23 พ.ค. 2022 เวลา 09:03 • ประวัติศาสตร์
ภาพเล่าประวัติศาสตร์: ภาพถ่ายในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในเสรีรัฐคองโก (Congo Free State) อาณานิคมของเบลเยียม ชาวแอฟริกันพื้นเมืองถูกตัดมือจากนโยบายโควตาการกรีดยางพาราที่โหดร้ายของเจ้าอาณานิคม
กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 (Leopold II) แห่งเบลเยียม ทรงต่อรองกับมหาอำนาจชาติอื่นๆ และตกลงปักปันเขตแดนของ “เสรีรัฐคองโก” โดยมีพระองค์เป็นประมุข พระองค์ทรงสนพระทัยในทวีปแอฟริกาด้วยมองว่าอาจจะสามารถสร้างอาณานิคมอันกว้างใหญ่ได้ และสร้างอำนาจทัดเทียมในยุโรป รวมถึงพระองค์จะได้รับกำไรอย่างมหาศาลจากการค้าทาส
กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 จึงทรงออกทุนพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยว่าจ้างนักสำรวจชาวเวลส์ เฮนรี มอร์ตัน สแตนลีย์ไปยังแอฟริกากลาง เพื่อไปเป็นตัวแทนในนามของพระองค์แก่เหล่าหัวหน้าเผ่าท้องถิ่น เพื่อลงนามสนธิสัญญาถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยของแต่ละเผ่าแก่กษัตริย์เบลเยียมโดยตรงแต่ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะสนธิสัญญาที่เหล่าหัวหน้าเผ่าลงนาม ซึ่งเหล่าผู้นำเผ่าเหล่านั้นก็ไม่เข้าใจถึงเจตนาที่แท้จริงของกษัตริย์เบลเยียม
ชาวเบลเยียมในประเทศแม่ก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ เพราะกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ทรงใช้พระราชทรัพย์จัดตั้งกองกำลังทหารรับจ้างเพื่อเข้าไปจัดตั้งกองกำลังตำรวจในเสรีรัฐคองโก ซึ่งเป็นคนจากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นชาวสแกนดิเนเวีย และในเวลาต่อมามีการรับชนพื้นเมืองหรือพวกลูกครึ่งที่สนับสนุนกษัตริย์ด้วย กองทหารนี้เรียกว่า “Force Publique”
ซึ่งทำตามจุดประสงค์ของกษัตริย์ในการต่อต้านการค้าทาสและใช้ในการสู้รบขนานใหญ่ แต่นั่นก็เป็นเพียงในเชิงทฤษฎีคุณธรรมของพระองค์ เพราะกองกำลังนี้กำจัดผู้ค้าทาสหลายรายในแอฟริกากลาง เพื่อให้กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ทรงเป็นพ่อค้ารายใหญ่เพียงหนึ่งเดียว โดยไม่ต้องแข่งขันอะไร
“Force Publique” จึงเป็นกองทัพที่ “โหดร้ายเป็นพิเศษ” และยังใช้เพื่อควบคุม “โควตายางพารา” และควบคุมแรงงานพื้นเมืองในรูปแบบต่างๆ เสรีรัฐคองโกมีอำนาจในช่วงปีค.ศ. 1885 ถึง 1908 และเป็นประวัติศาสตร์ที่โหดร้ายของอาณานิคมเบลเยียม มีการใช้ทรัพยากรงาช้างอย่างหนักหน่วงที่สุด
การล่าช้างกลายเป็นเรื่องที่ปกติของรัฐนี้ แต่เมื่อจักรยานและรถยนต์เป็นที่ใช้อย่างแพร่หลาย รัฐนี้จึงหันมาทำยางพาราอย่างแพร่หลายด้วยเช่นกัน และยางพาราจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจโดยแท้จริง ชาวพื้นเมืองแอฟริกันจำนวนมากต้องเสียชีวิตเนื่องจากต้องถูกบังคับเร่งทำงานปลูก กรีดยางพารา เพื่อตอบสนองการส่งออกยางให้ได้มากที่สุด
ชาวพื้นเมืองที่ไม่ได้ไปทำงานตามนายทุนที่ได้รับโควตาทำสวนยาง คนเหล่านั้นต้องตาย ตำรวจ Force Publique จะต้องตัดมือของชาวพื้นเมืองที่ถูกฆ่าโดยพวกเขามาเป็นหลักฐานให้ทางการว่าคนนั้นกระทำผิดขัดขืนกฎหมาย และการตัดมือนั้นมีการส่งไปยังยุโรปในฐานะสิ่งล้ำค่าและเป็นรางวัลสำหรับการล่า
บางทีกลุ่มนายทุนโควตายางก็ทำการตัดมือของชาวพื้นเมืองส่งให้คณะบริหารคองโกเพื่อแทนผลผลิตยาง ดังนั้นในคองโกมีการใช้มือของชาวพื้นเมืองแลกเปลี่ยนราวกับสกุลเงิน ว่ากันว่า หมู่บ้านที่ไม่ยอมส่งคนมาช่วยงานสวนยางจะถูกฆ่าเรียบ ยางพาราเป็นสาเหตุให้เกิดการทรมานชนพื้นเมือง ข้าราชการชั้นผู้น้อยมีการบรรยายถึงการลงโทษหมู่บ้านที่ประท้วง
ว่า ผู้บังคับบัญชาสั่งให้เรา “ตัดหัวผู้ชายแขวนไว้ที่รั้วหมู่บ้าน...และตรึงกางเขนผู้หญิงและเด็ก” ทหารพวกนี้ฆ่าผู้คนเพียงเพราะว่าพวกเขาไม่ได้ไปกรีดยางหรือนำน้ำยางมามอบให้ทางการ
ชาวพื้นเมืองที่ไม่ได้ไปทำงานตามนายทุนที่ได้รับโควตาทำสวนยาง คนเหล่านั้นต้องตาย ตำรวจ Force Publique จะต้องตัดมือของชาวพื้นเมืองที่ถูกฆ่าโดยพวกเขามาเป็นหลักฐานให้ทางการว่าคนนั้นกระทำผิดขัดขืนกฎหมาย และการตัดมือนั้นมีการส่งไปยังยุโรปในฐานะสิ่งล้ำค่าและเป็นรางวัลสำหรับการล่า บางทีกลุ่มนายทุนโควตายางก็ทำการตัดมือของชาวพื้นเมืองส่งให้คณะบริหารคองโกเพื่อแทนผลผลิตยาง
ดังนั้นในคองโกมีการใช้มือของชาวพื้นเมืองแลกเปลี่ยนราวกับสกุลเงิน ว่ากันว่าหมู่บ้านที่ไม่ยอมส่งคนมาช่วยงานสวนยางจะถูกฆ่าเรียบ ยางพาราเป็นสาเหตุให้เกิดการทรมานชนพื้นเมือง ข้าราชการชั้นผู้น้อยมีการบรรยายถึงการลงโทษหมู่บ้านที่ประท้วง ว่า ผู้บังคับบัญชาสั่งให้เรา“ตัดหัวผู้ชายแขวนไว้ที่รั้วหมู่บ้านและตรึงกางเขนผู้หญิงและเด็ก” ทหารพวกนี้ฆ่าผู้คนเพียงเพราะว่าพวกเขาไม่ได้ไปกรีดยางหรือนำน้ำยางมามอบให้ทางการ
ในที่สุดรายงานที่โหดร้ายนี้ก็เกินกว่าที่หลายประเทศจะเพิกเฉยได้อีกต่อไป และเริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ในที่สุดเสรีรัฐคองโกก็ถูกยกเลิก และมีการวางนโยบายใหม่เพื่อสิทธิมนุษยชน รัฐบาลเบลเยียมเข้ามายึดอาณานิคมคองโกไปจากมือของกษัตริย์ กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 สวรรคตในปี 1909 สิริพระชนมายุ 74 พรรษา
โฆษณา