13 มิ.ย. 2022 เวลา 13:03 • ข่าว
ชายญี่ปุ่นวัย 88 ปี ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ ทำร้ายหลานสาววัย 16 ปีจนเสียชีวิต สมควรจะได้รับโทษหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
1
จากกรณีผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นวัย 88 ปีได้ก่อคดีสะเทือนขวัญ แทงหลานสาวตนเองอายุ 16 ปี
และศาลญี่ปุ่นได้ตัดสินลงโทษจำคุกสี่ปีครึ่ง โดยมีข้อเท็จจริงและข้อมูลประกอบการพิจารณาของศาลดังนี้
1
1) ผู้ก่อเหตุเป็นชายสูงอายุ วัย 88 ปี อาศัยอยู่กับลูกและหลานสาวในบ้านหลังเดียวกัน ที่เมืองฟุกุอิ
4
2) เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 ทั้งสองเกิดปากเสียงกัน ผู้สูงอายุที่ก่อเหตุอยู่ในอาการมึนเมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ได้ถือมีดทำครัวยาว 17 เซนติเมตร เข้าไปในห้องนอนหลานสาว แทงที่คอหลายครั้งจนเสียชีวิต
4
3) หลังเกิดเหตุผู้ชายชรา ได้โทรไปหาลูกชายคนโต บอกว่าเห็นหลานสาวนอนจมกองเลือดอยู่ในห้องนอน
1
4) เมื่อตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ และตรวจสอบแล้ว ได้ควบคุมตัวชายชราไว้และดำเนินคดี
5) แพทย์ทางด้านนิติจิตเวช ให้ข้อมูลต่อศาลว่า ถือว่าชายชรามีแรงจูงใจคือมีความโกรธ และมีพฤติกรรมเจตนาฆ่าสอดคล้องกับความโกรธ
1
6) อัยการให้ความเห็นว่า ชายชราสามารถควบคุมการกระทำของตนเองได้ แม้จะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็ตาม
7) ศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ชายชราที่เป็นจำเลย แม้อยู่ในสภาพป่วยเป็นอัลไซเมอร์ มีความเหนื่อยล้าทางจิตใจ แต่ก็ยังสามารถจะควบคุมยับยั้งการกระทำดังกล่าวได้
8) ศาลจึงตัดสินลงโทษจำคุก 4.5 ปี
4
เป็นกรณีโด่งดังและวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น
1
เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุวัยมากกว่า 65 ปี มากถึง 20% ของพลเมือง และคาดว่ามีผู้สูงอายุที่มีโรคสมองเสื่อมร่วมด้วยกว่า 4 ล้านคน
1
สมองเสื่อม เป็นภาวะที่บุคคลมีการทำงานของสมองลดลง ทั้งทางด้านความจำ การตัดสินใจ การวางแผน การรับรู้ การกะระยะ การใช้ภาษา ตลอดไปจนถึงความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
4
สาเหตุ : อาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง โพรงน้ำในสมอง การติดเชื้อในระบบประสาทโดยโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
1
อัลไซเมอร์มีสาเหตุเกิดจากการฝ่อของเนื้อสมอง ซึ่งยังไม่ทราบต้นเหตุที่ชัดเจน จนกระทบความสามารถในการทำงาน
มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อมเป็นหลัก ทำให้เกิดการถามซ้ำ พูดซ้ำ หลงทาง คิดเลขไม่ได้
1
และเมื่อมีอาการมากขึ้น จะมีปัญหาทางด้านอารมณ์หรือพฤติกรรม มีการหงุดหงิด หรือเฉยเมย บางครั้งขาดการยับยั้งชั่งใจ
3
พบในคนอายุมากกว่า 65 ปี 10-15% และในผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปี พบมากถึง 20-30%
1
โดยมีปัจจัยเสี่ยงประกอบด้วย
1
1) อายุที่มากขึ้น
2) พันธุกรรม มีคนในครอบครัวเคยเป็น
3) Down’s Syndrome
4) เคยได้รับอุบัติเหตุรุนแรงที่ศรีษะ
5) มีโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงคือ อ้วนหรือน้ำหนักเกิน เบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย และสูบบุหรี่
1
การลดความเสี่ยงของการเป็นอัลไซเมอร์ ได้แก่
1) ทานอาหารที่มีไขมันต่ำคอเลสเตอรอลต่ำ
2) รักษาน้ำหนักตัว ไม่ให้อ้วน
3) ไม่ควรสูบบุหรี่
4) ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ
5) ระมัดระวังอุบัติเหตุที่ศรีษะ
ในกรณีนี้จึงน่าสนใจว่า ผู้ก่อเหตุซึ่งเป็นชายชราวัย 88 ปี และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอัลไซเมอร์ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งอาจมีปัญหาทางด้านการยับยั้งชั่งใจและการควบคุมอารมณ์ได้นั้น
เมื่อได้กระทำความผิดถึงขั้นฆ่าคนตาย คือหลานสาวตัวเอง โดยมีการดื่มแอลกอฮอล์จนมึนเมา หลังจากมีเหตุทะเลาะเบาะแว้งกัน จนนำมาสู่การทำร้ายหลานสาวจนเสียชีวิต
ควรจะได้รับการพิจารณา ให้มีความผิด หรือไม่มีความผิดจากการเจ็บป่วย โดยถือว่าอาการเจ็บป่วยนั้นทำให้ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้
สุดท้ายศาลได้ตัดสินว่า ชายชราดังกล่าวมีความผิด แต่มีเหตุสมควรบรรเทาโทษ เหลือจำคุก 4.5 ปี
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งก็คือ ครอบครัวที่ดูแลชายชราคนดังกล่าว โดยเฉพาะลูกคนโต จะต้องมีส่วนรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด
ที่ทำให้คุณพ่อซึ่งเป็นโรคสมองเสื่อมและมีโอกาสยับยั้งชั่งใจได้ไม่ดี แต่สามารถหาแอลกอฮอล์มาดื่มในบ้านได้
และนำมาสู่การทะเลาะเบาะแว้งกับหลานสาว จนถึงการทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดมากสำหรับครอบครัวนี้
โฆษณา