6 มิ.ย. 2022 เวลา 15:45 • การเกษตร
"ประเด็นสำคัญของค่า pH ในดิน ที่เกษตรกรต้องรู้"
1
การทำเกษตร สิ่งที่มีความสำคัญสิ่งหนึ่งในการปลูกพืช นั่นก็คือดินครับ หลายๆคนคงรู้ดีอยู่แล้วครับว่าถ้า "ดินดี" จะปลูกอะไรก็งาม ผมเองก็คิดแบบนั้น
ดิน ที่มีแร่ธาตุครบถ้วน บางครั้งการปลูกพืชบางชนิด ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเลยก็ว่าได้ ช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ย ซึ่งปุ๋ยในปัจจุบันราคาก็แพง
แต่บางครั้งดินที่มีทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ครบถ้วน แต่ทำไมพืชที่ปลูกในดินที่มีแร่ธาตุครบถ้วน ถึงไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรกันนะ? เพราะงั้นบทความนี้ ผมจะมาพูดถึงคุณสมบัติทางเคมีของดิน กันครับซึ่งนั่นก็คือ ค่า pH หรือค่าความเป็น กรด-ด่าง นั่นเองครับ
ค่า pH ในดินคือ ?
ขออธิบายแบบสั้นๆง่ายๆ นะครับ คำว่า “pH” ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion ครับ เป็นหน่วยที่ใช้แสดงความเป็นกรด (Acidity) และด่าง (Alkaline) ของสารเคมีในดินจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจน
1
ซึ่งจะใช้ตัวเลข 1-14 pH ในการแสดงค่าความเป็นกรดด่าง โดยที่มี pH 7 เป็นค่ากลาง ถ้าวัดค่า pH ในดิน แล้วได้ค่าต่ำกว่า pH 7 แสดงว่าดินนั้นเป็นกรด (ดินเปรี้ยว) แต่ถ้าวัดออกมาแล้วได้มาก pH 7 ก็แสดงว่าดินตรงนั้นเป็นด่าง (ดินเค็ม) โดยปกติแล้วดินส่วนใหญ่มีค่า pH อยู่ในช่วง pH 5-8 นั้นเป็นสาเหตุที่เครื่องวัดค่า pH ดินมักมีย่านการวัดอยู่ที่ pH 3-8
ค่า pH ของดิน ถือเป็นเรื่องที่คนทำเกษตรต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ สำคัญพอ ๆ กับเรื่องความชื้น อุณหภูมิ และอากาศเพราะค่า pH ในดิน หรือความเป็นกรดด่างที่มาก หรือน้อยเกินไปจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตของพืช รวมทั้งผลกำไร-ขาดทุนเป็นอย่างมากครับ
ค่า pH มีผลต่อพืชอย่างไร ?
ค่า pH ที่ใช้บอกสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดิน มีผลอย่างมากในการทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน ทำให้การละลายตัวของธาตุหรือสารต่างๆ ในดินออกมา บางอย่างก็มีประโยชน์ บางอย่างก็อาจเป็นพิษกับพืชได้ ซึ่งเรารู้กันอยู่แล้วว่าพืชเติบโตด้วยการดูดซึม (Osmosis) ธาตุอาหารต่างๆทางราก เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ
ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าดินเป็นกรดแก่จัด จะทำให้มีธาตุพวก อลูมิเนียม แมงกานีส และเหล็ก ละลายออกมามากเกินไป จนเกิดเป็นพิษกับพืชที่ปลูกได้ แมงกานีส และเหล็ก ถึงจะเป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญ แต่พืชต้องการในปริมาณน้อยมาก ถ้ามีสะสมอยู่ในดินมากเกินไป ก็จะเกิดเป็นพิษกับพืชได้ ดินที่มีค่า pH ต่ำกว่า 4.5 ลงไป เรามักพบปัญหานี้
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า pH กับ การละลายตัวของธาตุอาหารในดิน
จากตาราง ความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า pH กับ การละลายตัวของธาตุอาหารในดิน เราจะสังเกตุเห็นว่า ธาตุอาหารละลายตัวได้ดี และครบถ้วนที่สุด ในช่วง pH ระหว่าง 6.0 – 7.0 หรือในสภาวะที่ดิน มีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ
ความสำคัญของ pH ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของจุลินทรีย์ต่างๆ ในดินด้วย ปกติสารอินทรีย์ต่างๆ ในดินจะเน่าเปื่อยผุพัง โดยมีจุลินทรีย์ต่างๆ เข้าย่อยสลาย ขณะที่สารอินทรีย์พวกนี้กำลังสลายตัว ก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆออกมา
ซึ่งรากพืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ พวกปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เมื่อใส่ลงไปในดินทำให้พืชงอกงามดีขึ้น ก็เพราะจุลินทรีย์พวกนี้เข้าย่อย และทำให้ปุ๋ยคอกสลายตัว และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกทีหนึ่ง
1
การที่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ช้ากว่าปุ๋ยเคมี ก็เพราะปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ต้องรอให้จุลินทรีย์เข้าย่อยสลายก่อน ผิดกับปุ๋ยเคมีที่เมื่อละลายน้ำแล้ว พืชก็สามารถดูดซึมเอาธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีไปใช้ได้ทันที จุลินทรีย์ต่างๆ ที่เข้าย่อยสลายปุ๋ยคอก และสารอินทรีย์ต่างๆ ตลอดจนฮิวมัสในดินนั้น จะทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ เมื่อ pH ของดินอยู่ระหว่าง pH 6.0-7.0
ถ้าดินเป็นกรดแก่จัด ถึงกรดแก่จัดรุนแรง จุลินทรีย์ในดินจะทำงานได้ช้าลง ปุ๋ยคอกและสารอินทรีย์ในดินจะสลายตัว และเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ช้ามาก
ค่า pH ที่เหมาะสมกับการปลูกพืช
เมื่อค่า pH มีผลโดยตรงต่อการละลายและปริมาณธาตุอาหารต่างๆ ในดิน การตรวจวัดค่า pH และปรับสภาพ pH ให้เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดนั้นๆ ทำให้พืชที่เพาะปลูกเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง ต่อไปเป็นค่า pH ที่เหมาะสมกับการปลูกพืชบางชนิด ที่ผมได้รวบรวมไว้เป็นบางส่วน เผื่อจะตรงกับพืชที่คุณปลูกอยู่ และนำไปใช้อ้างอิงได้
ตัวอย่างค่า pH ที่เหมาะกับพืชแต่ละชนิด
ตัวอย่างค่า pH ที่เหมาะกับพืชแต่ละชนิด
ขอบคุณแหล่งอ้างอิง และสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- https://bit.ly/3thAMBJ / ค่า pH มีผลต่อพืชอย่างไร
โฆษณา