25 พ.ค. 2022 เวลา 02:48 • ปรัชญา
จะเชื่อได้ด้วยปัญญาและศรัทธาคู่กันครับ ศรัทธานําปัญญาก็จะหลงงมงาย ปัญญานําศรัทธาเกินไป ก็จะเย่อหยิ่งหลงตัวเองไม่เชื่ออะไรเลย คุณกําลังกล่าวถึง กาลามสูตรและสงสัยโดยไม่ใช้สติปัญญา พระพุทธเจ้าท่านต้องการให้ใช้สติปัญญาในการค้นหาความจริง แม้แต่ตัวท่านเองในข้อ 10. ท่านยังกล่าวว่าไม่จําเป็นต้องเชื่อท่าน แต่ให้ใช้สติปัญญาเอาเอง เพราะความจริงในจักรวาลแบ่งเป็นหลายระดับ ความจริงบนโลกอยู่แค่ในระดับ 1-3
1
ซึ่งหมายความว่ามันจะไม่จริงในโลกอื่นๆหรือจักรวาลอื่นๆ เช่นความดี ความชั่ว มีแต่ในโลกเรา, สิ่งของปรากฏเป็นตัวตนให้เห็น แต่ในระดับที่เล็กลงไปมากๆ เล็กกว่าระดับ อะตอม อิเล็กตรอน สิ่งของไม่ปรากฏตัวตนเป็นสภาพเกิด-ดับ, พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกเป็นจริงในโลก แต่ในดาวเคราะห์ดวงอื่น อาทิตย์ขึ้นทางตะวันตก, อาจมีบางจักรวาลที่ของเหลวไหลจากที่ตํ่าไปหาที่สูง เป็นต้น
กาลามสูตรคือ พระสูตรที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อมีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
1.อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังๆตามหรือใครพูดให้ฟัง
2.​อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆกันมา
3.​อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือหรือคนส่วนใหญ่เชื่อกัน
4.​อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือมีในคัมภีร์
5.​อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
6.​อย่าปลงใจเชื่อเพราะการคาดคะเน เอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาปะติดปะต่อ
7.อย่าปลงใจเชื่อเพราะอาการที่แสดงออกมาน่าจะเป็นไปได้หรือเห็นด้วยตา ได้ยินกับหู เพราะเรื่องราวหนึ่งอาจมีอะไรมากกว่าที่เห็น
1
8. อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีหรือทิฏฐิของตนหรือตามอคติในใจ
9. อย่าปลงใจเชื่อเพราะผู้พูดน่าเชื่อถือหรือเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือหรือเพราะเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
10. อย่าปลงใจเชื่อเพราะเป็นครูของเรา เพราะเคารพนับถือว่าคนพูดเป็นสมณะผู้นำทางจิตวิญญาณของเรา เป็นศาสดาของเรา
1
เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ
1
หมายเหตุ: ที่มา กาลามสูตร วิกิพีเดีย
โฆษณา