Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
IDis
•
ติดตาม
27 พ.ค. 2022 เวลา 14:57 • ศิลปะ & ออกแบบ
สานไหม...ใส่ลาย
คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกับผ้าไหมมานานแสนนาน ด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นสวยงาม วิจิตรบรรจงเมื่อต้องแสงจะเหลือบเลื่อมเป็นมันเงา ทำให้วันนี้ของผ้าไหมดูสดใสมีชีวิตชีวา จนกลายเป็นสื่อสัญลักษณ์หนึ่งที่ทำให้คนทั่วโลกได้รู้จักและตระหนักในคุณค่าของความเป็นไทย
อย่างไรก็ดีความจำเป็นมักเดินสวนทางกับสภาพความป็นจริงเสมอ ในยุคปัจจุบันที่การค้าเข้ามาข้องเกี่ยวกับทุกเรื่องราวทำให้ชาวบ้านจำต้องเร่งผลิตผ้าไหมให้แปลกใหม่และมีปริมาณมากขึ้นเพื่อความอยู่รอดในสังคม กระบวนการรวมถึงกรรมวิธีและการผลิตผ้าไหมจึงเปลี่ยนแปลงไปบ้างในบางพื้นที่ เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาท หากแต่ความสม่ำเสมอในคุณภาพของผ้าไหมยังคงเดิม
ผ้าไหมยกดอกและผ้าไหมสีเรียบ
ผ้าไหมที่รู้จักและนิยมกันมีอยู่หลายประเภท อันได้แก่ผ้าไหมพื้น ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าขิด ผ้ายก ผ้าจก และผ้าแพรวา ซึ่งไหมแต่ละประเภทจะนิยมทอในต่างพื้นที่กัน อาทิ
ผ้าตีนจกลาวพวน
ผ้าไหมตีนจกจากลาวพวนที่ทำกันในจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุโขทัยเป็นผ้าไหมตีนจกที่ทอขึ้นด้วยความประณีต ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก บริเวณด้านบนของผืนผ้าใช้จะใช้ทอด้วยไหมสีดำ และแดง ในขณะที่เนื้อผ้าส่วนใหญ่จะทอกลับไป-มา ที่เรียกทางเทคนิคว่า “ยกมัก” บริเวณส่วนปลายผ้าไหมจะทำเป็นลวดลายเรียกว่าจก โดยใช้ไหมสีเหลืองทอง
ผ้าตีนจกลาวพวน
ผ้ายกลำพูน
ผ้าไหมลายนี้มาจากจังหวัดลำพูนที่ทำขึ้นมาเพื่อให้พันรอบเอวเป็นผ้าถุงที่เรียกว่า “หน้านาง” ซึ่งใช้สวมใส่ประเพณีในราชวงศ์สยาม รูปแบบนี้มีใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในศตวรรษที่ 14 ในระหว่างการทอผ้านี้จะใช้ทั้งเส้นไหม และทองมาทอร่วมกัน
ผ้ายกลำพูน
ผ้าเบี่ยงขิด
ผ้าสไบไหมหรือผ้าเบี่ยง (ผ้าพาดบ่า) เป็นผ้าไหมที่ทำขึ้นของคนภูไทที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุดรธานี และร้อยเอ็ด ลักษณะลายผ้าเป็นรูปทรงเรขาคณิตโดยทำเป็นแถบคู่ขนานกัน คุณภาพที่ดีที่สุดของผ้าสไบที่ออกแบบมานั้นจะไม่มีการทำซ้ำกัน
ผ้าเบี่ยงขิด
ผ้าตีนจกลาวครั่ง
ผ้าซิ่นตีนจกลาวครั่งที่เห็นนางแบบสวมใส่อยู่นั้นมาจากคนลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี ภาคกลางของประเทศ ซึ่งลักษณะของผ้าตีนจกลาวครั่ง จะเต็มไปด้วยสีสันลวดลายทรงเรขาคณิตผ้าไหมตีนจกลาวครั่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเนื้อผ้าที่ใช้กรรมวิธีแบบจก
ผ้าตีนจกลาวครั่ง
ผ้าตีนจกไทยวน
แสดงลักษณะดั้งเดิมของผ้าตีนจกไทยวนจากหมู่บ้านคูบัว จังหวัดราชุบรี สีที่โดดเด่นจะเป็นโทนสีแดงเข้ม สลับด้วยสีของเส้นไหมแนวนอน เช่น สีขาว, เหลือง, ส้ม และดำ ทำให้เป็นผ้าลายตีนจกที่สวยงาม
ผ้าตีนจกไทยวน
ผ้ายกพุมเรียง
ใช้เป็นผ้าถุงจับจีบรอบเอวในยุคศตวรรษที่ 14 ที่เรียกว่า “หน้านาง” ผ้าไหมที่ทำขึ้นมาจากตำบลพุมเรียง จังหวัดสุราษฏร์ธานี ทอด้วยไหมสีทองหรือเงิน เป็นสีพื้น ซึ่งทำให้มองดูแล้วโดดเด่นมีความรู้สึกที่มีค่า ลวดลายสลับซับซ้อนที่ทำขึ้นนั้นใช้สัดส่วนของเส้นไหมน้อยลง
ผ้ายกพุมเรียง
ผ้าไหมเกาะหรือล้วง
เป็นลายผ้าไหมที่ทอจากคนไทยลื้อที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น จังหวัดน่าน และพะเยา ลักษณะลายผ้า เรียกว่า ลายน้ำไหล ซึ่งหมายถึงเป็นลักษณะของสายน้ำไหล ทำด้วยเทคนิคพิเศษ โดยจะมีแถบลายแคบๆ บริเวณกึ่งกลางของผ้า
ผ้าไหมเกาะหรือล้วง
ผ้ายกเมืองนคร
ผ้าไหมลายนี้มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ทำขึ้นมาเพื่อให้พันรอบเอวเป็นผ้าถุงที่เรียกว่า “หน้านาง” ซึ่งใช้สีทองทอเป็นลายดอกเป็นรูปแบบโบราณ เทคนิคในการออกแบบขอบด้านล่างเป็นทรงกรวย และมีรายละเอียดที่ซับซ้อนและปราณีต
ผ้ายกเมืองนคร
ผ้ามัดหมี่อีสานเหนือ
ผ้าไหมมัดหมี่เป็นลายผ้าที่ทำขึ้นแตกต่างกันไป ไหมเส้นยืนจะย้อมสีด้วยสีโทนเข้ม เป็นลายผ้าของคนไทยทางภาคอีสานเหนือ ลวดลายที่เฉพาะเป็นพวกสัตว์ป่าขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพพื้นที่
ผ้ามัดหมี่อีสานเหนือ
ผ้ามัดหมี่อีสานใต้
เป็นผ้าไหมของคนอีสานใต้ ซึ่งสีส่วนใหญ่ออกโทนเข้มดำ ด้วยลายรูปทรงเขาคณิต ลักษณะของการทอเป็นลายมัดหมี่ ลวดลายที่ทำขึ้นอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติในท้องถิ่นนั้น เป็นลายต้นไม้ หรือลายที่ออกแบบทางสถาปนิกเป็นคนขี่ม้า เป็นต้น
ผ้ามัดหมี่อีสานใต้
ผ้าแพรวา
เป็นผ้าไหมจากปีนัง คนภูไทจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ทอขึ้นเรียกว่าผ้าไหมแพรวา ซึ่งใช้เป็นผ้าคลุมไหล่ โดยอาศัยเทคนิคผสมผสานกัน 3 รูปแบบในผืนผ้าที่ทำขึ้นเป็นลายผ้าทรงเรขาคณิต ผ้าไหมแพรวาที่มีคุณภาพจะมีความแตกต่างกันในแต่ละส่วน สีของเส้นไหมที่ใช้เป็นสีส้ม, ดำ และสีขาว ซึ่งจะติดกับสีแดงที่เป็นสีสันของผ้า
ผ้าแพรวา
ผ้าไหมพื้น
เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัดโดยใช้เส้นยืน และเส้นพุ่มธรรมดาตลอดกันทั้งผืน ผ้าที่ออกมาจะเป็นผ้าสีพื้นเรียบ ไม่มีลายโดยใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งเป็นสีเดียวกันหรือใช้สีต่างกันก็ได้ เป็นผ้าที่นิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งผ้าไหมไทยที่ส่งออกต่างประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมสินค้าไหมไทยได้กำหนดมาตราฐาน โดยแบ่งผ้าไหมเป็น 6 ชนิด คือแบ่งผ้าไหมเป็น 6 ชนิด คือ
1
1. ผ้าไหมไทยชนิดบางมาก ต้องทอด้วยไหมยืนที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 40 เดนเย่อร์ จำนวนไม่น้อยกว่า 34 เส้นต่อระยะหนึ่งเซนติเมตร (85 เส้นต่อระยะหนึ่งนิ้ว) และต้องมีน้ำหนักตั้งแต่ 59 กรัม ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 95 กรัม ต่อเนื้อที่หนึ่งตารางเมตร (50 กรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80 กรัม ต่อเนื้อที่หนึ่งตารางหลา)
2. ผ้าไหมไทยชนิดบาง ต้องทอด้วยไหมยืนที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 80 เดนเย่อร์จำนวนไม่น้อยกว่า 32 เส้น ต่อระยะหนึ่งเซนติเมตร (80 เส้นต่อระยะหนึ่งนิ้ว) และต้องมีน้ำหนักเกิน 95 กรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 143 กรัม ต่อเนื้อที่หนึ่งตารางเมตร (80 กรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 120 กรัม ต่อเนื้อที่หนึ่งตารางหลา)
3. ผ้าไหมไทยชนิดหนา ต้องทอด้วยไหมยืนที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 80 เดนเย่อร์ จำนวนไม่น้อยกว่า 32 เส้น ต่อระยะหนึ่งเซนติเมตร (80 เส้นต่อระยะหนึ่งนิ้ว) และต้องมีน้ำหนักเกิน 143 กรัมขึ้นไปแต่ไม่เกิน 179 กรัม ต่อเนื้อที่หนึ่งตารางเมตร (120 กรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 180-190 กรัม ต่อเนื้อที่หนึ่งตารางหลา)
4. ผ้าไหมไทยชนิดหนามาก ต้องทอด้วยไหมยืนที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 80 เดนเย่อร์ จำนวนไม่น้อยกว่า 32 เส้นต่อระยะหนึ่งเซนติเมตร (80 เส้นต่อระยะหนึ่งนิ้ว) และต้องมีน้ำหนักเกิน 179 กรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 275 กรัมต่อเนื้อที่หนึ่งตารางเมตร (150 กรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 230 กรัม ต่อเนื้อที่หนึ่งตารางหลา)
5. ผ้าไหมไทยชนิดหนาพิเศษ ต้องทอด้วยไหมยืนที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 120 เดนเย่อร์ จำนวนไม่น้อยกว่า 24 เส้นต่อระยะหนึ่งเซนติเมตร (60 เส้นต่อระยะหนึ่งนิ้ว) และต้องมีน้ำหนักเกิน 179 กรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 275 กรัม ต่อเนื้อที่หนึ่งตารางเมตร (150 กรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 230 กรัม ต่อเนื้อที่หนึ่งตารางหลา)
6. ผ้าไหมไทยชนิดหนามากพิเศษ ต้องทอด้วยไหมยืนที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 160 เดนเย่อร์จำนวนไม่ใน้อยกว่า 8 เส้นต่อระยะหนึ่งเซนติเมตร (20 เส้นต่อระยะหนึ่งนิ้ว) และต้องมีน้ำหนักเกิน 239 กรัมขึ้นไป ต่อเนื้อที่หนึ่งตารางเมตร (200 กรัมขึ้นไป ต่อเนื้อที่หนึ่งตารางหลา)
ผ้าไหม 4 เส้นเนื้อหนา (ซ้าย) - ผ้าไหม 2 เส้นเนื้อเรียบ (ขวา)
แหล่งที่มาของข้อมูล
ลวดลายบนผืนผ้า
http://thai-silk.exteen.com/page/11
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย