23 พ.ค. 2022 เวลา 13:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ผมชอบที่จะมองแบบนี้ครับ
1) ลองทบทวนดูว่าขนาด พี่น้องในครอบครัวเดียวกันที่ไม่ใช่ “ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน” ยังหน้าตาไม่เหมือนกันเลย
แล้วพื้นโลกที่กว้างใหญ่ขนาดนั้น จะมี “ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต” มากน้อยเพียงใด ก็ลองจินตนาการ
ดูครับ
2) ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ Covid-19 ก็เห็นกันชัดๆว่า มันมี “variants” หรือ สายพันธ์ุแยกย่อยออกมาได้ยังกับกิ่งก้านสาขาของต้นไม้
“ทำไม” ถึงเป็นเช่นนี้?
ผมมองว่ามันเป็นเรื่องของ “ความอยู่รอด” ครับ เพราะแต่ละสายพันธุ์ก็มี “ข้อเด่น” และ “ข้อด้อย” ตาม “สภาพแวดล้อม” และปัจจัยในการดำรงชีวิต
ผมยังมองอีกว่า “ชีวิต” เป็นเรื่องของ “การออกแบบ” โดยเอาเข้าจริงๆ เราก็ไม่รู้ว่า “ใครหรืออะไร” เป็นผู้ออกแบบ “ธรรมชาติ” อีกต่อหนึ่ง!
ไม่ต้องเอาอะไรมาก แค่ “กล้วย” ก็มีสารพัด “กล้วย” อย่างที่เราพบเห็นได้ในตลาด ไม่ต่างจาก “ทุเรียน” หรือ “มะม่วง” !
3) ถ้าผมจะยกตัวอย่างในตลาดรถยนต์ ก็จะฉายภาพได้แบบนี้ครับ
สมัยก่อน Honda ที่มีรถยนต์จำหน่ายในบ้านเรา เขาจะแบ่ง “รุ่น” เป็น
LX: รถเกียร์กระปุก, เครื่องยนตร์ใช้ carburetor
EXi: รถเกียร์อัตโนมัติ, เครื่องยนตร์ใช้ระบบหัวฉีด
นั่นคือ L หมายถึง เกียร์กระปุก, E หมายถึง เกียร์อัตโนมัติ, i หมายถึง ระบบหัวฉีด
หรือ แม้แต่ รถยนต์ในกลุ่ม High Performance เช่น Porsche ก็มี “variants” ให้เลือก ทั้งๆที่ใช้ “ตัวถัง” หรือ “platform” เดียวกัน เช่น Porsche รุ่น 911 ก็จะมี
Carrera, Carrera S, GTS, Turbo, Turbo S, GT3, GT3 RS, GT2, GT2 RS ......ฯลฯ
หรือแม้แต่ iPhone ก็มี “Pro” และมี “Pro Max” เป็น variants ให้เลือก!
“ทำไม” ถึงต้องเป็นเช่นนั้น?
เหตุผลคงเป็นสิ่งเดียวกัน คือ “เพื่อความอยู่รอด”
เนื่องจาก “ลูกค้า” มี “ความต้องการ” และ “งบประมาณ” ที่หลากหลาย “ผู้ผลิต” ซึ่งในที่นี้ชัดเจนว่าเป็น “มนุษย์” (man-made) ไม่ใช่ “ธรรมชาติ” (nature) ก็ต้องการความอยู่รอดในฐานะผู้ผลิต จึงต้องเสนอ “ทางเลือก” (choices) ไว้ใน “ตลาด” เพื่อ “ความอยู่รอด” เช่นกัน!
โฆษณา