26 พ.ค. 2022 เวลา 00:51 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ความเข้าใจผิด ค่าลดหย่อนภาษี
บางคนเข้าใจว่า ค่าลดหย่อนภาษีก็เหมือนกับค่าใช้จ่ายในการหักภาษี หรือบางคนเข้าว่า ลดหย่อนเท่ากับลดภาษี เป็นแบบนั้นหรือเปล่า มาอ่านโพสนี้กัน...
ค่าลดหย่อนกับค่าใช้จ่ายเป้นคนละอย่างกันนะ
ค่าใช้จ่าย จะเป็นค่าที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วว่า สามารถหักได้แบบไหนเท่าไหร่ ตามลักษณะของรายได้ ซึ่งจะมีรายได้,u ค ประเภท เป็นรายได้ 40(1) ถึง 40 ( 8 ) อย่างเช่น รายได้ที่เป็นลักษณะเงินเดือน เป็นรายได้ 40(1) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมาเท่านั้น โดยหักได้ในอัตรา 50% ของรายได้แต่ไม่เกิน 100,000 บ. นะ
รายได้แต่ละประเภทเป็นยังไง หักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมาหรือตามจริง อ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้นะ
ค่าลดหย่อน คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายให้ตามภาระ และสถานการณ์อื่นๆ เช่น ลดหย่อนส่วนตัว ได้ 60,000 บ. หักลดหย่อนบิดา-มารดา ได้ 30,000 บ., หักลดหย่อนประกันสังคม ได้ตามที่จ่ายริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บ. หักลดหย่อน SSF , RMF เป็นต้น ซึ่งค่าลดหย่อนจะมีปรับเปลี่ยนทุกปี อย่างเช่นปี 65 นี้มี ช้อปดีมีคืนนะ ซึ่งค่าลดหย่อนต้องคอยติดตามว่าปีไหนมีอะไรเป็นค่าลดหย่อนได้บ้าง เท่าไหร่นะ
ลดหย่อนภาษีไม่เท่ากับการลดภาษีนะ
เนื่องจาก รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
“เงินได้สุทธิ” จะนำไปคำนวณอัตราภาษี ซึ่งบ้านเราอัตราภาษีเป็นขั้นบันได
ค่าลดหย่อนภาษี เป็นการนำไปหักจากรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย เพื่อออกมาเป็นเงินได้สุทธิ ก่อนนำมาเข้าอัตราภาษี การนำค่าลดหย่อนมาหักเพิ่มคนที่เสียฐานภาษีสูง จะประหยัดภาษีได้มากกว่า ลองดูตัวอย่างในรูปนะ
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #ภาษี #คิดภาษี #คำนวณภาษี #ค่าลดหย่อน #ค่าลดหย่อนภาษี #ค่าใช้จ่าย #เงินได้สุทธิ #รายได้ #เงินได้ #รายได้8ประเภท #เงินได้8ประเภท #อัตราภาษี
โฆษณา