13 มิ.ย. 2022 เวลา 05:25 • ปรัชญา
Mindset เรียกว่า
ความคิด กรอบคิด แนวคิด โลกทัศน์ ทัศนคติ การมองโลก
นิยามความหมายของมัน คือ
ความเชื่อที่คุณมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ความเชื่อที่ส่งผลต่อวิธีคิด
มันเปรียบเสมือนเลนส์ที่คุณใช้มองสิ่งต่างๆบนโลกใบนี้ครับ
มันสะท้อนให้เห็นถึงหลักการในการดำเนินชีวิตของคุณ
มันกำหนดวิธีตีความประสบการณ์ต่างๆ การตัดสินใจ การตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต
มันทำให้วิธีรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันของคุณเปลี่ยนไป ส่งผลต่ออนาคตของคุณด้วย
มันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมุมมองในชีวิต
ต่อไปขอเรียกคำว่า Mindset เป็น กรอบคิด เพื่อใช้ในการอธิบาย
เพราะมันเป็นภาษาที่วงการวิทยาศาสตร์ใช้กันครับ
มันมีเหรียญ 2 ด้าน กรอบคิดเชิงบวก และ กรอบคิดเชิงลบ
กรอบคิดเชิงบวก ส่งผลต่อชีวิตเรา(ผลลัพธ์)
ไม่ใช่เพราะ มันมีพลังวิเศษ
แต่เพราะ มันมีอิทธิพลต่อการตั้งเป้าหมายและการตัดสินใจเลือก
(กระบวนการ)
มาดูตัวอย่างกันครับ
1. กรอบคิดต่อความเครียด
- กรอบคิดเชิงลบต่อความเครียด คือ ผู้ที่เชื่อว่าความเครียดเป็นอันตราย
คนกลุ่มนี้มี 85% ของประชากรโลก
จะมองสถานการณ์ที่ยากลำบากเป็น(ปัญหาวิกฤตที่น่าหนักใจหรืออุปสรรค)
จะมองว่าชีวิตนั้นว่างเปล่า สิ้นหวัง ไร้ค่า หมดไฟ รู้สึกหดหู่
ทำให้มีพฤติกรรมที่แย่กับสุขภาพมากกว่า
- กรอบคิดเชิงบวกต่อความเครียด คือ ผู้ที่เชื่อว่าความเครียดเป็นประโยชน์
คนกลุ่มนี้มี 15% ของประชากรโลก
จะมองว่าสถานการณ์ที่ยากลำบากเป็น(ความท้าทายหรือโอกาสในการพัฒนาตนเอง)
ทำให้มีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า ทำสิ่งดีๆและมีประโยชน์ต่อตัวเองในอนาคตมากขึ้น
ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน กระตือรือร้น และทุ่มเทให้กับการฟื้นฟูร่างกายมากกว่า
ทำให้รู้สึกมีพลัง มีปัญหาสุขภาพน้อย มีความสุข พึงพอใจในชีวิตมากกว่า มั่นใจในตัวเองมากกว่า
ทำให้รับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบากได้ดีกว่า
ทำให้มองเห็นสิ่งที่มีความหมายใน สถานการณ์ที่ยากลำบากได้ดีกว่า
2. กรอบคิดต่อความฉลาด
- กรอบคิดเชิงลบต่อความฉลาด คือ ผู้ที่เชื่อว่าความฉลาดเป็นคุณลักษณะตายตัวที่ไม่สามารถพัฒนาได้ และเชื่อว่าปัญหาสำคัญทุกอย่างล้วนฝังรากลึกและยากที่จะเปลี่ยนแปลง
- กรอบคิดเชิงบวกต่อความฉลาด คือ ผู้ที่เชื่อว่าคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล
Q1 : คำถามที่น่าสนใจคือ แล้ว Mindset ที่ไม่ดี เป็นยังไง?
Mindset ที่ไม่ดี เรียกว่า
กรอบคิดที่ไม่ยืดหยุ่น
กรอบคิดที่มองเห็นเหรียญด้านเดียว
คือ การตัดสินหรือฟันธงสิ่งนั้นว่า
ถูกหรือผิด ดีหรือแย่ ยากหรือง่าย ฉลาดหรือโง่ รวยหรือจน กล้าหรือกลัว เด่นหรือด้อย โลภหรือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทุจริตหรือซื่อสัตย์ มีความสามารถหรือไร้ความสามารถ มีข้อดีหรือข้อเสีย มีโทษหรือมีประโยชน์
เพราะคุณพึ่งมองเห็นสิ่งนั้นเพียงแค่ด้านเดียวนั่นเอง
Q2 : แล้ว Mindset ที่ดี เป็นยังไง?
Mindset ที่ดี เรียกว่า
กรอบคิดที่ยืดหยุ่น
กรอบคิดที่มองเห็นเหรียญ 2 ด้าน มันหมายความว่า
ถ้าคุณมีแนวคิดฟันธงหรือตัดสินว่า หัวหรือก้อย ถูกหรือผิด ดีหรือแย่
ความฉลาดของคุณจะถูกตัดออกไปครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าคุณถอยกลับไป1ก้าวเพื่อไปยืนอยู่บนขอบของเหรียญแทนที่จะเลือกข้างใดข้างหนึ่ง ความฉลาดของคุณจะเพิ่มมากขึ้น
Q3 : มาถึงคำถามสำคัญคือ แล้วเราจะฝึกมองเห็นเหรียญ 2 ด้านได้ยังไง?
คำตอบคือ ผ่าน"กลยุทธ์การแทรกแซงกรอบคิด หรือ การมองสิ่งนั้นในมุมใหม่" ครับ
ตัวอย่าง1 กรอบคิดต่อความฉลาด
- คนส่วนใหญ่จะมี กรอบคิดเชิงลบต่อความฉลาด คือ เชื่อว่าความฉลาดเป็นคุณลักษณะตายตัว
ผลคือ ทำให้ชีวิตย่ำอยู่ที่เดิมนั่นเอง
พวกเขามองเห็นแค่ด้านเดียวของเหรียญ
หรือฟันธงตัดสินว่าความฉลาดเปลี่ยนแปลงไม่ได้ตายตัวติดมาแต่กำเนิด
- และเมื่อคนกลุ่มเดียวกันนี้ได้รับการแทรกแซง กรอบคิดเชิงบวกต่อความฉลาด ว่า
"สิ่งที่คุณเป็นอยู่ตอนนี้ ไม่ได้กำหนดสิ่งที่คุณจะเป็นในวันข้างหน้า
ไม่ว่าตอนนี้ผู้คนจะมองหรือปฏิบัติอย่างไรต่อคุณ สิ่งเหล่านั้น
ก็ไม่ได้บ่งบอกถึงตัวตนที่แท้จริงของคุณหรือสิ่งที่คุณจะเป็นในอนาคต
และบุคลิกภาพของคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้"
พวกเขาก็เริ่มมองเห็นอีกด้านของเหรียญแล้ว
หรือมองความฉลาดในมุมใหม่ว่า มันสามารถเปลี่ยนแปลงได้เติบโตได้
ผลคือ ทำให้ชีวิตเติบโตก้าวหน้านั่นเอง
ตัวอย่าง2 กรอบคิดต่อความเครียดก่อนสอบ
- นักศึกษาหลายคนมี กรอบคิดเชิงลบต่อความเครียดก่อนสอบ คือ เชื่อว่าความเครียดเป็นอันตราย
ผลคือ นักศึกษาทำผลงานได้แย่ ไม่มั่นใจ ไร้ประสิทธิภาพ
- และเมื่อคนกลุ่มเดียวกันนี้ได้รับการแทรกแซง กรอบคิดเชิงบวกต่อต่อความเครียดก่อนสอบ ว่า
"ผู้คนคิดว่า การรู้สึกกังวลก่อนสอบจะทำให้พวกเขาทำผลงานได้แย่ลง
แต่งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ความเครียดความกังวลไม่ได้ทำให้ผลงานเราแย่ลง แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพให้เราได้เลยทีเดียว คนที่รู้สึกกังวลระหว่างสอบ
จึงทำผลงานได้ดีกว่า นี่หมายความว่า คุณไม่ควรวิตก ถ้ารู้สึกกังวลขณะทำข้อสอบ
ถ้ากังวล ก็แค่ย้ำกับตัวเองว่า ความเครียดสามารถช่วยให้คุณทำผลงานได้ดี"
"ให้มองว่า ความเครียดความกังวล เป็นแหล่งพลังงาน ไม่ใช่ ตัวดูดพลัง
การตอบสนองทางกาย เป็นสัญญาณที่บอกว่าร่างกายกำลังเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่เข้ามา ไม่ใช่ สัญญาณที่บอกว่าคุณรับมือกับความกดดันได้ไม่ดี"
ผลคือ การยอมรับความกังวล ช่วยให้นักศึกษาทำผลงานได้ดีที่สุด มั่นใจตัวเองมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
สรุป :
เมื่อพวกเขาได้เห็น 2 ด้านของเหรียญ
ผ่านกลยุทธ์การแทรกแซงกรอบคิด หรือ
การมองสิ่งนั้นในมุมใหม่ หรือ
การมีเหตุผลดีๆในสมอง แล้ว
ผลจะเป็นดังนี้ครับ
มันจะทำให้คุณเชื่อมั่นในตัวเองว่าฉันทำได้
มันจะทำให้คุณพร้อมรับมือกับความท้าทายในชีวิต
มันจะทำให้คุณรู้สึกมีความหวัง ไม่ใช่สิ้นหวัง บากบั่นต่อไป ไม่ใช่ยอมแพ้
มันจะทำให้คุณใช้สิ่งนั้นเป็นทรัพยากรในการใช้ชีวิตตามที่ต้องการ
มันจะช่วยให้คุณเชื่อใจตัวเองว่า คุณจะใช้มันในทางที่สร้างสรรค์ได้
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือตัวอย่างที่ผมเรียกว่า
การได้รับภูมิ3รวย-พื้นฐาน ครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา