6 มิ.ย. 2022 เวลา 10:00 • ข่าว
รักลวงโลกออนไลน์ (Romance Scam) หลอกเหยื่อไทยโอนเงินสูญกว่า 6 พันล้านบาท
เตือนภัยกลลวง Romance scam หนึ่งในวิธีการที่หลอกเหยื่อได้ผลที่สุดโดยมิจฉาชีพ ทำการหลอกโอนเงิน เมื่อเทียบกับพวกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ทำงานขยันไม่แพ้เราๆ โทรถี่เช้า กลางวัน เย็น แม้จะถูกเปิดโปงก็ยังมีคนตกเป็นเหยื่ออยู่อย่างที่เห็นเป็นข่าว
กรณีล่าสุด บริษัทต่างชาติในไทยชื่อดังระบุในรายงาน ธ.ค. ปี 2562 เหตุเกิดจากการทุจริตโดยประธานบริหารฝ่ายการเงินของบริษัทในไทยลักทรัพย์บริษัทถึง 6 พันล้านบาทหรือ 190 ล้านยูโร
ซึ่งในหมายเหตุประกอบงบการเงินรอบปี 2563 ระบุ ณ วันที่ 11 มี.ค.2564 บริษัทได้รับเงินคืนประมาณ 79 ล้านยูโร
แถลงการเปิดโปงการจับขบวนการใหญ่เป็นชาวไนจีเรีย มีการสร้างฐานปฏิการที่ประเทศเพื่อนบ้านอยู่ที่มาเลเซีย และมีการจัดหาบัญชีม้า เปิดโดยคนไทยส่วนใหญ่เป็นหญิงไทยที่บางส่วนเป็นเหยื่อของ Romance scam เช่นกัน
โดยอาศัยแพลตฟอร์มออนไลน์ในการเชื่อมต่อและเพื่อเข้าถึงเหยื่อ สร้างโปรไฟล์และประวัติปลอมทั้งหมดอ้างตัวเป็นนายแพทย์ชาวอเมริกัน ด้วยรูปปลอมแปลงจากบุคคลอื่น
กรณีดังกล่าว เหยื่อเป็นระดับผู้บริหารระดับสูงด้านการเงินของบริษัทข้ามชาติที่ไทย ทำการโอนเงินของบริษัทออกไปยังบัญชีเปลือกที่เปิดในรูปแบบของบริษัทข้ามชาติโดยขบวนการมิจฉาชีพ ซึ่งเส้นทางการเงินที่ ปปง ตรวจสอบมีการโอนจาก JP Morgan Chase NA (National Association) สาขาไทยและนิวยอร์ก โดยเงินถูกโอนไปยังหลายบัญชีปลายทางทั่วโลกที่ไม่ได้มีธุรกิจเชื่อมโยงต่อกิจการของบริษัท เช่น บริษัทน้ำมัน สินค้าเกษตร
โดยหลังจากนั้นบริษัทผู้เสียหายยังได้มีการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงแมนฮัตตันต่อธนาคาร JP Morgan Chase NA ไปเมื่อ 25 เม.ย. 2565
นอกเหนือจากการดำเนินคดีและยึดทรัพย์กับขบวนการมิจฉาชีพและผู้บริหารไทยที่ตกเป็นเหยื่อต่อกรณีลักทรัพย์บริษัทแล้วยังมีการดำเนินการฟ้องร้องต่อธนาคาร JP Morgan Chase NA ที่ละเลยธุรกรรม์ผิดปรกติอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวนถึง 272 ล้านดอลล่า ที่เกิดในปี 2562 (ประมาณ 9 พันล้านบาทไทย ณ วัน 6 มิ.ย. 2565)
วิธีการ Romance scam มิจฉาชีพจะสำรวจความชื่นชอบ ไลฟสไตล์ และอาชีพ ทำให้การเข้าถึงเหยื่อได้อย่างแนบเนียนยิ่งขึ้นใช้ความผูกพันเพื่อหลอกให้สนิทใจ ก่อนจะดำเนินเรื่องต่างๆ เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อโอนเงินด้วยความสมัครใจ
หลายคนอาจสงสัยว่าไม่น่าเกิดขึ้นได้ แต่เหล่ามิจฉาชีพระดับนี้ไม่ธรรมดา สร้างเรื่อง สร้างโปรไฟล์บนโซเชียลมีเดียหลอกล่อเหยื่อ มีการติดต่อกันผ่านการสนทนาข้อความ ภาพ โดยเหยื่อรายดังกล่าวได้พยายามบินไปเพื่อเจอตัว แต่มิฉจาชีพจะมีวิธีการหลอกล่อ บ่ายเบี่ยง ด้วยเหตุผลต่างๆ
‼️สิ่งที่ต้องระวัง เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อ
🛑 ข้อมูลส่วนตัว บนแพลตฟอร์มออนไลน์ (social footprint)
ไม่ควรโพสข้อมูลสำคัญลงบนโซเชียลมีเดียและไม่เปิดเป็นสาธารณะหากไม่จำเป็น เช่น โพสวันเกิด ปีเกิด ไม่โพสตั๋วเครื่องบิน พาสปอร์ต ต่างๆ เป็นต้น
🧐 โลกออนไลน์ยุคปัจจุบันต่างกับในอดีต
ยิ่งเรื่องเงินๆ ทองๆ ต้องคิดให้รอบคอบ มิจฉาชีพอาจจะสุ่มติดต่อมาผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ให้ระมัดระวัง สืบหาที่มา คนรู้จักแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกัน หรือให้ระวังหากคนแปลกหน้ามาตีสนิทสร้างสัมพันธ์ในระยะเวลารวดเร็ว แต่มีการโยงถึงเรื่องการเงิน ควรระมัดระวังและอย่าเอาเงินออกจากคุณไปให้ใครง่ายๆ
หรือหากตรวจสอบด้วยตนเอง แนะนำการสอบถามข้อมูล ลักษณะการตอบ เพื่อให้แน่ใจ การไลฟ์วิดิโอก็ทำได้ไม่ยาก หลีกเลี่ยนการสนทนาผ่านข้อความ (chat) เพียงอย่างเดียว เพราะ fake profile สร้างง่ายดายมาก มีได้เป็นหลายๆ บัญชี จากแค่คนเดียว
‼️สิ่งที่การเงินและการธนาคารควรป้องกัน
💸 ฝั่งธนาคาร โดยทั่วไปจะมีให้คำปรึกษารูปแบบการโอนเงินที่เหมาะสมให้กับบริษัท ตามกฏหมายของแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านทางธุรกิจ เช่น ผู้มีสิทธิ์ทำการอนุมัติเงิน ควรมีมากกว่าหนึ่งคนและไม่ใช่คนที่เกี่ยวข้องกัน จำนวนยอดรวมการโอนเงินต่อวัน ต่อเดือน และอื่นๆที่มีรายละเอียดปลีกย่อยไปอีกตามลักษณะองค์กร เป็นต้น
👮ฝั่งกฏหมายและเกณฑ์การโอนเงินออกนอกประเทศ แบงค์ชาติมีระบุการแจ้งจุดประสงค์การโอนออกเพื่อการตรวจสอบทุกธุรกรรมอย่างชัดเจน ด้วยเหตุผลดังกล่าวเพื่อป้องกันการฟอกเงินที่มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น
การตรวจสอบเพิ่มมากขึ้น สำหรับธุรกรรมโอนเงินจำนวนเงินมากต่อครั้ง ซึ่งต้องระบุเหตุผลและจุดประสงค์การโอนเงินไปยังต่างประเทศให้ชัดเจน
ดังกรณีศึกษาดังกล่าว มีการโอนเงินไปยังธุรกิจที่ไม่ได้มีความเชื่อมโยงกันหรือเกี่ยวข้องกัน ในระยะเวลาอันสั้นและจำนวนต่อครั้งมาก เป็นเหตุให้น่าสงสัย ติดตาม สืบสวน สอบสวน เป็นต้น
🤓 ขณะเดียวกันนี่เป็นกรณีศึกษาให้เราๆ ท่านๆ เข้าใจในเรื่องกฏ ระเบียบ ระหว่างประเทศต่างๆ เหตุเกิดขึ้นจริง สูญเสียเงินจริงๆ
บางครั้งเราอาจจะมองว่า กฏ เกณฑ์ การคัดกรอง (screening) ใช้เวลานาน เรากำลังมองหาอะไรที่รวดเร็ว และกระจายอำนาจ (Decentralize) ซึ่งมีทั้งข้อดี และข้อเสียที่ควรพิจารณา
เพราะเมื่อเกิดความเสียหาย การจะเรียกเงินคืนกลับมาเป็นไปได้ยากมากๆ
ดังกรณีที่เป็นข่าว ใช้เวลาสืบสวนสอบสวนถึง 4 ปี ต่อให้อายัดทรัพย์ผู้ทุจริต ก็ยังได้ไม่ถึง 50% ของที่เสียไป และยังต้องใช้ระยะเวลาในการฟ้องร้องกันอีก
ในแง่นักลงทุนหรือผู้ทำธุรกิจ การเสียโอกาสด้านต้นทุนและเวลาย่อมไม่เป็นผลดีต่อบริษัทแน่นอน
ในส่วนของผู้เสียหาย คนใกล้ชิดและญาติ ควรได้รับการเยียวยาทางด้านจิตใจเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากเรื่องของทรัพย์สินแล้วเหยื่อยังตกเป็นผู้ทุจริตต้องคดีอาญาอีกด้วยในกรณีนี้ฐานลักทรัพย์ของบริษัท
แบ่งปันเพื่อเป็นกรณีศึกษา และหาทางป้องกันอย่างสร้างสรรค์ให้ทุกฝ่าย ส่วนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ขอให้ช่วยกันประคับคองเพื่อเดินหน้าต่อไปค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ
คุณผู้อ่านมีประสบการณ์หรือความคิดเห็นอย่างไรกับลักษณะการล่อลวงดังกล่าวหรือใครมีวิธีการจับผิดมิจฉาชีพมาแบ่งปันกันไว้ได้นะคะ จะเป็นประโยชน์ต่อท่านอื่นๆด้วยค่ะ
รู้หรือไม่
คุณสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือการทุจริตได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการต่อการการทุจริต สำนักงาน ปปง (Anti-Corruption Operation Center) : https://www.amlo.go.th
ที่มาข่าว :
โฆษณา