลตดินแดง ตึกเก่าอายุเก่าแก่มากกว่า 50 ปี
มีผู้อยู่อาศัยที่หลากหลาย
บางคนทำแฟลตให้กลายเป็นทั้งที่เลี้ยงไก่ ที่จอดรถ ร้านอาหาร
มีสภาพเสื่อมโทรม และเสี่ยงต่อการพัง กำลังค่อยๆ ถูกทุบทิ้ง
และจัดระเบียบใหม่ โดยให้สิทธิผู้เช่าเดิม
สิ่งที่ต้องบริหารจัดการจากโครงการฟื้นฟูพัฒนาคือ
ให้ยังคงดูแลกลุ่มเปราะบางให้มีที่พักอาศัย
ตามเจตนารมณ์ของการสร้างที่พักอาศัยให้คนมีรายได้น้อย
คนฐานรากได้มีบ้าน จึงจะทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนยั่งยืน
ทุกภาคส่วนในสังคมได้มีโอกาสเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดี
เรื่องโดย ประกายดาว
📌อ่านบทความอื่นๆ ในคอลัมน์ "City For Life"
จิ้มภาพด้านล่างเลย!👇
อ่านเพิ่มเติม
2read.digital
city for life
ผ่าแผนทุบตำนานหอโคมแดงแห่ง “คังคุไบ” ผุดมหานครธุรกิจใจกลางมุมไบ
เติมอาหารสมองและพลังใจด้วยคอนเทนต์สาระจาก 2read
กดถูกใจ กดติดตามเพจ กดไลค์โพสต์นี้ให้เราด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
-
https://timesofindia.indiatimes.com
-
https://www.indiatoday.in
https://www.outlookindia.com/
https://makebreak.tiss.edu/kamathipura/reimagining-redevelopment.php?fbclid=IwAR0FIT8OztRlgpEEDoSs9W5YZHz7ZioxnadLLtbPRq9FQek8JgkW3xbbtW0
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย