Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Positioning Online
•
ติดตาม
6 มิ.ย. 2022 เวลา 07:53 • ข่าวรอบโลก
- UN รับรอง "ตุรกี" เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ตุรเคีย (Türkiye)" หวังคนเลิกสับสนกับไก่งวง -
1) เป็นเวลานานมาแล้วที่หากเอ่ยถึงชื่อประเทศ "ตุรกี" (Turkey) เชื่อว่าหลายคนก็คงอดไม่ได้ที่จะนึกเชื่อมโยงไปถึง “ไก่งวง” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวันขอบคุณพระเจ้าในทวีปอเมริกาเหนือ เนื่องจากใช้ตัวสะกดเหมือนกันเป๊ะในภาษาอังกฤษ
2) ทว่าความสับสนนี้จะไม่มีอีกต่อไป... เมื่อองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ประกาศรับรองเปลี่ยนชื่อประเทศตุรกี เป็น “ตุรเคีย” (Türkiye) ตามการร้องขอของรัฐบาลอังการาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยให้มีผลบังคับใช้ทันทีในทุกๆ ภาษาของโลก
3) สเตฟาน ดูจาร์ริก โฆษกเลขาธิการสหประชาชาชาติ ระบุว่า จดหมายแจ้งขอเปลี่ยนชื่อประเทศตุรกี เป็นตุรเคียถูกส่งถึงสำนักงานใหญ่ยูเอ็นที่นครนิวยอร์กเมื่อวันพุธที่ 1 มิ.ย. และก่อนหน้านั้น 1 วัน เมฟลุต คาวูโซกลู รัฐมนตรีต่างประเทศตุรเคีย ก็ได้ทวีตภาพถ่ายตนเองขณะกำลังลงนามในจดหมายที่จะยื่นถึง อันโตนิโอ กูเตียร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ
4) คาวูโซกลู ระบุว่า “ด้วยจดหมายที่ผมส่งไปถึงเลขาฯ ยูเอ็นในวันนี้ เราได้จดทะเบียนชื่อประเทศของเราว่า Türkiye ในภาษาต่างประเทศทุกๆ ภาษา และการใช้ชื่อใหม่นี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าแบรนด์ให้แก่ประเทศของเรา” ตามแนวคิดริเริ่มของประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน ซึ่งปกครองตุรกีมานานเกือบ 2 ทศวรรษ
5) ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ รัฐบาลตุรเคียได้ส่งเสริมให้ผู้ผลิตสินค้าในประเทศเปลี่ยนจากคำว่า “Made in Turkey” เป็น “Made in Türkiye” บนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของตุรเคียที่ส่งออกไปต่างประเทศ
6) ซินาน อุลเกน ประธานสถาบันคลังสมอง EDAM ในนครอิสตันบูล ชี้ว่า สาเหตุหลักที่รัฐบาลตัดสินใจเปลี่ยนชื่อประเทศก็เพื่อไม่ให้สับสนกับ “ไก่งวง” อีกต่อไป อีกทั้งคำว่าไก่งวง หรือ turkey ในภาษาอังกฤษนั้นยังถูกใช้ในความหมายของการ “ล้มเหลว” หรือ “คนโง่” ด้วย
7) อุลเกน มองว่าสำหรับ แอร์โดอัน แล้ว การเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “ตุรเคีย” ยังสื่อให้เห็นถึง “วัฒนธรรม อารยธรรม และคุณค่าของความเป็นชาติตุรเคียได้ดีที่สุด” นอกจากบริบททางวัฒนธรรมแล้ว การเปลี่ยนชื่อประเทศครั้งนี้ยังอาจมีนัยทางการเมืองแฝงอยู่ด้วย เนื่องจากตุรกีกำลังจะมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในเดือน มิ.ย. 2023 ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง
8 ) ฟราสเซสโก ซิกคาร์ดี ผู้จัดการโครงการอาวุโสจากสถาบัน Carnegie Europe มองว่า นี่อาจเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ของรัฐบาลตุรเคียเพื่อที่จะเอาใจพลเมืองสายชาตินิยมในช่วง 1 ปีก่อนการเลือกตั้ง พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า แอร์โดอัน ประกาศแผนเปลี่ยนชื่อประเทศเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่คะแนนนิยมของเขาตกต่ำมาก อีกทั้งตุรกียังเผชิญพิษเศรษฐกิจรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี
9) นักวิเคราะห์หลายคนชี้ว่า แอร์โดอัน มักจะงัดกลยุทธ์แบบ “ประชานิยม” มาใช้เพื่อเบนความสนใจของประชาชนจากปัญหาภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น การประกาศเปลี่ยนพิพิธภัณฑ์ ฮาเกีย โซเฟีย ในนครอิสตันบูลให้กลับไปเป็น “มัสยิด” อีกครั้งเมื่อปี 2020 เป็นต้น
1
10) ซิกคาร์ดี ระบุด้วยว่า คำว่า ตุรเคีย เริ่มถูกนำมาใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1923 หลังจากที่ประเทศฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ดังนั้นการส่งเสริมชื่อนี้ให้แพร่หลายในระดับสากลจึงดูเหมือนจะเป็นความพยายามยกสถานะ แอร์โดอัน ให้เป็นผู้นำคนสำคัญในประวัติศาสตร์เทียบชั้น “มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก” บิดาผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐตุรเคียยุคใหม่
ติดตามข่าวอื่นๆ ได้ที่
positioningmag.com
LINE :
page.line.me/positioningmag
Twitter :
twitter.com/positioningmag
YouTube :
youtube.com/user/positioningmag
Blockdit :
blockdit.com/positioningmag
1 บันทึก
2
3
1
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย