13 มิ.ย. 2022 เวลา 15:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
(ต่อ) สรุปบทสัมภาษณ์ ในหัวข้อ "เกมการเงินของคน (อยากรวย) - ถามอิกกับอิก Right now ep.26" คุณ Theenuch นุช วราพรรณ วงศ์สารคามนัก ลงทุนหุ้นคุณค่า
กรณีศึกษา2 : ได้ศึกษาหุ้น THCOM โดยหาจากหุ้นต่ำ Book value และพบเหตุการณืใหม่คือการเปลี่ยน ผบห.ไปเป็น (คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ปัจจุบันดำรงศ์ตำแหน่ง CEO ของ Dusit International) ซึ่ง ผบห.คนนี้ค่อนข้างจะให้ข่าวไปตามความเป็นจริง โดยระมัดระวังในความติดตามข่าวอย่างไกล้ชิด ในช่วงนั้นความรู้แน่นมากในเรื่องดาวเทียม ว่าทำไมต่างประเทศถึงมีความจำเป็นต้องมาใช้ดาวเทียบของประเทศไทย โดยอ่าวข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ
ซึ่งคุณนุชไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษเลย แต่พยายามเข้าใจข้อมูลและพื้นฐานของธุรกิจ ราคาต้นทุนของคุณนุชประมาณ 13 บาท และไปขายตอนประมาณ 42 บาท คิดเป็นผลตอบแทนประมาณ 350% ซึ่งใช้การถือยาว ใจนิ่ง รอให้ EPS เป็นไปตามข้อมูลที่ศึกษามา
มีเคสไหนที่ผิดทางและเสียหายหนักบ้างไหม : พี่นุชตอบว่า ไม่ค่อยมีเนื่องจากพื้นฐานเป็นคนไม่อยากเสียเงินต้น หุ้นแต่ละตัวที่เลือกมาต้องศึกษาให้ละเอียดจนมั่นใจถึงจะเข้า
หลังจากได้เงินจากการขายหุ้นก็มาลงในหุ้น defensive จนปันผลมากเพียงพอ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นลูกจ้างไปตลอด
พี่นุช เปรียบเทียบการกินบุฟเฟ่ต์กับการลงทุน : การกินบุปเฟต์มื้อนึงเขาเสริฟความรวดเร็ว หลากหลายและปริมาณมาก จริงๆชีวิตคนเราไม่จำเป็นต้องกินทุกๆอย่างในมื้อเดียวก็ได้ วันนึงเรากินปลา อีกมื้อกินเนื้อ พอหลายๆมื้อรวมกันมันก็เหมือนกินบุฟเฟ่ต์ ถ้าเรารู้จักรอให้เป็นเราไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเยอะ เช่น บุฟเฟ่ต์หัวละ 400 ถ้ากินข้าวธรรมดา 50 บาท ก็ประหยัดไปได้ 350 บาท ถ้าสองรอบก็ประหยัดไปได้ 700 บาท
เงินที่ประหยัดสามารถนำไปซื้อหุ้นได้พอสมควรเลย และถ้าเราทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จำนวนหุ้นเราจะเพิ่มขึ้นๆเสมอๆ
เมื่อหุ้นติดลบแต่ยังมีค่ามากกว่าศูนย์ : บางคนซื้อหุ้นดีๆมาแต่ติดลบ ทนไม่ได้ แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีเงินเอามาใส่ไว้ในหุ้น ไม่มีโอกาสแม้แต่จะถือหุ้นนั้นๆด้วยซ้ำ ถ้าเทียบกับเราเอาไปใช้ฟุ่มเฟือย มันหายกลายเป็นศูนย์เลย
มีคนแซว : หน้าเหมือนคุณอุ้ย รวิวรรณ จินดา (เจ้าของเพลงพี่ชายที่แสนดี)
ไม่ DCA หุ้น เน้นลงทุนในหุ้นที่เรารู้จักมันดีพอ และหุ้นอาจจะไม่หลากหลายเนื่องจากเลือกจากความเข้าใจกิจการเป็นหลัก
อาจารย์ที่เชิญไว้ในใจ และระลึกถึงข้อคิดนั้นๆเสมอ : ดร.นิเวศ ดร.ไพบูลย์ วอเรนบัฟเฟต โจลูกอิสาน ฯลฯ
ธุรกิจมีความไม่แน่นอน หากเจอความผันผวนแต่พื้นฐานไม่เปลี่ยน เป็นเรื่องปกติ และไม่กลัว หากซื้อแล้ว ราคาขึ้นไปและราคาตกลงมา ก็ไม่กลัว เพราะเป้าหมายคือสะสมจำนวนหุ้นพื้นฐานดี
มีเพื่อนมาขอคำปรึกษา : (เข้าตลาดหุ้น 4ล้านบาท และสุดท้ายที่ติดตามคือเหลือเงิน 1.2 ล้าน) เล่าให้ฟังแนวคิดVI แต่พอเข้ามาไปเข้าหุ้นวิ่งเร็วจากกลุ่มไลน์ต่างๆ และได้เตือนในหุ้นบางตัวที่ Valuation ไม่ได้ แต่เพื่อนคนนั้นก็ยังทำกำไรได้ แต่ถึงจุดนึงก็ขาดทุน เพื่อนคนนั้นเป็นวิศวกร ซึ่งระดับสติปัญญาน่าจะดีกว่าพี่นุชแน่นอน
การยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้องคือสิ่งสำคัญ (ในตลาดหุ้น) อาจจะสำคัญมากกว่าระดับสติปัญญา
คนส่วนใหญ่ทนไม่ได้ในการรอ เมื่อเห็นหุ้นตัวที่เราไม่ได้ถือมันวิ่ง ก้ยอมขายตัวที่ถือแล้วไปเข้าตัวอื่น
การเชื่อในหลักการของตัวเอง และหากมันผิดทางเราก็จะได้พัฒนาตัวเอง คือสิ่งสำคัญ
คริปโต หรือสินทรัพย์ใหม่ๆ จะลงทุนไหม : ไม่ลง ชัดเจน เพราะหากไม่เข้าใจก็จะไม่ลง
หากเงินจำนวนน้อยจำทำอย่างไร : ด้อยโอกาสหรือละทิ้งโอกาส คนเงินเดือนเยอะอาจจะมีไลฟ์สไตล์ที่สูง ค่าครองชีพสูง ตรงนี้คล้ายๆกับสิ่งที่ตัวผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กคือ รายได้เท่าไหร่ไม่สำคัญ ที่สำคัญกว่าคือเหลือเก็บเท่าไหร่ เหลือเก็บแล้วไปลงทุน นั้นแหละคือ Key success
จับจังหวะตลาดไหม : แทบไม่จับเลย หากทำก็ไม่น่าจะทำได้ดี สู้มีวินัยตามที่เราศึกษามาดีกว่า เช่น การ DCA ก็ต้องทำต่อ ไม่ใช่ว่าตลาดลงแล้ว Cut loss แต่หากเลือกหุ้นไม่เป็นก็แนะนำให้ลงกองทุนรวม
ลงทุนทั้งหุ้นเติบโต และหุ้นปันผล ดูตามพื้นฐานกิจการเป็นหลัก
ปลูกฝังการลงทุนให้ลูกอย่างไร : พยายามให้ลูกเห็นว่าที่เรามีทุกวันนี้เพราะการลงทุนแบบนี้ หากแม่ไม่ลงทุนตั้งแต่วันนั้น ทุกวันนี้ก็ยังคงต้องเหนื่อยทำงานประจำไปเรื่อยๆ โดยทุกวันนี้พอเริ่มเห็นว่าลูกก็รู้สึกดีกับการลงทุนระยาวนี้แล้ว
ขอฝากเรื่องสิงแวดล้อม ใช้สิ่งของให้คุ้มค่า เห็นคุณค่ากับสิ่งของเพื่อให้รุ่นถัดๆไปยังมีทรัพยากรใช้ต่อไปเรื่อยๆ
รู้จักตัวเองให้ดีๆ อยู่กับตัวเองให้มีความสุข เราจะไม่ต้องการวัตถุมาก ผลลัพธ์คือมันจะประหยัดมากขึ้นเอง
#ถามอิกกับอิก
โฆษณา