22 พ.ค. 2022 เวลา 12:45 • สุขภาพ
อาการหลงผิดและโรคหลงผิด
Delusions and Delusional Disorder
โรคหลงผิด (Delusional Disorder) โดยในอดีตเรียกว่าโรคพารานอยด์ (paranoid disorder) ซึ่งเป็นประเภทของการป่วยทางจิต (mental illness) ที่เรียกว่า โรคจิต (psychotic disorder) โดยผู้ที่เผชิญกับโรคหลงผิดจะไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรเป็นเรื่องจริง จากสิ่งที่เขาจินตนาการ
อาการหลงผิดเป็นอาการหลักของโรคหลงผิด โดยผู้ที่อยู่ในภาวะนี้จะไม่สามารถหลุดพ้นออกจากความเชื่อผิดๆ ที่ไม่อยู่ในพื้นฐานของโลกความเป็นจริงได้ ซึ่งเรื่องที่หลงผิดอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่เหนือจริงโดยสิ้นเชิง ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง เช่น การถูกสะกดรอยตาม การถูกวางยา การถูกหลอก
ยกตัวอย่างเหตุการณ์เช่น อาจคิดว่าเพื่อนร่วมงานร่วมกันกลั่นแกล้งเพราะไม่ชอบเรา แต่แท้จริงแล้วทุกคนก็ทำตัวปกติ โดยการหลงผิดแบบนี้มักเกี่ยวกับการรับรู้ที่ผิด หรือประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งความเป็นจริงแล้วเรื่องที่หลงผิดเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือเกิดจริง
อาการหลงผิดที่เหนือธรรมชาติ (bizarre delusion) เป็นการหลงผิดเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง เช่น การถูกโคลนนิ่งโดยมนุษย์ต่างดาว
ผู้ที่เผชิญกับโรคหลงผิดบ่อยครั้งที่พบว่าสามารถเข้าสังคมอย่างปกติ และมักไม่แสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือกิริยาที่ผิดปกติ ยกเว้นในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่หลงผิด ซึ่งต่างจากการมีภาวะโรคจิต โดยผู้ที่มีอาการหลงผิดในบางกรณีก็อาจหมกมุ่นกับการหลงผิดจนไปกระทบกับชีวิตได้
ประเภทของอาการหลงผิดในโรคหลงผิด
โดยประเภทมักแบ่งโดยธีมของเรื่องที่หลงผิด
🟡 Erotomanic เป็นการหลงผิดเชื่อว่ามีใครหลงรัก และผู้ที่เป็นประเภทนี้มักพยายามเข้าหาคนที่คิดว่าแอบหลงรักตน โดยบ่อยครั้งมักคิดหลงผิดกับคนที่มีชื่อเสียงและเป็นบุคคลสำคัญ ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมสะกดรอยตาม (stalking)
🟡 Grandiose เป็นการหลงผิดคิดว่าตนเองมีความยิ่งใหญ่เกินจริง อาจเกี่ยวกับมีคุณค่า มีอำนาจ มีความรู้ และมีตัวตนที่ยิ่งใหญ่เกินจริง และอาจรวมไปถึงเชื่อว่าตนเองมีความสามารถอันยิ่งใหญ่ หรือค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่
🟡 Jealous เป็นการหลงผิดคิดว่าคู่สมรสหรือคู่นอนของตนนอกใจ
🟡 Persecutory เป็นการหลงผิดคิดว่าตนหรือคนรอบข้างกำลังถูกข่มเหง (mistreated) หรือมีบางคนกำลังสะกดรอบหรือวางแผนลอบทำร้าย และอาจระแวงจนมีการแจ้งหน่วยงานทางกฎหมาย
🟡 Somatic เป็นการหลงผิดคิดว่าตนเองมีความบกพร่องทางร่างกายหรือมีความผิดปกติ (medical problem)
🟡 Mixed มีการหลงผิดจากหัวข้อที่กล่าวข้างต้นตั้งแต่สองเรื่องขึ้นไป
สาเหตุและกลุ่มเสี่ยงของโรคหลงผิด
สาเหตุที่แน่นอนของโรคหลงผิดยังคงไม่ถูกค้นพบ แต่นักวิจัยก็เพ่งเล็งไปที่ พันธุกรรม, ชีววิทยา, สิ่งแวดล้อม หรือ ปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดโรคได้มากขึ้น
🟡 ด้านพันธุกรรม โรคหลงตัวเองจะพบได้มากขึ้นในกลุ่มคนที่ครอบครัวพบโรคหลงผิด หรือโรคจิตเภท จึงคาดว่ายีนอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
🟡 ด้านชีววิทยา นักวิจัยพบว่าโรคหลงผิดอาจเกิดเมื่อส่วนหนึ่งของสมองทำงานไม่ปกติ ส่วนที่ผิดปกติของสมองที่มีบทบาทในการควบคุมการรับรู้และการคิดอาจเกี่ยวโยงกับอาการหลงผิด
🟡 ด้านสิ่งแวดล้อม มีหลักฐานชี้ให้เห็นว่าความเครียดจะสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคหลงผิดได้ รวมไปถึงการใช้สารเสพติดและติดแอลกอฮอล์ก็เช่นกัน รวมไปถึงผู้ที่มีการอยู่อย่างโดดเดี่ยว (isolated) เช่น ผู้อพยพ หรือผู้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็นและการได้ยิน ก็อาจมีผลที่จะทำให้เกิดโรคหลงผิด
การรักษา
การรักษามักใช้การสมาธิและจิตบำบัด โดยโรคหลงผิดนั้นยากแก่การรักษา โดยในปัจจุบันได้มีการใช้ยารักษาร่วมด้วย
ยารักษาโรคจิต หรือเรียกอีกอย่างว่าโรคประสาท (neuroleptics) ที่จะไปแทรกแซงการกระบวนการทำงานบางของสมองที่เชื่อว่าเกี่ยวกับการก่อให้เกิดการหลงผิด และในปัจจุบันมียา Atypical antipsychotics ที่เป็นยาที่ใหม่กว่าในการช่วยรักษาโรคหลงผิด นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยยากล่อมประสาท ที่ใช้ในการรักษาโรควิตกกังวล และโรคทางอารมณ์ เมื่อมีอาการหลงผิด
จบกันไปแล้วกับบทความ "อาการหลงผิดและโรคหลงผิด " ขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านจนจบ หากมีข้อแนะนำสามารถแสดงความคิดเห็นกันได้ ไว้พบกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีครับ...
เอกสารอ้างอิง
- โรคจิตหลงผิด คิดไปเองแบบนี้ ต้องพบแพทย์
โฆษณา