Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Talk with Sis จิตวิทยารอบตัว
•
ติดตาม
26 พ.ค. 2022 เวลา 12:23 • ปรัชญา
ในยุคปัจจุบัน เรามักจะได้เห็นภาพของการที่ตั้งคำถามกับสิ่งที่ตนเองต้องปฎิบัติตามกติกาต่างๆ เช่น ในโรงเรียน
ตัวอย่างเช่นที่นิตยสาร Atlantic ไ้ตีตีพิมพ์เรื่อง "วัยรุ่นประท้วงการนำเสนอหน้าชั้นเรียน" โดยเด็กอายุ 15 ปี โดยทวิตข้อความว่า
"เลิกบังคับให้นักเรียนนำเสนอหน้าชั้นเสียที แล้วให้ตัวเลือกว่าไม่ต้องนำเสนอหน้าชั้นด้วย"
"พวกครูได้โปรดหยุดบังคับให้นักเรียนนำเสนอ โรควิตกกังวลมีอยู่จริง"
"ไม่ควรมีใครถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ ถึงการพูดหน้าชั้นจะสร้างความมั่นใจและเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในโรงเรียนก็ตาม ฉันคิดว่าถ้านักเรียนคนนั้นกระบวนกระวายและวิตกกังวลเพราะการพูดหน้าชั้นจริงๆ โรงเรียนก็ควรทำให้มันเครียดน้อยลงกว่านี้ โรงเรียนไม่ใช่ที่นักเรียนควรจะกลัว
ครูหลายๆ คนเเห็นด้วยกับเด็กๆ เลยพยายามหาการเรียนรู้ทางเลือกที่มีความเสี่ยงทางอารมณ์และสังคมน้อยกว่า และทำให้เด็กๆ สบายใจมากกว่าเดิมมาใช้
ซึ่งก็ไม่ผิดนะ แต่ถ้าคิดอีกมุมหนึ่ง เด็กๆ ขาดโอกาสในการได้รับการสนับสนุนให้มีการเติบโตและมั่นใจจากครู เพราะครูยอมรับกับแนวคิดที่ตายตัวและขาดการยืดหยุ่นของเด็กๆ (ส่วนหนึ่งจากหนังสือ Personality isn't Permanent)
เป็นประเด็นที่น่าสนใจทีเดียว เพราะโดยส่วนตัวแล้วเคยผ่านประสบการณ์การกลัวการนำเสนอหน้าห้องมาด้วยเหมือนกัน
แต่วิธีการที่เราตอบสนองก็ทำได้
เพียงทำตามที่ได้รับมอบหมาย พอทำงานก็หลีกเลี่ยงการพูดโดยให้ลูกน้องทำหน้าแทนกรณีมีงานพิธีการต่างๆ แต่เมื่อต้องเรียนในระดับชั้นปริญญาโท จำเป็นที่จะต้องนำเสนอซึ่งเป้นเรื่องปกติของนิสิตที่จะต้องมีการค้นคว้าและนำมาแชร์กัน อาการเป็นอย่างไรหรือ ก็อาการก็ตื่นเต้น พูดรัว มือไม้สั่น
และอาการนี้หายเมื่อไหร่ ก็เมื่อจำเป็นต้องทำอีกครั้งเมื่อเราต้องทำงานในบทบาทของการสอน การสอนบ่อยๆ พูดทำบ่อย อาการค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ จนคิดว่าหายนะ อาการเวลาเราตื่นเต้นเวลาทำสิ่งใหม่ๆ ก็เป็นเรื่องปกติละ ก็มีวิธี Relaxation การเตรียมความพร้อม ฯลฯ ไป ก็ช่วยได้มากๆ เลยค่ะ
ความน่าสนใจในประเด็นนี้ การที่เราเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตตั้งแต่วัยเด็ก โดยที่สิ่งนั้นทำให้เรามีชีวิตรอด ปลอดภัย เติบโตเป็นผู้ใหญ่
เรามักจะพบรูปแบบของชุดความคิด หรือพฤติกรรม หรือวิธีการที่เรารับมือกับสิ่งต่างๆ ก็จะถูกหล่อหลอมขึ้นมา จนเป็นความเชื่อ หรือกฎของการใช้ชิวิตของเรา และเราก็จะทำพฤติกรรมเดิมๆ ซ้ำๆ เพราะมันช่วยเราให้เป็นอยู่แบบปัจจุบันที่เรารู้สึกโอเคกับมัน
เบื้องหลังของสิ่งที่ผลักดันให้เรามีพฤติกรรมหรือวิธีการรับมือคือ "ความกลัว"
แล้วเรากลัวอะไรกันอยู่หรือ ?
ความกลัวมี 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1
> ความกลัวสิ่งที่เกิดขึ้นมา เช่น ความแก่ชรา การเกษียณ การอยู่คนดียว การเปลี่ยนแปลง ความตาย การสูญเสีย เป็นต้น
> ความกลัวเมื่อต้องทำบางอย่าง เช่น การกลับไปเรียนอีกครั้ง การตัดสินใจ การเปลี่ยนงาน การไปพบแพทย์ การเลิกหรือการเลิกความสัมพันธ์ การพูดต่อหน้าชุมชน ความผิดพลาด เป็นต้น
ระดับที่ 2
> ความกลัวสิ่งที่เกิดขึ้นมา เช่น กลัวถูกปฎิเสธ ความสำเร็จ ความล้มเหลว การตกอยู่ในภาวะล่อแหลม เป็นต้น
> ความกลัวเมื่อต้องทำบางอย่าง เช่น การถูกหลอก การอับจนหนทาง การไม่ได้รับการยอมรับ การเสื่อมภาพลักษณ์ เป็นต้น
ระดับที่ 3
> กลัวว่าจะไม่มีทางจัดการกับมันได้แน่ๆ
ซึ่งความกลัวระดับนี้ จะลึกไปในก้นบึงของความกลัวทุกอย่าง ที่กำลังรู้สึกอยู่ในใจ เป็นความกลัวว่าจะไม่มีทางจัดการกับอะไรก็ตามที่เราอาจจะต้องเจอในชีวิต
ดังนั้น อาจตีความเชื่อมโยงจากระดับที่ 1 หรือ 2 ไปสู่ระดับที่ 3 นั้นได้ว่า เรากำลังกลัวว่า
• ฉันไม่มีวันรับมือกับเรื่องผิดพลาดได้แน่ๆ
• ฉันไม่มีทางจัดการกับความโดดเดี่ยวเดียวดายได้หรอก
• ฉันไม่มีวันรับมือกับการสูญเสียเขาไปจากชีวิตแน่ๆ
• ฉันไม่มีวันที่จะรับมือกับความล้มเหลวได้แน่ๆ
• ฉันไม่มีทางจัดการกับการถูกปฏิเสธได้หรอก
เป็นต้น
และหากเรารู้ตัวว่าเราสามารถจัดการกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตได้ เราจะยังกลัวมันอยู่ไหม?
ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ลดความกลัวในใจคือ การพยายามทำให้ตัวเองเชื่อมันขึ้นเรื่อยๆ ว่าจะจัดการกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตได้ทุกอย่าง
(ส่วนหนึ่งจากหนังสือ Feel the Fear and Do It Anyway)
หนทางที่สามารถเพิ่มความเชื่อมัานว่าตนเองจะจัดการกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตทุกอย่างได้ คือ การผ่านประสบการณ์การลงมือทำจริง เพื่อให้เราเกิดประสบการณ์เรียนรู้สิ่งที่เราคิด ความกลัว กังวลที่เรามือ เทียบกับหลังการลงมือทำ และเกิดการเรียนรู้
สิ่งนี้เองที่ทำให้เรามีโอกาสเรียนรู้ และเติบโต และถ่างขยายการกล้าออกจาก Comfort zone เดิมๆ ที่เราติดกับดักอยู่
ลองเปลี่ยนมุมคิด ถ้าเราต้องเผชิญในสิ่งที่เรากลัวอยู่ ลองเผชิญ และตกผลึกในตนเองดูว่าเราได้เติบโต หรือเรียนรู้อะไรบ้าง เชื่อว่าอะไรก็ตามที่เราเผชิญมัน มันให้คุณค่าและการเรียนรู้กับเราเสมอ อยู่ที่มุมมอง ไม่มีใครเติบโตได้จากการหลีกหนี!!!
Panchali K. 26.05.2022
#บันทึกเท่าที่เรียนรู้
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย