22 พ.ค. 2022 เวลา 23:41 • ประวัติศาสตร์
วัดใหม่พิเรนทร์ ตอนที่1
เป็นวัดโบราณวัดหนึ่ง ได้สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3
เมื่อประมาณ ปี พศ.2384 ตั้งอยู่เลขที่ 611
ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณเขตบางกอกใหญ่
กรุงเทพมหานคร
จากข้อมูลที่ค้นพบจากบันทึกประวัติของวัดมีการบันทึก
ไว้ว่าบริเวณวัดใหม่พิเรนทร์นั้นเป็นที่ตั้งของวัดมาตั้งแต่
ปลายสมัยอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้กับที่ตั้งของพระราชวังเดิม (สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี)
มีเรื่องเล่าว่า บริเวณวัดใหม่พิเรนนทร์มีต้นโพธิ์ยืนตระหง่าน
เมื่อสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช
ทรงกอบกู้เอกราชไทย พศ. 2310 พระองค์ท่านได้ล่องเรือพาทหาร และข้าราชบริภาร ล่องเรือมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา มุ่งมาทางใต้ และได้มาถึงบริเวณ
วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)
ในรุ่งขึ้น พระองค์ก็อธิฐานจติที่จะตั้งเมืองใหม่บริเวณที่แห่งนี้เพื่อสร้างเมืองก็คือ กรุงธนบุรี
บริเวณที่แห่งนี้มีแม่น้ำล้อมรอบคือ
แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางด้านทิศตะวันออก
คลองบางหลวงอยู่ทางด้านทิศใต้
คลองมอญอยู่ทางด้านทิศเหนือ
และคลองบางกอกใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก
บริเวณที่แห่งนี้มีวัดที่สร้างมาแล้ว แต่เป็นวัดทรุดโทรม
และมีพระภิกษุสามเณรพำนักจำพรรษาน้อย
มีเพียงวัดใหม่พิเรนทร์ เพียงวัดเดียวที่เป็นวัดราษฎร์
มีเรื่องเล่าขานทางประวัติศาสตร์ว่าวัดใหม่พิเรนทร์นี้และ
บริเวณที่ตั้งโดยรอบ มีต้นใผ่ขึ้นปกคลุมบริเวณชุมชน
รอบวัดและมีคลองเล็กๆ ผ่านทางด้านทิศตะวันตก
หากจะกล่าวถึงชัยภูมิการตั้งเมืองกรุงธนบุรี
ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชพระองค์
ท่านคงคิดว่าบริเวณเหล่านี้น่าจะเป็นสถานที่อันเป็น
มงคลที่จะสร้างเป็นราชธานี เพราะมีวัดล้อมรอบ
และมีคลองล้อมรอบด้วย ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการป้องกัน และรักษาเมืองมิให้อริราชศัตรูที่จะเข้ามา
ทำลายนั้นก็ทำได้ยากยิ่ง
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม อยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งประชาชน
ส่วนมากประกอบอาชีพทำข้าวหลามขาย
ในช่วงเวลาหนึ่งชาวบ้านจึงเรียกว่า
"วัดใหม่บ้านข้าวหลาม"ครั้นต่อมาทางการได้ตัดถนนผ่านหน้าวัด (ถนนอิสรภาพ) ทำให้การคมนาคมไปมาสะดวกขึ้นประกอบกับอยู่ใกล้กับสามแยกโพธิ์สามต้น ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดใหม่โพธิ์สามต้น"
แล้วทำไมจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดใหม่พิเรนทร์"
ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยุคของแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
พระพิเรนทรเทพ (ขำ ณ ราชสีมา) เป็นบุตรของ
เจ้าพระยากำแหงสงครามหรือ เจ้าพระยานครราชสีมา
(ทองอินทร์ อินทรกำแหง) ในสมัยนั้นท่านดำรงตำแหน่ง
กรมพระตำรวจหลวง รัชกาลที่ 3 ท่านได้เดินทางมา
สักการะพระราชวังเดิม (วัดอรุณราชวราราม)
และได้มาเยี่ยมญาติในบริเวณนี้ เมื่อท่านได้เห็น
วัดใหม่โพธิ์สามต้น หรือวัดใหม่บ้านข้าวหลาม ที่มีเสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงปรารภกับญาติๆและผู้ติดตามว่า จะสร้างวัดแห่งนี้ไว้เป็นที่ให้พระภิภษุ-สามเณร ได้ปฏิบัติศาสนธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลังจากที่ท่านได้ปฏิสังขรณ์วัดพระพิเรนทร์
(วัดขำเขมการาม) เมื่อพศ. 2379
หลังจากนั้นท่านได้มาปฏิสังขรณ์วัดใหม่โพธิ์สามต้น
เมื่อ พศ.2384 เพื่อเป็นเกียรติประวัติท่านจึงได้ขนานนาม
วัดตามบรรดาศักดิ์ของท่านว่า "วัดใหม่พิเรนทร์" มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ พระพิเรนทรเทพ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับวัดพระพิเรนทร์ ท่านจึงเพิ่มคำว่า "ใหม่" ไว้ในชื่อวัด
วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใน ปี พศ. 2384
ลำดับเจ้าอาวาส
เจ้าอาวาสรูปที่ 1
ชื่อหลวงตาติ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "สมภารติ่ง"
เจ้าอาวาสรูปที่ 2
ชื่อหลวงตาไป๋ ชาวบ้านเรียกว่า "สมภารไป๋"
พื้นเพเดิมเป็นคนจังหวัดอ่างทอง
เจ้าอาวาสรูปที่ 3
ชื่อหลวงตาบุญ ชาวบ้านเรียกว่า "สมภารบุญ"
เจ้าอาวาสรูปที่ 4
ชื่อหลวงตาผล ชาวบ้านไม่ได้เรียกกว่าสมภารเพราะหลวงตาผลรักษาเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
เจ้าอาวาสรูปที่ 5
ชื่อสมภารช่วง สมภารช่วง เป็นคนจังหวัดพิษณุโลก มรณภาพเมื่อ พศ. 2493
เจ้าอาวาสรูปที่ 6
ชื่อพระมหาบุญมาก ท่านคนจังหวัดพิษณุโลก
เจ้าอาวาสรูปที่ 7
ชื่อพระมหาป๊อก เปือดขุนทด ภายหลังเปลี่ยนชื่อว่า พระมหาประวิตร อภิวัฒนาวาสท่านเป็นสหธรรมิกกับ
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ท่านมาพำนักที่วัดใหม่พิเรนทร์อยู่บ่อยครั้งเมื่อเข้ามาที่กรุงเทพฯและมีการจัดสร้างวัตถุ
มงคลที่ออกในนามหลวงพ่อคูณให้กับวัดใหม่พิเรนทร์ตั้งแต่ปีพศ.2519-พศ.2537)
เจ้าอาวาสรูปที่ 8
เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ
พระเดชพระคุณ พระมหาเสถียร ฉนฺทโก เปรียญธรรม 9
เครดิตข้อมูล
เว็ปไซต์ วัดใหม่พิเรนทร์
โฆษณา