25 พ.ค. 2022 เวลา 06:53 • อสังหาริมทรัพย์
- ปลูกกล้วยเลี่ยงภาษีที่ดิน...ทำได้จริงหรือไม่? -
6
1) กรณีที่อิมแพ็ค อารีน่า แปลงที่ดินรกร้าง 50 ไร่ริมทะเลสาบเมืองทองธานีให้กลายเป็นสวนกล้วยกว่า 10,000 ต้น พร้อมแจ้งจุดประสงค์เพื่อใช้ในครัวอิมแพ็คและแบ่งปันให้สังคม เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ากรณีนี้เป็นการ “เลี่ยงภาษีที่ดิน” ด้วยการปรับมาทำเกษตรกรรมกะทันหันหรือไม่ และทำไมจึงเล็ดรอดตาข่ายของกฎหมายไปได้
11
2) จากการค้นตัวบทกฎหมายและคำให้สัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายภาษีที่ดิน ต้องบอกว่า “การปลูกกล้วยเลี่ยงภาษีที่ดินน่าจะทำได้จริง”
2
3) ตัวกฎหมายวางเกณฑ์อย่างไรที่จะถือว่าที่ดินนั้นเป็นที่ดินเกษตรกรรมจริง? ต้องไปดูที่กฎหมายลูกนั่นคือ “ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม” ประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2563
6
ข้อที่ 2 ระบุว่า “การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้หมายถึง การใช้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ตามความหมายของคำว่า “ประกอบการเกษตร” ในระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนา การเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกร พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค จำหน่าย หรือใช้งานในฟาร์ม แต่ไม่รวมถึงการทำการประมงและการทอผ้า”
7
4) จะเห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้ระบุว่าที่ดินนั้นๆ ต้องทำการเกษตรเป็นอาชีพคือเพื่อ “จำหน่าย” เพียงอย่างเดียว แต่จะใช้เพื่อบริโภคเองก็นับรวมด้วย
5) กฎหมายตัวนี้ยังมีบัญชีแนบท้ายด้วยว่า การปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ต้องมากแค่ไหนจึงจะถือว่าใช้ทำเกษตรจริง เช่น
2
- กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า 200 ต้น/ไร่
- มะม่วง 20 ต้น/ไร่
- มะนาว 50 ต้น/ไร่
- ยางพารา 80 ต้น/ไร่
- ส้มเขียวหวาน 45 ต้น/ไร่
- วัว 7 ตารางเมตรต่อ 1 ตัว
- สัตว์ปีกเลี้ยงปล่อย เช่น เป็ด ไก่ 4 ตารางเมตรต่อ 1 ตัว
(เห็นได้ว่าที่ดินอิมแพ็ค อารีนา 50 ไร่ x กล้วย 200 ต้น = 10,000 ต้น ตรงตามกฎหมายกำหนดให้เป็นที่ดินเกษตรกรรม)
11
6) ย้อนไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2563 “ชุมพล สุวรรณกิจบริหาร” เลขานุการกรมจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) (ตำแหน่งขณะนั้น) เคยขึ้นตอบคำถามในเวทีสัมมนาวิชาการ “ไขข้อข้องใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” โดยตอบคำถามถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินไว้ว่า
3
“ดูตามเจตนาการใช้ประโยชน์ เช่น สร้างโรงเรือนเพื่อเลี้ยงไก่ถือเป็นเกษตรกรรม และดูจากการใช้งานจริงบนที่ดิน ไม่ใช่อาชีพของเจ้าของทรัพย์ ดังนั้น หากทรัพย์มีไว้ทำเกษตรกรรมจะถือว่าเป็นที่ดินเกษตรกรรม หากเจ้าของไม่ใช่เกษตรกร ไม่ต้องไปลงทะเบียนเป็นเกษตรกร เพราะกฎหมายไม่ได้ระบุให้ตรวจสอบจุดนี้”
2
7) เช่นเดียวกับ “ประสงค์ พูนธเนศ” (อดีต) ปลัดกระทรวงการคลัง ที่ให้สัมภาษณ์สื่อในเดือนมกราคมปี 2563 ว่า “เป็นสิทธิ์ที่เจ้าของที่ดินจะทำได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ โดยกระทรวงการคลังมองว่า การปลูกมะนาวในที่ดิน เป็นการสร้างมูลค่าให้ที่ดิน ดีกว่าปล่อยให้ทิ้งร้างไว้เฉยๆ” (--อ้างอิง ไทยรัฐออนไลน์)
5
😎 สรุปได้ว่า มหกรรมการปลูกกล้วยปลูกมะนาวน่าจะยังมีต่อเนื่องเพราะมีช่องให้ทำได้ ความหวังที่ที่ดินรกร้างจะถูกปล่อยมือโดยเร็วเพราะเจ้าของรับภาระภาษีที่ดินไม่ไหว...คงจะเป็นเรื่องยาก
3
ทำไมเจ้าของที่ดินจึงตื่นตัวกับการแปลงที่ดินเปล่าเป็นสวนกล้วย?
1) ย้อนความกันเล็กน้อย ภาษีที่ดินที่พูดถึงกันอยู่นี้มาจากการออกกฎหมาย พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 เพื่อนำมาใช้แทนการเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือน แต่เดิมภาษีที่ดินจะเริ่มเก็บเต็มจำนวนตั้งแต่ปี 2563 แต่บังเอิญประเทศไทยเผชิญโรคระบาด COVID-19 เสียก่อน จึงมีการผ่อนผันลดภาษีที่ดิน 90% มาสองปี จนถึงปีนี้ 2565 ที่จะมีการเก็บเต็มจำนวน
4
2) เนื้อความหลักของกฎหมายคือการแบ่งที่ดินออกเป็น 3 ประเภท คือ ที่ดินเกษตรกรรม, บ้านพักอาศัย และที่ดินอื่นๆ และรกร้างว่างเปล่า แต่ละประเภทจะถูกจัดเก็บภาษีไม่เท่ากัน
3) ประเด็นหลักที่ถูกเพ่งเล็งมาตลอดนับตั้งแต่มีการร่างกฎหมายคือ จุดประสงค์หนึ่งของกฎหมายนี้ต้องการจะลดการกักตุนที่ดินของเศรษฐี เก็บไว้โดยไม่ใช้ทำประโยชน์ กลายเป็นที่ดินรกร้าง ในขณะที่คนไทยทั่วไปอีกมากขาดที่ดินทำกินหรือที่อยู่อาศัย ทำให้การเก็บภาษีที่ดินรกร้างจะสูง เริ่มต้นที่อัตรา 0.3% และปรับเป็นขั้นบันไดตามมูลค่าที่ดิน แถมตีบวกเพิ่มอีก 0.3% ทุกๆ 3 ปีที่ยังเก็บที่ดินไว้เฉยๆ
4
4) กรณีตัวอย่าง สมมติว่าเศรษฐี A มีที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาท และปล่อยไว้เป็นที่รกร้าง ก็จะถูกเก็บภาษี 350,000 บาทต่อปี
5) หันไปมองทางภาษีของที่ดินเกษตรกรรม อัตราภาษีเริ่มที่ 0.01% และขึ้นเป็นขั้นบันไดตามมูลค่าที่ดินเช่นกัน แต่ด้วยอัตราที่ต่างกันมาก สมมติว่าที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทนี้ถูกนำไปใช้ทำเกษตรกรรม ค่าภาษีที่ดินจะเหลือแค่ 5,000 บาทต่อปี! หรือต่างกัน 70 เท่า
7
6) ส่วนต่างขนาดนี้ทำให้เจ้าของที่ดินต่างเตรียมตัวปลูกมะนาว ปลูกกล้วยกันถ้วนทั่ว เพราะแม้ว่าจะเสียค่าพันธุ์ไม้ ค่าคนดูแลสวน ก็ดูท่าจะยังคุ้มค่ากว่าการจ่ายในอัตราภาษีที่ดินรกร้าง ทำให้ปรากฏการณ์สวนเกษตรใหม่เกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ใช่แค่ที่อิมแพ็ค อารีนา และเริ่มปลูกกันมาตั้งแต่ปี 2563 เพราะเกรงว่าจะมีการเก็บเต็มจำนวน
3
ภาพจาก: Facebook@IMPACTvenue
#ภาษีที่ดิน #ที่ดิน #ขายที่ดิน #สวนกล้วย #Positioningmag
ติดตามข่าวอื่นๆ ได้ที่ positioningmag.com
1
โฆษณา