8 มิ.ย. 2022 เวลา 06:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ธนาคารโลกหั่น GDP ปีนี้เหลือ 2.9% เนื่องจากภาวะ Stagflation
ธนาคารโลกได้ลดเปอร์เซ็นต์ GDP อีกครั้ง โดยคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2022 เหลือ 2.9% จากเดิม 3.2% โดยเตือนว่าหลายปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยสวนทางกับการเติบโตที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ผลกระทบในครั้งนี้จะส่งผลต่อภูมิภาคที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางมากที่สุด
David Malpass ประธานธนาคารโลก กล่าวในช่วงแรกของการรายงาน Global Economic Prospects ฉบับล่าสุด เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า
“เศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตรายอีกครั้ง เรากำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงและการเติบโตที่ช้าในเวลาเดียวกัน ส่งผลให้เกิดภาวะ Stagflation ความเจ็บปวดจากภาวะ Stagflation อาจคงอยู่เป็นเวลาหลายปี เว้นแต่อุปทานหลักจะเพิ่มขึ้น”
  • ภาวะ “Stagflation” คืออะไร
ภาวะ “Stagflation” คือ การที่สภาพเศรษฐกิจถดถอยจนเกือบจะหยุดนิ่ง แต่เงินเฟ้อกลับพุ่งสูง ซึ่งจัดว่าเป็นสภาพเศรษฐกิจที่ผิดปกติ คำนี้มาจาก Stagnation + Inflation รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งสะท้อนมาจากสถานการณ์ที่ของแพงขึ้น อัตราเงินเฟ้อสูง แต่เศรษฐกิจกลับโตตามไม่ทันกัน
จากตอนแรกที่ธนาคารโลกคาดการณ์การเติบโตของ GDP ทั่วโลกในเดือนมกราคมที่ 4.1% และเดือนเมษายนที่ 3.2% ในครั้งนี้ ธนาคารโลกจึงได้ปรับเหลือ 2.9%
สาเหตุสำคัญมาจากการที่ทุกประเทศต้องต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเกินคาด อันเนื่องมาจากอุปทานสินค้า พลังงาน และอาหารหยุดชะงัก ท่ามกลางการล็อกดาวน์ในศูนย์กลางการผลิตหลักในจีน และเหตุการณ์สงครามในยูเครน
ธนาคารกลางของแต่ละประเทศมากกว่า 60 ประเทศ ซึ่งรวมถึงธนาคารกลางอังกฤษและธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ และธนาคารกลางยุโรปอาจเริ่มปรับดอกเบี้ยตามภายในอีกไม่กี่เดือน
อ้างอิง :
ติดตามข่าวสารโลกธุรกิจและเทคโนโลยีแบบอัปเดตก่อนใคร ในทุกช่องทางของเรา
ธนาคารโลกหั่น GDP ปีนี้เหลือ 2.9% เนื่องจากภาวะ Stagflation
โฆษณา