29 พ.ค. 2022 เวลา 07:00 • ไลฟ์สไตล์
#Dopamine 🧠 สารเคมีที่ซุกซ่อนอยู่ในสมองวิวัฒนาการคนให้อัจฉริยะ สร้างนิสัยไม่อยู่นิ่ง
ร่างกายมนุษย์เรื่องของ ‘สมอง’ เป็นเรื่องที่ละเอียดเเละซับซ้อน สมองของคนเราแต่ละส่วนมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ทุกสิ่งการกระทำของเราจะถูกกระตุ้นด้วยการหลั่งสารเคมีออกมาจากสมอง เรื่องแปลกประหลาดที่เราตัดสินใจทำ หรือการกระทำบางอย่างที่เราหาคำตอบไม่ได้อาจมาจากสารเคมีบางอย่างในสมองที่ซ่อนอยู่
🔻#โดพามีน หรือ โดปามีน (dopamine) สูตรเคมี คือ สูตรทางเคมี คือ C8H11NO2 เป็นสารเคมีในสมอง เรียกว่าสารสำเร็จ 'เมื่อได้รับ' ก็จะพรั่งพรูมาก เมื่อเราได้รับในสิ่งที่ต้องการ จัดอยู่ในกลุ่มแคทีโคลามีน สร้างมาจากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน
โดยอาศัยการทำงานของ เอนไซม์ไทโรซีนไฮดร็อกซิเลส เป็นทั้งสารสื่อประสาทที่คอยกระตุ้น โดพามีนรีเซพเตอร์ (dopamine receptor) และเป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โดยเมื่อโดพามีนถูกหลั่งออกมาแล้วจะส่งผลต่ออารมณ์ให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น และไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว
🕵️‍♀️มีวิจัยจาก Yale School of Medicine ที่วิจัยถึงความฉลาดของมนุษย์
ที่มีมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ การศึกษาในวิจัยนี้ได้เชื่อมโยงระบบโดพามีน (Dopamine)
ในมนุษย์กับสติปัญญาที่สูงขึ้น นี่อาจตอบได้ว่าทำไมมนุษย์ถึงมีวิวัฒนาการที่เก่งมากกว่าสัตว์อื่นๆ บนโลกใบนี้ เเละสิ่งมีชีวิตบนโลกทั้งหมดมีเพียงเเค่มนุษย์ที่มีสารเคมีนี้ในสมองมากที่สุด
🧠ถ้าสมองเเละร่างกายมีระดับโดพามีนสูงกว่าปกติ หรือเมื่อบางส่วนของสมองสัมผัสกับโดพามีนมากเกินไป ทำให้มีความสามารถในการ ‘โฟกัสและการเรียนรู้ที่ดีขึ้นมากกว่าในหมู่คนอื่น ๆ’ รวมถึงพลังงานที่เพิ่มขึ้น ความบ้าคลั่ง ความเครียด นอนหลับยาก
🔻เหล่าคนที่เราเรียกพวกเขาว่าอัจฉริยะ โดพามีนก็เป็นส่วนหนึ่งผลักดันให้พวกเขาค้นหาคำตอบของจักรวาลเเละได้ความรู้ที่ส่งมาถึงยุคปัจจุบัน จากหนังสือ ‘The Molecule of More’ เขียนโดย ‘Daniel Z. Lieberman’ เเละ ‘Michael Long’ ยังพูดถึงโดพามีนสารสื่อประสาทก็เป็นแหล่งที่มาของความปรารถนา (ผ่านวงจรความปรารถนา) และความดื้อรั้น (ผ่านวงจรควบคุม) ความหลงใหล
นอกเหนือจากความปรารถนาและแรงจูงใจ ยังมีวงจรที่ซับซ้อนมากขึ้นที่ช่วยให้เราสามารถคิดในระยะยาววางแผนและใช้แนวคิดนามธรรม เช่นคณิตศาสตร์เหตุผลและตรรกะ
📖ในหนังสือยังพูดถึงความบ้าเเละความอัจฉริยะภาพมีเส้นบางๆ กั้นไว้เป็นสิ่งขั้วตรงข้ามที่สมองทำได้ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับโดพามีน สารตัวนี้ในสมองเองจึงเกี่ยวข้องกับจิตเภท คือผู้ป่วยมีโดพามีนสูงเกินไปก็จะเกิดอาการหลอน หรือ หลงผิด
💭ความฝันถูกขับเคลื่อนด้วยโดพามีน
เหล่านักช่างฝันที่มีความคิดอยู่ในโลกของตัวเอง มักจะหลุดลอยออกไป โดพามีนจะมีการหลั่งออกมาระหว่างที่ฝันเเละเป็นอิสระจากสารสื่อประสาท H&N ที่มุ่งเน้นความจริง ทำให้วงจรโดพามีนสร้างการเชื่อมโยงที่แปลกประหลาดขึ้น ทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ที่ในเวลาปกติเราเเทบจะไม่สามารถนึกถึงได้
🔻การมีโดพามันสูงทำให้คนฉลาดเข้าสังคมไม่ค่อยเก่ง หรือดูมีนิสัยประหลาด เพราะเมื่อโดพามีนไปกดสารสื่อประสาท H&N ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทำให้คนฉลาดมักจะมีบุคลิกที่เข้าใจยาก ยังทำให้คนฉลาดเหล่านี้สนใจถึงเรื่องของโลกภายนอกจนลืมสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะละเลยกับสิ่งที่ทำอยู่ เช่น เผลอใส่เสื้อกลับด้าน ใส่ถุงเท้าสลับสี หรือเผลอทำอะไรซุ่มซ่าม
🔻ถ้าโดพามีนลดลง
เมื่อไหร่ก็ตามที่โดพามีนลดลง จะทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย ขาดเเรงจูงใจ ไม่สามารถทำให้ตัวเองรู้สึกพึงพอใจขึ้นมาได้ หรือไม่สามารถลดน้ำหนักได้ การขาดโดพามีนมีด้วยหลายสาเหตุ เช่น การเป็นโรค ซึมเศร้า โรคจิตเภท หรือโรคพาร์กินสัน
🔻โดพามีนอาจเป็นหนึ่งในสารที่ถูกหลังออกมาจากในสมองซึ่งทำให้มนุษย์มีความรู้สึกว่าไม่เพียงพอเเละต้องการเพิ่มอีก เป็นการคิดนอกกรอบของความปกติที่มีอยู่ การมีโดพามีนสูงจนพาไปถึงการเป็นอัจฉริยะก็มีทั้งด้านดีเเละด้านลบ เราควรรักษาสมดุลของสารเคมีในสมองให้อยู่ในระดับที่เป็นปกติไม่ควรให้ขาดหรือเกินเพื่อสุขภาพที่ดี
📍ข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
#LetTheTrustedBeYourFriend
#TheTrusted
คนอัจฉริยะ
โฆษณา