9 มิ.ย. 2022 เวลา 13:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ปี 64 สุกี้ตี๋น้อย กำไรมากกว่า MK
1
หากพูดถึงแบรนด์สุกี้สัญชาติไทยที่หลาย ๆ คนรู้จัก
หนึ่งในคำตอบนั้นคงมี “เอ็มเค สุกี้” แบรนด์สุกี้อายุกว่า 35 ปี ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
1
แต่พอมาวันนี้ ดูเหมือน เอ็มเค สุกี้ ที่เป็นผู้นำในตลาดสุกี้ไทย มายาวนานกว่า 3 ทศวรรษ
กำลังเจอกับความท้าทายจากบริษัทน้องใหม่ ที่เปิดมาได้เพียง 5 ปี ที่มีชื่อว่า “สุกี้ตี๋น้อย”
ซึ่งถ้าหากเราลองเทียบกําไรปีล่าสุด ของทั้งสองบริษัทดู จะพบว่า
บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป เจ้าของสุกี้ตี๋น้อย
ปี 2564 มีรายได้ 1,572 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท
คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 9.4%
1
บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เจ้าของ เอ็มเค สุกี้
ปี 2564 มีรายได้ 11,368 ล้านบาท กำไร 131 ล้านบาท
คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 1.2%
หมายเหตุ: บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยังเป็นเจ้าของแบรนด์ร้านอาหารอื่น ๆ นอกจากเอ็มเค เช่น ยาโยอิ, แหลมเจริญซีฟู้ด
โดยในปี 2564 บริษัทมีรายได้จากธุรกิจเอ็มเค ประมาณ 8,300 ล้านบาท
สำหรับในแง่ของจำนวนเชนสาขาร้านสุกี้
ปัจจุบัน สุกี้ตี๋น้อย มี 39 สาขา
แต่ในทางกลับกัน เอ็มเค มีถึง 454 สาขา
5
จากอัตรากำไรจะเห็นได้ว่า
แม้เอ็มเค จะมีรายได้ที่มากกว่าสุกี้ตี๋น้อยเป็นอย่างมาก
แต่กำไรที่ตกถึงมือของบริษัท กลับมีน้อยกว่าสุกี้ตี๋น้อย
หรืออธิบายง่าย ๆ ว่า จากยอดขาย 100 บาท
เจ้าของสุกี้ตี๋น้อย จะได้เงินเข้ากระเป๋าประมาณเกือบ 9 บาท
ในขณะที่เจ้าของเอ็มเค จะได้เพียงบาทเดียวเท่านั้น..
ซึ่งกำไรที่มากกว่าของสุกี้ตี๋น้อย
ก็จะเป็นเงินทุนที่เอาไปใช้ขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้นไปอีก ด้วยการเพิ่มสาขาใหม่ ๆ ในอนาคต
แต่ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปในปี 2563
บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
จะมีรายได้อยู่ที่ 13,655 ล้านบาท และมีกำไรสูงถึง 907 ล้านบาท
หรือก็คือบริษัท มีกำไรหดตัวไปกว่า -86%
ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่กำไรหายไป ก็มาจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 ที่ทำให้ร้านอาหารถูกสั่งปิดชั่วคราวในพื้นที่ศูนย์การค้า รวมถึงมีข้อจำกัดในการให้บริการ เช่น จำกัดจำนวนที่นั่งในร้าน
ทำให้เอ็มเค มีจำนวนลูกค้าและรายได้ลดลง
อีกทั้งลูกค้าก็หันไปสั่งอาหารแบบดิลิเวอรีกันมากขึ้น ซึ่งบริษัทมีอัตรากำไรจากช่องทางนี้ต่ำกว่าการขายผ่านร้านอาหารปกติ เนื่องจากมีการทำรายการส่งเสริมการขายค่อนข้างมาก
 
ต่างจากสุกี้ตี๋น้อย ที่สาขาส่วนใหญ่เป็นแบบ Stand Alone อยู่นอกพื้นที่ศูนย์การค้า จึงได้รับผลกระทบน้อยกว่า
บวกกับความนิยมในตัวสุกี้ตี๋น้อย จากผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ที่ถึงแม้จะรอคิวนานเป็นชั่วโมง คนก็รอกัน..
ปัจจัยเหล่านี้เอง ที่ทำให้ผลประกอบการของเอ็มเค หดตัวลง
ในขณะที่สุกี้ตี๋น้อย เติบโตสวนทาง..
References:
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1
โฆษณา