3 มิ.ย. 2022 เวลา 15:32 • การเมือง
ต้องเข้าใจคำว่า จริยธรรม ในเชิงรัฐศาสตร์ให้ชัดเจนก่อนอื่นค่ะ
เราคุ้นเคยกับคำว่าประชาธิปไตยอย่างดี ความหมายเชิงการเมืองการปกครองก็คล้ายกัน คือเป็นไปตามเสียงส่วนใหญ่
จริยธรรม ก็คล้ายกันคือ เป็นความคิดเห็นพ้องต้องกันในสังคมนั้นๆ ว่า การกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นเป็นไปตามความเห็นชอบของสังคมนั้นๆ
เช่น หมู่บ้าน ก. บอกว่า การมีชีวิตสมรส ต้องเป็น ผัวเดียวเมียเดียว เท่านั้น จึงจะยอมรับได้
แต่ในอีกประเทศ ในหมู่บ้าน ข. ยอมรับกันว่า ถ้า ผู้หญิงแต่งงานกับผู้ชายที่มีพี่น้อง 3 คน หรือกี่คนก็ตาม พี่น้องของฝ่ายสามี ที่เป็นชาย ก็ต้องกลายเป็นสามีของหญิงผู้นั้นทั้งหมด และลูกที่เกิดมาก็คือลูกของทุกคนและต้องช่วยกันเลี้ยง เป็นต้น
อันนี้ เรียก จริยธรรมที่แตกต่าง คงพอจะเข้าใจกันว่าขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานของแต่ละสังคมเป็นตัวกำหนดไม่ว่าจะเป็น ธรรมเนียม ประเพณี ปฏิบัติ การประพฤติ ต่างๆ ล้วนอยู่ในคำว่าจริยธรรมทั้งสิ้น
ถ้าถามว่า อ้าว แล้วถ้า คนไม่เห็นด้วยจะทำอย่างไร
คำภาษิตที่ว่า “ เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม “ ก็ยังใช้ได้ดี แต่ก็ไม่ใช่ทุกกรณี เสมอไป เช่นเราเข้าไปอยู่ หมู่บ้าน ข. แล้วไปแต่งงานกับชายคนหนึ่งที่มีพี่น้องหลายคน แล้วจะเลือกเฉพาะ คนที่เราจะแต่งงานด้วย มันก็ไม่ได้ ใช่มั้ย เพราะธรรมเนียมปฏิบัติเขามาแบบนั้น
ตอนนี้ก็เข้ามาใกล้เข้ามาอีกว่า รัฐ นั้นๆ ในสังคมของรัฐ มีจริยธรรม แบบไหนกันบ้าง
ดังนั้น จริยธรรมของรัฐ ขึ้นอยู่กับ ธรรมเนียมปฏิบัติของคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นๆ
ถ้าทุกคนอยากให้จริยธรรมรัฐไปในทิศทางใด ก็ต้องช่วยกันประพฤติปฏิบัติตน ไปในทิศทางนั้นๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องของคำพูด หรือคำวิพากษ์วิจารณ์ แต่การประพฤติของสังคมเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า หรือการแบ่งแยก เป็นสมัครพรรคพวก
ฉะนั้นจริยธรรมรัฐ จึงขึ้นอยู่กับคนในสังคมส่วนใหญ่เป็นสำคัญ
เรื่องนี้มีประเด็นอีกมาก ไม่สามารถพูดได้แค่ไม่กี่บรรทัด เพราะจะพูดเชิงบวกหรือลบก็ได้ ขึ้นอยู่กับคนตั้งใจถาม
เอาเป็นว่า คร่าวๆ กันไปค่ะ เพราะการเมืองเป็นเรื่องอ่อนไหวมากในตอนนี้ ต้องช่วยกันประสานกัน เพื่อประเทศชาติจะสงบสุขกันค่ะ
โฆษณา