26 พ.ค. 2022 เวลา 09:38 • ข่าวรอบโลก
กราดยิงในสหรัฐฯ เหตุการณ์วนลูปซ้ำๆ
เสรีภาพการครอบครองปืน การเมือง และฐานเสียง
อำนาจอัดฉีดเงินล็อบบี้ของผู้ค้าอาวุธและผู้มีอิทธิพล
4
เหตุการณ์กราดยิงในสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และถี่มากขึ้น และทุกครั้งก็นำมาซึ่งความสูญเสียของผู้บริสุทธิ์หลายสิบชีวิต นับเป็นประเทศที่มีเกิดเหตุลักษณะนี้มากที่สุดในโลก ตามรายงานของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ
2
สังคมโลกตั้งทำถามต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่าทำไม ประเทศมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลกถึงไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหานี้ได้เสียที นอกจากจะแก้ไขไม่ได้แล้ว เหตุการณ์กราดยิงในแต่ละครั้งก็รุนแรงเพิ่มขึ้น และเกิดในสถานที่ที่ไม่ควรจะเกิด
ที่สำคัญคือผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่มีอายุน้อย บ้างก็เป็นเยาวชน บ้างก็เพิ่งเป็นผู้ใหญ่ที่เหมือนกับไม่อยากมีอนาคตที่สดใส เพราะเลือกที่จะกลายเป็น “ฆาตรกร”
เหตุการณ์กราดยิงครั้งล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นไปในโรงเรียนประถม ในรัฐเท็กซัส มีเด็กๆ และคุณครูต้องสังเวยชีวิตไปถึง 21 ราย ซึ่งผู้ก่อเหตุเป็นชายวัยรุ่นอายุเพียง 18 ปี ที่กล้าจะโพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊กว่าเขาจะไปก่อเหตุในโรงเรียนแห่งนี้
3
ความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในสถานที่ที่ไม่ควรจะเกิดอย่างโรงเรียนสำหรับเด็กเล็ก กลายเป็นสิ่งที่สังคมอเมริกันกำลังถกเถียงถึงการครอบครอบอาวุธปืนของพลเมือง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายไม่ต่างอะไรกับการเดินเข้าไปซื้อขนมในมินิมาร์ท แถมในบางรัฐไม่ต้องมีการตรวจสอบประวัติอาชญากร ไม่ต้องมีใบอนุญาต หรือไม่จำกัดอายุของผู้ใช้งาน
ทำให้อเมริกันชนสามารถเข้าถึงและครอบครองปีนอย่างถูกกฎหมายได้ง่ายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐระบุเอาไว้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะ 10 ข้อแรกที่อยู่ใน ‘Bill of Rights’ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยประกาศเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1776 โดยใน 10 ข้อแรกนี้มีอยู่ 1 ข้อที่สำคัญที่สุดคือ “Right of Bear Arms” สิทธิเสรีภาพในการครอบครองอาวุธ
1
ทำให้ร้านจำหน่ายอาวุธปืนและตัวแทนจำหน่าย สามารถจำหน่ายปืนพก (เช่น 9 มม.)ให้กับบุคคลที่อายุไม่ต่ำกว่า 21 ปี แต่ถ้าหากอายุไม่ถึงเกณฑ์ไม่สามารถซื้อปืนพกได้ แต่สามารถซื้อปืนยาว (เช่น ไรเฟิล หรือลูกซอง) ให้บุคคลที่อายุ 18 ปีขึ้นไปได้ แต่ปืนไม่มีใบอนุญาต หรืออายุผู้ครอบครองไม่ถึงเกณฑ์ก็มีการซื้อกันแบบไม่มีใครรู้ได้อีก
แม้กฎหมายรัฐธรรมนูญจะกำหนดช่วงอายุของผู้ซื้อหรือครอบครองเอาไว้แบบกว้างๆ แต่หลายรัฐก็มีกฎหมายเป็นของตัวเอง โดยบางรัฐให้สิทธิเกณฑ์การครอบครองปืนในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 14 ปีเท่านั้น ซึ่งก็คือรัฐมินนิโซตา
4
วัฒนธรรมในครอบครัวอเมริกันหลายบ้าน มักซื้อปืนเป็นของขวัญวันเกิดให้กับลูก โดยเฉพาะในรัฐเท็กซัส รัฐที่มีพื้นฐานมาจากความเป็นคาวบอยที่สนับสนุนการพกพาครอบครองปืนอย่างเต็มที่ โดยร้านจำหน่ายปืนแทบจะมีอยู่ทุกที่ เข้าถึงได้ง่าย และยังอนุญาตให้ชาวเมืองที่อายุ 18 ปีขึ้นไปครอบครองปืนได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาต ไม่ต้องได้รับการอบรมใดๆ อีกด้วย
2
นอกจากนี้อิทธิพลของสมาคมปืนไรเฟิลแห่งชาติสหรัฐ หรือ NRA ซึ่งนับได้ว่าเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการเมืองสหรัฐฯ ไม่เพียงเพราะเงินที่ใช้ในการล็อบบี้นักการเมือง แต่ยังเป็นเพราะการมีส่วนร่วมของสมาชิก 5 ล้านคน
1
NRA เป็นผู้คัดค้านข้อเสนอในการแก้ไขกฎระเบียบอาวุธปืนและอยู่เบื้องหลังความพยายามทั้งในระดับรัฐบาลกลางและระดับรัฐเพื่อลดข้อจํากัดที่มีอยู่มากมายในการเป็นเจ้าของปืน
1
ในปี 2016 NRA ใช้เงิน 4 ล้านดอลลาร์ในการล็อบบี้และการมีส่วนร่วมโดยตรงกับนักการเมืองรวมถึง ให้เงินการสนับสนุนทางการเมืองมากกว่า 50 ล้านดอลลาร์รวมถึงประมาณ เพื่อช่วยเลือกให้โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
อีกทั้งยังเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณประจำปีราว 250 ล้านดอลลาร์ ในการจัดสรรกิจกรรมจต่างของสมาชิก รวมทั้งการสนับสนุนทางกฎหมายและความพยายามที่เกี่ยวข้องกับปืน
1
อย่างไรก็ตามสิ่งที่มากกว่าการใช้เงินล็อบบี้ NRA ได้มีอิทธิพลต่อวอชิงตันในฐานะฐานเสียงทางการเมืองที่สามารถสร้างหรือทำลายอนาคตทางการเมืองได้แม้แต่นักการเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด
3
คะแนนเสียงของคนกลุ่มนี้มีอยู่จำนวนไม่น้อย และแทรกซึมอยู่ในกลุ่มคนทุกชนชั้น พวกเขากำหนดทิศทางของทรัพยากรและของสมาชิก เพื่อสนับสนุนนักการเมืองในการเอาชนะฝ่ายตรงข้าม
5
เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังปัญหาสังคมหลายๆ อย่างที่มีมากขึ้นในสหรัฐฯ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมในการใช้อาวุธปืนในทางที่ผิด ตัวอย่างเช่น ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระหว่างคนรวยและคนจนที่ถูกถ่างออกอย่างต่อเนื่อง ความขัดแย้งทางสังคมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
สังคมมีแนวโน้มแตกแยกอย่างต่อเนื่อง และคนบางกลุ่มกำลังถูกผลักไสให้กลายเป็นคนชายขอบ ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้อาจทำให้ชาวอเมริกันบางคนมีปัญหาทางจิตใจ ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วได้ส่งผลร้ายต่อสังคมอเมริกัน ในรูปแบบความรุนแรงต่างๆ รวมถึงการกราดยิง
4
เมื่อเร็วๆ นี้ หน่วยรักษาความปลอดภัยของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่าในช่วง 5 ปีก่อนลงมือก่อเหตุ ผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่มีความเครียดที่สังเกตเห็นได้ชัดอย่างน้อยหนึ่งประการ เข่น หย่าร้าง ตกงาน ไร้ที่อยู่อาศัย หรือไม่ได้รับการดูแลและยอมรับในครอบครัว รายงานแสดงให้เห็นว่าปัญหาสังคมเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของเหตุกราดยิงในสหรัฐฯ
การที่เป็นบุคคลชายขอบ ไม่มีตัวตนในสายตาของใครแม้แต่คนใกล้ตัว ก็กลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนเหล่านี้ตัดสินใจแสดงออกบางอย่างเพื่อให้เป็นจุดสนใจในสังคม
1
พฤติกรรมเลียนแบบเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้นักจิตวิทยาในสหรัฐฯ มองว่า การที่คนที่เห็นตัวอย่างจากการรายงานของสื่อที่เกาะติดเรื่องดังกล่าวตลอดเวลา เปรียบเสมือนการฉายสปอตไลท์ไปยังผู้ก่อเหตุ ตัวอย่างที่คนที่มีความคิดว่านี่คือการสร้างจุดเด่นให้กับตัวเองที่ดูแล้วรู้สึกว่ามันเท่ห์ ก็ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียแบบได้เช่นกัน
ฉะนั้นเหตุการณ์ครั้งนี้คงไม่ใช่เหตุการณ์ครั้งสุดท้ายที่จะเกิดขึ้น เพราะอิทธิพลทางการเมืองมีผลต่อการแก้ไขกฎหมาย และไม่ได้มองว่านี่คือปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ไข การกราดยิงในครั้งต่อไปอาจเกิดขึ้นเร็วและถี่มากขึ้นกว่าอดีตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Line : @reporterjourney
โฆษณา